รีเซต

เอกชนจี้รัฐแก้ปัญหาส่งออกทางเรือ ขาดแคลนตู้-ค่าระวางแพง-รักษาเสถียรภาพค่าบาท ย้ำโควิดยังน่าห่วง

เอกชนจี้รัฐแก้ปัญหาส่งออกทางเรือ ขาดแคลนตู้-ค่าระวางแพง-รักษาเสถียรภาพค่าบาท ย้ำโควิดยังน่าห่วง
ข่าวสด
5 เมษายน 2564 ( 16:37 )
138
เอกชนจี้รัฐแก้ปัญหาส่งออกทางเรือ ขาดแคลนตู้-ค่าระวางแพง-รักษาเสถียรภาพค่าบาท ย้ำโควิดยังน่าห่วง

เอกชนจี้รัฐแก้ปัญหาส่งออกทางเรือ ขาดแคลนตู้-ค่าระวางแพง-รักษาเสถียรภาพค่าบาท ย้ำโควิดยังน่าห่วง วอนรัฐนำเข้าแรงงานต่างด้าว

 

เอกชนจี้รัฐแก้ส่งออกทางเรือ - น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า สรท. ยังคงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2564 เติบโต 3-4% โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญในปี 2564 เช่น สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีทิศทางดีขึ้นทั่วโลก เช่น การเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีมากขึ้น ส่งผลบวกต่อทิศทางการฟื้นตัวของระดับเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศ ดีขึ้นต่อเนื่อง โดยที่ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 500 ล้านโดส กว่า 140 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 1.36 แสนโดส

 

กลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และ Work from Home เช่น ถุงมือยาง, หน้ากากอนามัย, ผลไม้แปรรูป, อาหารสำเร็จรูปและเครื่องปรุงอาหาร รวมถึงเครื่องดื่ม อุปกรณ์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และของตกแต่งบ้าน เป็นต้น ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ค่าเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่า ในรอบ 4 เดือน

 

ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 เช่น ปัญหา International Logistics ทั้งปัญหาเรือ Ever Given ส่งผลทำให้การส่งมอบสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนและอัตราค่าระวางที่ทรงตัวในระดับสูง ผนวกกับจำนวนตู้ที่กลับเข้าสู่ระบบก็ยังไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ในการส่งออกของทุกประเทศทั่วโลก ประกอบกับอัตราค่าระวางยังคงทรงตัวในระดับสูงหลายเส้นทางสำคัญ ปัญหาความแออัดภายในท่าเรือแหลมฉบัง

 

การระบาดโควิด-19 รอบใหม่ในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะในประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี โปแลนด์ ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ส่งผลให้หลายประเทศเริ่มกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อาจกลับมาชะลอได้อีกครั้ง

 

สรท. จึงเสนอให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน รวมถึงมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออกที่ชัดเจนเนื่องจากต้องแบกรับต้นทุนค่าขนส่งที่สูงมากขึ้น เช่น กำกับดูแลไม่ให้สายเรือและผู้ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศปรับเพิ่มค่าระวางและค่าบริการเสริม (Surcharge) เร่งรัดการแก้ไขปัญหาความแออัดและการจราจรติดขัดภายในท่าเรือแหลมฉบัง

 

รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทไว้ที่ 32 บาท/เหรียญสหรัฐ เร่งดำเนินการความตกลงเขตการค้าเสรีที่สำคัญ อาทิ CPTPP, RCEP, Thai-EU, Thai-UK, Thai-Turkey เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับคือสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และเนื่องจากแรงงานในระดับ Unskilled labor ขาดแคลนอยางหนักโดยเฉพาะในภาคการผลิต ขอรัฐบาลพิจารณาแนวทางการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติมโดยเร็ว แต่อาจต้องมีมาตรการรับมือการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่เข้มงวด ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยควรสนับสนุนต้นทุนค่าวัคซีน สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ต้องการนำเข้าเพิ่มเติม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง