รีเซต

4 โครงการสมัยโบราณของจีน ขึ้นแท่น 'โครงสร้างชลประทานมรดกโลก'

4 โครงการสมัยโบราณของจีน ขึ้นแท่น 'โครงสร้างชลประทานมรดกโลก'
Xinhua
5 พฤศจิกายน 2566 ( 21:12 )
69
4 โครงการสมัยโบราณของจีน ขึ้นแท่น 'โครงสร้างชลประทานมรดกโลก'

  (แฟ้มภาพซินหัว : เรือบรรทุกสินค้าแล่นผ่านสะพานเก่าแก่แห่งหนึ่งในคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอ นครหางโจวของจีน วันที่ 27 พ.ค. 2022) ปักกิ่ง, 5 พ.ย. (ซินหัว) -- กระทรวงทรัพยากรน้ำของจีนระบุว่ามีโครงการชลประทานสมัยโบราณของจีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโครงสร้างชลประทานมรดกโลก (WHIS) เพิ่มอีก 4 โครงการ โดยอ้างอิงข้อมูลจากบัญชีโครงสร้างชลประทานมรดกโลก (WHIS) ประจำปี 2023 ซึ่งมีการประกาศ ณ การประชุมคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการชลประทานและการระบายน้ำ (ICID) ที่จัดขึ้นในอินเดียกระทรวงฯ ระบุว่า โครงการทั้ง 4 รายการข้างต้นประกอบด้วย ระบบชลประทานชีเหมินเยี่ยน (Qimenyan Irrigation System) ระบบชลประทานทะเลสาบหงเจ๋อ (Hongze Lake Irrigation System) โครงการชลประทานน้ำพุฮั่วเฉวียน (Huoquan Spring Irrigation System) และฝายโบราณไป๋หนี (Baini Weirs) ทำให้ปัจจุบันจีนมีโครงการชลประทานที่ได้ขึ้นทะเบียนโครงสร้างชลประทานมรดกโลก (WHIS) แล้วทั้งหมด 34 โครงการระบบชลประทานชีเหมินเยี่ยนในมณฑลอันฮุย สร้างขึ้นครั้งแรกในราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ปี 25)  มีบทบาทสำคัญด้านการชลประทาน การควบคุมน้ำท่วม และการป้องกันภัยแล้ง มานานกว่า 2,000 ปี ปัจจุบันโครงการนี้ยังคงถูกใช้ประโยชน์สำหรับพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 13,000 เฮกตาร์ (ราว 81,250 ไร่)ระบบชลประทานทะเลสาบหงเจ๋อในมณฑลเจียงซูทางตะวันออกของประเทศ เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ปี 25-220) โดยคนจีนสมัยโบราณได้เปลี่ยนเส้นทางน้ำเพื่อการชลประทานและการเกษตร และยังคงผันน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันโครงการชลประทานน้ำพุฮั่วเฉวียนในมณฑลซานซีทางตอนเหนือของประเทศ มีประวัติศาสตร์ยาวนานเกือบ 1,400 ปี และยังคงมีบทบาทด้านการชลประทาน การประปา นิเวศวิทยา และการท่องเที่ยวอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ฝายโบราณไป๋หนีในมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของประเทศ ก็ยังคงมีบทบาทด้านการชลประทาน การควบคุมอุทกภัย การบรรเทาภัยแล้ง การประปา เป็นต้น มาจนถึงปัจจุบันเฉินหมิงจง เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ เผยว่า จีนเป็นประเทศที่มีประเภทของมรดกทางวิศวกรรมชลประทานมากที่สุด และมีการกระจายตัวอย่างแพร่หลายมากที่สุดอีกด้วยนอกจากโครงการข้างต้นของจีน ยังมีโครงการชลประทานอีก 15 โครงการในประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย อิรัก ญี่ปุ่น ไทย และตุรกี (ทูร์เคีย) ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีโครงสร้างชลประทานมรดกโลก (WHIS) ประจำปี 2023 ของคณะกรรมาธิการฯ โดยปัจจุบัน รายชื่อโครงการชลประทานในบัญชีดังกล่าวครอบคลุม 159 โครงการทั่วโลกคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการชลประทานและการระบายน้ำ (ICID) ก่อตั้งขึ้นในปี 1950 เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มุ่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการชลประทาน การระบายน้ำ และการควบคุมน้ำท่วม โดยคณะกรรมาธิการฯ จัดตั้งบัญชีโครงสร้างชลประทานมรดกโลก (WHIS) ขึ้นในปี 2014 เพื่อปกป้องและส่งเสริมโครงการชลประทานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และคุณค่าด้านประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์แถลงการณ์บนเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการฯ ระบุว่า การเสนอชื่อโครงการต่างๆ เข้าสู่บัญชี เป็นไปเพื่อคัดเลือกโครงสร้างชลประทานมรดกโลก อันประกอบด้วยโครงสร้างชลประทานที่มีการดำเนินงานมาอย่างเก่าแก่ยาวนาน และโครงสร้างชลประทานที่มีคุณค่าทางจดหมายเหตุ (archival value)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง