รีเซต

"นโยบายชัชชาติ" มีอะไรบ้าง? เปิดนโยบาย "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ของกรุงเทพมหานคร

"นโยบายชัชชาติ" มีอะไรบ้าง? เปิดนโยบาย "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ของกรุงเทพมหานคร
Ingonn
23 พฤษภาคม 2565 ( 12:01 )
1.8K
2

เลือกตั้งผู้ว่า กทม. 2565 ผลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. พบว่า "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" พรรคอิสระ ได้รับคะแนนโหวตสูงสุด ได้เป็น "ผู้ว่าฯ กทม." คนที่ 17 ของกรุงเทพมหานคร โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) ให้สัมภาษณ์ว่า 3 อย่างแรกที่จะทำหลังจากได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. คือ เราต้องพูดคุยกับข้าราชการก่อนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับแผนของเรา เราต้องเอาข้าราชการ กทม. มาเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบของเราด้วย จากนั้นจะเริ่มแก้ปัญหาสำคัญก่อน เช่น เรื่องน้ำท่วม เรื่องความปลอดภัยทางม้าลาย ส่วนเรื่องปัญหาความโปร่งใส หาบเร่แผงลอย ก็ต้องรีบทำ และเรื่องการลดค่าใช้จ่ายประชาชนก็ดูว่าจะทำอย่างไรต่อไป สรุปคือจะเริ่มด้วย 1.การทำให้ข้าราชการเดินไปด้วยกัน 2. คือจุดเสี่ยงอันตรายต่างๆ และ 3. คือเรื่องปากท้อง

 

"ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน ได้เสนอนโยบายในการดูแลกรุงเทพมหานคร โดยมีมากถึง 214 นโยบาย วันนี้ TrueID จึงจะพาเช็ก "นโยบายชัชชาติ" มีอะไรบ้าง?

 

"นโยบายชัชชาติ" มีอะไรบ้าง

  • กรุงเทพฯ ต้องสว่าง
  • กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง (สตรีทโชว์)
  • เพิ่มรถเมล์สายหลักและรอง ราคาถูกราคาเดียว
  • พัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลพื้นที่จุดเสี่ยงความปลอดภัย (BKK Risk Map)
  • ทบทวน BRT เพื่อพิจารณาการดำเนินโครงการ
  • ท่าเรือเข้าสะดวก ออกสบาย เชื่อมต่อปลอดภัย
  • พิจารณาเดินเรือ เพิ่มตัวเลือกเชื่อมต่อการเดินทาง
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนต้องได้ประโยชน์สูงสุด
  • หน่วยงาน กทม.เข้าใจ สนับสนุนความเท่าเทียม และยอมรับความหลากหลายทางเพศ
  • จัดทีม 'นักสืบฝุ่น' ศึกษาต้นตอ PM2.5
  • ตรวจสอบคุณภาพอากาศเชิงรุกในโรงงาน
  • ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ปล่อยมลพิษ
  • สนับสนุนให้เกิด ecosystem รถพลังงานไฟฟ้า
  • สร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (hub) เพื่อการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สะดวกสบาย
  • นำร่องพัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย
  • ป้ายรถเมล์มีข้อมูลและสว่างปลอดภัยทุกป้าย
  • จัดตั้ง Command Center บริหารจราจรร่วมกับตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ให้การศึกษา พัฒนานักเรียนสู่พลเมืองโลก
  • บริหารจัดการจราจรด้วยระบบอัจฉริยะ (ITMS) เพื่อบริหารจัดการจราจรทั้งโครงข่ายและกวดขันวินัยจราจร
  • พัฒนาระบบติดตามการขออนุญาตกับ กทม.
  • เทศกิจผู้ช่วยจราจร
  • ลดรถ ลดติด ด้วยจอดแล้วจร
  • เสริมศักยภาพสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา หาความเป็นไปได้เพิ่มสะพานใหม่
  • รถหยุด รถติด ลดหยุด ลดติด
  • ประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในโครงการของ กทม.
  • กรุงเทพฯ เดินได้ พัฒนาทางเดินเท้าคุณภาพ 1,000 กม.
  • ทุกถนน ซอย มีทางเดิน-ปั่นสะดวก เชื่อมขนส่งสบาย ลดการใช้รถ
  • เลียบคลองเดินได้ ปั่นปลอดภัย ทางเลียบคลองคุณภาพ
  • อาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) ตัวช่วยด้านเทคโนโลยีสำหรับคนกรุงเทพฯ
  • ออกแบบเรื่องราวให้เมือง ผ่าน digital experience economy
  • สร้างซ่อมดี เพื่อทางเท้าคุณภาพและคงทน
  • ขยายระบบการติดตามและแจ้งเตือนฝุ่นสู่ระดับแขวง 1,000 จุด
  • ทางตัดผ่านใหม่ต้องเรียบเสมอทางเท้า
  • ลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในชั่วโมงเร่งด่วนบริเวณ Low Emission Zone
  • นำร่อง covered walkway หลังคาทางเดินกันเปียกกันร้อนในจุดเชื่อมต่อ
  • ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ 50 ย่านทั่วกรุงเทพฯ
  • ตรวจจับรถควันดำจากต้นตอ
  • ส่งเสริมให้ผู้ค้าแผงลอยมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
  • สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ค้าแผงลอย ภาคประชาชน และเอกชนในพื้นที่ ช่วยดูแลพื้นที่การค้า
  • ขึ้นทะเบียนผู้ค้าแผงลอย พร้อมติดตามการดำเนินการ
  • เตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมรองรับพื้นที่การค้าหาบเร่แผงลอย
  • หาพื้นที่ของเอกชนหรือหน่วยงานราชการที่สามารถจัดเป็นพื้นที่ขายของสำหรับหาบเร่หรือศูนย์อาหาร (hawker center)
  • ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมิน ผอ.เขต และผู้ว่าฯ กทม.
  • สร้างการสื่อสารสองทางระหว่าง กทม.และประชาชนผ่านสภาคนเมืองประจำเขต
  • พัฒนาแพลตฟอร์มรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบาย
  • ให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดงบประมาณ กทม. (participatory budgeting)
  • สภาเมืองคนรุ่นใหม่
  • พัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น (BKK Clean Air Area) ด้วยต้นไม้สำหรับพื้นที่เปิด ด้วยเครื่องฟอกอากาศสำหรับพื้นที่ปิด
  • ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง
  • พยากรณ์ แจ้งเตือน ป้องกันฝุ่น PM2.5
  • เปิดเผยข้อมูลศักยภาพสูงของ กทม. (Open Bangkok)
  • พัฒนาแบบจำลองเสมือนกรุงเทพฯ (Digital Twin) เพื่อใช้วางแผนและแก้ปัญหาเมือง
  • เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างครอบคลุมทั้งของ กทม.และกรุงเทพธนาคม
  • วิเคราะห์ข้อมูลเมือง ต่อยอดสู่การแก้ไขปัญหา
  • เปรียบเทียบต้นทุนการจัดซื้อจัดจ้างภายใน กทม.
  • ลดเสี่ยงโกงผ่านความร่วมมือภาคีเครือข่ายประชาชน
  • รายงานปัญหาโดยประชาชน แก้ปัญหาโดย กทม.ผ่านแพลตฟอร์มทราฟฟีฟองดูว์
  • ย้ายระบบราชการที่เกี่ยวข้องกับประชาชนขึ้นสู่ระบบออนไลน์
  • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนำการพัฒนาเมือง
  • วางแผนแนวคิดเมืองใหม่ที่ได้มาตรฐานในพื้นที่ชานเมือง
  • ปรับปรุงข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับผังเมืองและการควบคุมอาคารให้ทันสมัย
  • ส่งเสริมแนวคิดการจัดรูปที่ดินในบริเวณที่เหมาะสม
  • เรียนฟรี ชุดฟรี ไม่มีเก็บเพิ่ม
  • โรงเรียนเป็นแหล่งโภชนาการที่มีคุณภาพให้กับเยาวชนทั้งมื้อเช้าและมื้อกลางวัน
  • After School Program เรียน เล่น หลังเลิกเรียน
  • เปิดโรงเรียนวันหยุดเป็นพื้นที่กิจกรรม พื้นที่การเรียนรู้สำหรับนักเรียนและชุมชน
  • ยกระดับห้องแล็บคอมพิวเตอร์ทุกโรงเรียนให้ทันสมัยและเพียงพอ
  • พัฒนาฟรี Wi-Fi ทุกโรงเรียน รองรับการสอนผ่านสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ และการสืบค้นข้อมูล
  • ร่วมกับเอกชนในการจัดหาแท็บเล็ตให้นักเรียนใช้ โดยเฉพาะในช่วงการ study from home
  • คืนครูให้นักเรียน ลดภาระงานเอกสารด้วยเทคโนโลยี
  • เพิ่มสวัสดิการครูให้เหมาะสม
  • เพิ่มครูผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ช่วยครู สำหรับวิชาเฉพาะทาง เช่น ภาษา เทคโนโลยี
  • ปรับหลักเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะให้สอดคล้องกับการสอน ลดภาระการทำเอกสาร
  • Digital Talent ผู้ช่วยด้านเทคโนโลยีให้กับคุณครู
  • ขอดูภาพจากกล้อง CCTV ออนไลน์ได้สะดวกรวดเร็ว
  • ยกระดับคุณภาพกล้องวงจรปิด ป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก
  • กำหนดค่ามาตรฐานความสว่างป้ายโฆษณา
  • ใช้ข้อมูลอาชญากรรมกำหนดพิกัดอันตราย เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
  • พัฒนาบัญชีอุปกรณ์ในการเผชิญเหตุสาธารณภัยฉุกเฉินระดับย่าน
  • เพิ่มประปาหัวแดง โดยเฉพาะเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น
  • จัดหายานพาหนะเพื่อดับเพลิงในที่คับแคบ
  • พัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานสาธารณภัย
  • พัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัลแบบก่อสร้างและแปลนอาคารสนับสนุนการเผชิญเหตุให้มีประสิทธิภาพ
  • ดำเนินการเชิงรุกในการตรวจสอบอาคารเก่าและอาคารสาธารณะให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย
  • ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเชิงรุก
  • ผลักดันการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านการบรรเทาสาธารณภัย
  • ซ้อมการเผชิญเหตุให้ครอบคลุมทุกระดับ ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่
  • ใช้ CCTV กวดขันวินัยจราจร
  • ตรวจสอบและปรับปรุงทางข้ามทั้งกรุงเทพฯ ให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย
  • ปลูกฝังจิตสำนึก ส่งเสริมการสร้างระเบียบ กวดขันวินัยจราจรอย่างเข้มงวด
  • ลดความเร็ว ลดความเสี่ยง ในย่านชุมชนและถนนสายรอง
  • พนักงาน กทม.ตรวจสอบความพร้อมใช้สาธารณูปโภคเมืองเชิงรุก
  • กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  • รณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชั่น สิ่งแวดล้อม
  • พัฒนาโรงเรียน 3 ภาษา สอนผ่านหลักสูตรไทย ต่างประเทศและเทคโนโลยีเพื่อการทำงาน
  • สร้างเครือข่ายร่วมกับภาคเอกชน โครงการพี่สอนน้องนอกเวลาเรียน
  • โรงเรียนประสิทธิภาพสูงด้วย open data
  • พัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วยแนวคิด 'โรงเรียนแห่งการเรียนรู้' (Learning School)
  • พัฒนาศูนย์เด็กอ่อน-เด็กเล็กใกล้ชุมชนและแหล่งงาน
  • ทางเท้าเดิมโล่ง สะอาด เป็นระเบียบ
  • ส่งเสริมหลักสูตร คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น สำหรับเด็กช่วง 0-8 ปี
  • จัดหารุกขกรมืออาชีพดูแลต้นไม้ประจำเขต
  • พัฒนาห้องสมุดและห้องการเรียนรู้เคลื่อนที่
  • สายสื่อสารลงดินไม่ซ้ำซ้อน สะท้อนต้นทุน ไม่กระทบประชาชน
  • จุดจอดจักรยานคุณภาพ ปลอดภัย ทุกจุดเชื่อมต่อขนส่ง
  • แจ้งปัญหาวินฯ ผ่านแพลตฟอร์มฟองดูว์
  • โปร่งใส ไม่ส่วย
  • สวน 15 นาที ทั่วกรุง
  • สนับสนุนการแปลงที่ของประชาชนและเอกชนให้เป็นพื้นที่สีเขียว
  • เพิ่มเวลา เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มการเข้าถึงสวนและพื้นที่สาธารณะ
  • จัดทำงบประมาณแบบเริ่มจากศูนย์ (zero-based budgeting)
  • พิจารณาให้นำสัตว์เลี้ยงไปออกกำลังกาย ในสวน กทม.ได้
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้เพื่อประโยชน์คนกรุงเทพฯ
  • พัฒนา 1,034 ลานกีฬา กับประชาชนและเอกชนในพื้นที่
  • ดูแลห้องสมุดชุมชน บ้านหนังสือ ให้มีความทันสมัยน่าใช้งาน
  • 12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ
  • ยกระดับศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
  • กรุงเทพฯ มั่นใจ ปลอดภัยโควิด
    ห้องสมุดออนไลน์ (e-Library) อ่านอีบุ๊กได้จากทุกที่
  • เพิ่มฟังก์ชั่นให้ห้องสมุดเป็น Co-working Space
  • จัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ กทม. (กรอ. กทม.)
  • ฝึกอาชีพพัฒนาทักษะยุคใหม่ตอบโจทย์ตลาดงาน
  • ขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการ ผ่านการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในกรุงเทพฯ
  • ตลาดนัดชุมชน ตลาดนัดเขต
  • จัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้ง ทุกมุมเมืองเป็นพื้นที่ศิลปะ
  • แพลตฟอร์มรวบรวมพื้นที่สร้างสรรค์กรุงเทพฯ
  • เปลี่ยนศาลาว่าการและลานคนเมือง สู่พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ และพื้นที่สร้างสรรค์
  • วิชาศิลปะนอกห้องเรียน ส่งเสริมความคิด ความสร้างสรรค์ ผ่านแนวร่วมศิลปินทั่วกรุง
  • ขยายโอกาส ขยายช่องทาง ให้กับสินค้าสร้างสรรค์กรุงเทพฯ (MIB: Made in Bangkok)
  • พื้นที่สาธารณะเอนกประสงค์ทั่วกรุง
  • งานศิลป์จากหอศิลป์กรุงเทพฯ สู่พื้นที่สาธารณะทั่วกรุง
  • ชมรมผู้สูงอายุ สร้างสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพใจ (Active Aging)
  • คลังปัญญาผู้สูงอายุ
  • สายด่วน 1555 รองรับการใช้งานภาษามือ
  • ขยายขีดความสามารถของโรงเรียนและศูนย์ฝึกอาชีพ กทม. ให้สามารถดูแลและฝึกทักษะคนพิการได้
  • จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาประจำชุมชน ประจำเขต
  • ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงตลอดช่วงชีวิต
  • จัดระเบียบสัตว์จร แก้ปัญหาผ่านการจัดการอย่างเป็นระบบ
  • เปิดบ้านอุ่นใจ ที่ปลอดภัยของคนไร้บ้าน
  • รักษาสิทธิขั้นพื้นฐานให้คนไร้บ้าน ผ่านการตรวจสอบสิทธิและสวัสดิการ
  • จัดระบบความช่วยเหลือคนไร้บ้านให้มีประสิทธิภาพ
  • ช่วยหางาน สร้างรายได้ สร้างความมั่นคง
  • จัดทำฐานข้อมูลห้องเช่าราคาถูก (housing stock)
  • จัดชุดปฏิบัติการสำรวจตรวจตราคนไร้บ้านและขอทานในเมือง
  • สร้างต้นแบบการแยกขยะ ต่อยอดให้การแยกขยะระดับเขตสมบูรณ์ครบวงจร
  • สภาพแวดล้อมเมืองดี จุดทิ้งขยะถูกสุขอนามัย ไม่มีขยะตกค้าง
  • มุ่งเน้นแยกขยะต้นทางและขยะเปียกจากองค์กรแบบมุ่งเป้า
  • พัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม
  • รถขยะไซส์เล็ก เข้าใจเมือง เข้าถึงบ้าน
  • ขยายโครงการโรงพยาบาล 10,000 เตียง
  • สนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวคิดบ้านมั่นคง
  • ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ
  • ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข เพิ่มการรักษา เพิ่มเวลา เพิ่มทรัพยากร
  • หมอถึงบ้าน ผ่าน Telemedicine
  • Mobile Medical Unit รถสุขภาพเชิงรุก ตรวจถึงชุมชน
  • เร่งรัดผลักดันการก่อสร้าง และศึกษาการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ให้ครอบคลุม
  • คาร์บอนคุมได้ กทม.ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero)
  • สะพานลอยปลอดภัย มั่งคงแข็งแรง
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ผลักดัน Hi-Tech และ Hi-Touch
  • จัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัย โดยสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย
  • ส่งขยะคืนสู่ระบบ
  • เพิ่มสวัสดิการพนักงานเก็บและขนขยะ
  • ห้องพักชั่วคราวนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ (housing incubator)
  • กำหนดหน้าที่ และเป้าหมายของคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขตและระดับจังหวัด
  • จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับเขต
  • ลดจุดเสี่ยง จุดเฝ้าระวังน้ำท่วมทันที
  • แก้ปัญหาพื้นที่ต่ำ 50 เขต
  • ขุดลอกและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ 3,000 กม.
  • กวดขันจับ/ปรับ การทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างจริงจัง
  • ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน (onsite treatment)
  • มุ่งเป้าติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียต้นทาง
  • เพิ่มการขุดลอกคลองรองรับฝนทันฤดู
  • ถอดบทเรียนโควิด-19 ไม่ผิดพลาดซ้ำสอง
  • ส่งเสริมกลไกภาคประชาชนสุขภาพดี ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพฯ
  • การรักษาและส่งตัวผู้ป่วยไร้รอยต่อ ด้วยการบูรณาการข้อมูล
  • เพิ่มจำนวน Excellent Center และยกระดับศูนย์เวชศาสตร์เขตเมือง
  • เพิ่มแก้มลิงธรรมชาติ พื้นที่รับน้ำให้กรุงเทพฯ
  • ปรับปรุงซ่อมแซมแก้ฟันหลอคันกั้นน้ำริมแม่น้ำ และคลองสายหลัก
  • ทบทวนแผนการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน
  • BBKK Trail เส้นทางวิ่งดี ออกกำลังกายดี = เดินได้ดี
  • พัฒนาโอกาสและศักยภาพในตลาด กทม.
  • ใบอนุญาตตามประเภทกิจกรรม Function-based License
  • เปิดข้อมูลการเดินทางในกรุงเทพฯ ให้เป็นสาธารณะ
  • น้ำดื่มสะอาด ปลอดภัย ฟรี ทั่วกรุง
  • สร้างลิฟต์รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 2 ฝั่งถนนครบทุกสถานี
  • กำกับดูแลและเร่งคืนผิวจราจรการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด เพื่อการจราจรที่คล่องตัว
  • ปรับเงื่อนไขทุนเอราวัณ เพิ่มโอกาสสร้างครู กทม.
  • ส่งเสริมการออมและเข้าถึงแหล่งเงินทุนตั้งแต่ระดับครอบครัวถึงระดับชุมชน
  • พิจารณาเพิ่มศูนย์สร้างสุขทุกวัย เพิ่มกิจกรรมให้คนกรุงเทพฯ
  • เซนเซอร์สูบน้ำ ไม่ต้องรอขอกุญแจ
  • ทบทวนแผนการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ ความคุ้มค่าการลงทุน และประสิทธิภาพการแก้ปัญหาน้ำท่วม
  • ทบทวนแผนก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียรวม และ เชื่อมต่อท่อรวบรวมน้ำเสียที่มีอยู่เดิม
  • แจ้งเตือนฝนตกล่วงหน้าแม่นยำ
  • ห้องน้ำสาธารณะที่ดีในพื้นที่สาธารณะ
  • ตัดถนนย่อยตามผังเมือง เพิ่มความคล่องตัวของรถและโอกาสในการมีรถเมล์สายรอง
  • พัฒนาป้ายท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ขนาดเหมาะสม ข้อมูลถูกต้อง
  • นำร่องผ้าอนามัยฟรี
  • นำร่องสร้างห้องปั๊มนม-ให้นมในสถานที่ของกทม.
  • วิชาชีพเลือกเสรีสำหรับนักเรียน
  • หลักสูตรการเรียนรวม คือการศึกษาสำหรับทุกคน
  • กทม.สร้างแนวทางรับดูแลโครงสร้างพื้นฐาน หมู่บ้านและคอนโดเก่า
  • สนับสนุนศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศในกรุงเทพฯ
  • ผู้ว่าฯ เที่ยงคืน สนับสนุนการใช้ชีวิตและเศรษฐกิจกลางคืน
  • แจกอาหาร ก้าวผ่านวิกฤต เปิดครัวกลางที่โรงเรียนหรือชุมชนผ่านความร่วมมือกับภาคเอกชน
  • เพิ่มเงินสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชนและปรับการให้เป็นรายปี
  • ตลาด กทม.ออนไลน์
  • สร้างย่านจักรยาน เดินทางได้ทั่วด้วยการปั่น (Bicycle Corridor)
  • เด็กกทม. เล่นน้ำได้ ว่ายน้ำเป็น
  • ลดฝุ่น ลดค่าใช้จ่ายของประชาชนในการปรับปรุงเครื่องยนต์เก่า
  • ส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยให้เข้าถึงระบบจัดซื้อจัดจ้างของ กทม.
  • ปูพรมทำฐานข้อมูลชุมชน เพื่อจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานดูแลประชาชน
  • สนับสนุนรถรับส่งคนพิการ
  • ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ในหน่วยงานของ กทม.
  • บัตรคนพิการ จุดเดียวจบ ทุก รพ.สังกัด กทม.

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.chadchart.com

 

ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 มาตรา 17 ระบุให้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบเบื้องต้นแล้วมีเหตุอันควรเชื่อว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ประกาศผลการเลือกตั้งนั้นภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง 

 

 

ข้อมูล www.chadchart.com

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง