รีเซต

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย 'หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง' ไทย-จีน หวังเห็นทุกฝ่ายใน 'เอเปค' กระชับความสามัคคี

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย 'หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง' ไทย-จีน หวังเห็นทุกฝ่ายใน 'เอเปค' กระชับความสามัคคี
Xinhua
17 พฤศจิกายน 2566 ( 09:42 )
57

(แฟ้มภาพซินหัว : ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ ซึ่งก่อสร้างภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทจีนในเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 8 ธ.ค. 2022)

กรุงเทพฯ, 16 พ.ย. (ซินหัว) -- เมื่อไม่นานนี้ ก่อนที่การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 30 จะจัดขึ้นที่นครซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวซินหัวถึงความคาดหวังที่จะได้เห็นทุกฝ่ายกระชับความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวและความร่วมมือให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น พร้อมสร้างแรงผลักดันใหม่ๆ ให้แก่การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลกวิรุฬห์กล่าวว่า 30 ปีที่ผ่านมา เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก กลายเป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีบทบาทในการสนับสนุนระบบการค้าแบบพหุภาคี ส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้าง และผลักดันให้เกิดโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ เขาหวังว่าท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทุกฝ่ายจะยึดมั่นในความร่วมมือที่เปิดกว้าง สนับสนุนการสร้างภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่สงบสุข มั่นคง ไม่แบ่งแยก และเปิดกว้าง และทำให้ภูมิภาคแห่งนี้สร้างคุณูปการต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลกเขากล่าวว่าปัจจุบันเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความมีพลวัตในการเติบโตและศักยภาพในการพัฒนามากที่สุดในโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปีของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะสูงแตะร้อยละ 4.6 ในปีนี้ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 2 ใน 3 ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลก แสดงให้เห็นว่าภูมิภาคนี้ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของโลก โดยจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสอง และเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีบทบาทสำคัญในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก เพราะจีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และการที่จีนมุ่งมั่นส่งเสริมการเปิดกว้างในระดับสูงจึงมอบโอกาสด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าที่ทุกฝ่ายต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญของสันติภาพและการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วยเช่นกันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากบรรดาประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเสียงของพวกเขาถูกเพิกเฉยมาเป็นเวลานานในกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่นำโดยประเทศตะวันตก อย่างไรก็ตาม  ทศวรรษที่ผ่านมา แผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนได้สร้างประโยชน์แก่ทั่วโลก โครงการความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นต่างนำความหวังมาสู่บรรดาประเทศกำลังพัฒนายกตัวอย่างจากประเทศไทยที่ให้ความสำคัญต่อการประยุกต์ใช้พลังงานสะอาด เราจะเห็นว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าจีนจำนวนมากต่างมาลงทุนและสร้างโรงงานในไทย ทำให้ไทยได้เรียนรู้เทคโนโลยีและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ไทยจึงค่อยๆ กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับการพบกันของผู้นำจีนและสหรัฐฯ ในครั้งนี้ วิรุฬห์แสดงความเห็นว่า สันติภาพและความร่วมมือระหว่างจีนกับสหรัฐฯ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด และสอดคล้องกับผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ ตลอดจนผลประโยชน์ของทั่วโลก โดยตนหวังว่าว่าการพบปะกันระหว่างผู้นำจีนและสหรัฐฯ จะสามารถผลักดันสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลกได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง