รีเซต

CPF ร่วม “APEC 2022” โชว์แนวคิด Sustainable Kitchen of the World Towards Net-Zero

CPF ร่วม “APEC 2022” โชว์แนวคิด Sustainable Kitchen of the World Towards Net-Zero
TNN ช่อง16
14 พฤศจิกายน 2565 ( 17:35 )
45
CPF ร่วม “APEC 2022” โชว์แนวคิด Sustainable Kitchen of the World Towards Net-Zero

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมแสดงศักยภาพผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรของประเทศไทยและของโลก ต้อนรับผู้มาเยือนจากนานาประเทศใน 21 เขตเศรษฐกิจ เชื่อมั่น เผยแพร่ภาพลักษณ์องค์กรมืออาชีพระดับโลกที่นานาชาติยอมรับ ตอกย้ำการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ช่วยโลกยั่งยืน ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ตลอดห่วงโซ่การผลิต หรือ CPF Smart Process เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ลดของเสียจากกระบวนการผลิต และลดการปล่อยคาร์บอน ไปจนถึงการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อผู้บริโภค 

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า การที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเอเปค 2022 หรือ การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ซึ่งมีผู้นำจากนานาประเทศใน 21 เขตเศรษฐกิจของโลกเดินทางเข้ามา เป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะแสดงศักยภาพทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนให้โลก ภายใต้แนวคิดหลักของเอเปค 2565 “เปิดกว้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” (Open. Connect. Balance.) เพื่อเพิ่มโอกาสด้านการค้าการลงทุนที่เชื่อมโยงกันในทุกมิติ และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green- Economy Model -BCG) เป็นพื้นฐาน 

“ซีพีเอฟ เป็นผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารชั้นนำของไทยและของโลก มุ่งมั่นพัฒนาอาหารคุณภาพปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีกระบวนการบริหารจัดการองค์กรด้วย BCG และตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ในปี 2050 เพื่อร่วมขับเคลื่อนโลกสู่ความยั่งยืน บริษัทจึงมีความพร้อมอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการโชว์ศักยภาพของประเทศไทยในงานระดับโลกนี้” นายประสิทธิ์ กล่าว

ทั้งนี้ บริษัทฯ ชูแนวคิด Sustainable Kitchen of the World Towards Net-Zero ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน ผ่าน CPF Smart Process ประกอบด้วย SMART SOURCING SMART PRODUCTION และ SMART CONSUMPTION 


SMART SOURCING การจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในส่วนของการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน ซีพีเอฟ ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้ง 100% จากแหล่งผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า ช่วยปกป้องพื้นที่ป่าไม้ได้ถึง 2 ล้านไร่ และภายในปี 2030 วัตถุดิบหลักอื่นๆ ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง และมันสำปะหลัง จะมาจากแหล่งผลิตที่ไม่ตัดไม้ทำลายป่าทั้งหมดเช่นกัน โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนตลอดกระบวนการ 

SMART PRODUCTION เป็นการจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในส่วนของโรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์ม และโรงงานแปรรูปอาหาร โดยนำนวัตกรรมด้านการผลิตและด้านพลังงานมาใช้ ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ใช้พลังงานหมุนเวียน ถึงร้อยละ 27 ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งนับเป็น 1 ใน 5 องค์กรที่ดำเนินธุรกิจด้านอาหารที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียนสูงที่สุดของไทย ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 680,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบได้กับการปลูกต้นไม้จำนวน 73 ล้านต้น หรือการลดปริมาณรถบนท้องถนน 150,000 คัน ส่วนพลังงานหมุนเวียนที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต ได้แก่ พลังงานชีวมวล (Biomass) พลังงานชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังเป็นบริษัทแรกและบริษัทเดียวในประเทศไทยที่ประกาศเป้าหมาย การยกเลิกใช้ถ่านหิน 100% ในปี 2022

สำหรับ SMART CONSUMPTION เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อการบริโภคเป็นอีกหนึ่งมิติสำคัญของการผลิตและการบริโภคอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซีพีเอฟ ไม่เพียงแต่มุ่งมั่นผลิตอาหารที่ได้คุณภาพ มาตรฐานระดับโลก มีคุณค่าทางโภชนาการเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากลดโลกร้อนที่ได้รับการรับรองมากกว่า 790 รายการ ซึ่งนับเป็นจำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์คาร์บอนฟุตพรินท์ที่ได้รับการรับรองในประเทศไทย และตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมไม่ต่ำกว่า 40% ของผลิตภัณฑ์รวมทั้งหมดของบริษัท นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ประกาศเป้าหมายการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน “100% Sustainable Packaging” โดยบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable), รีไซเคิล (Recycle) หรือย่อยสลายได้ (Compostable) ซึ่งปัจจุบันดำเนินการตามเป้าหมายไปแล้ว 99.9%


นอกจากกระบวนการผลิตอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่ ที่มุ่งเน้นการลด - เลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ซีพีเอฟ ยังดำเนินโครงการปลูกป่าเพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งป่าบกตามโครงการ “ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสักเขาพระยาเดินธง” และป่าชายเลนภายใต้โครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” รวมไปถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการทั่วโลก รวมพื้นที่กว่า 10,900 ไร่ ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 11,400 ตันต่อปี


“ซีพีเอฟ เป็นครัวของโลกที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ทุกคน และยังมุ่งสร้างความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ด้วยการมีส่วนร่วมรักษาสมดุลธรรมชาติป่าไม้ และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ใช้คาร์บอนน้อยที่สุด และเราจะไม่หยุดพัฒนา พิถีพิถันในทุกขั้นตอน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนโลกใบนี้ไปสู่ Net-Zero เพื่อพรุ่งนี้ที่ดีกว่าอย่างยั่งยืน” นายประสิทธิ์กล่าวทิ้งท้าย  

นอกจากนี้ ในการประชุมผู้นำภาคเอกชนของเอเปค หรือ APEC CEO Summit ซึ่งมีผู้นำภาคเอกชนจากหลายเขตเศรษฐกิจของโลก ร่วมการรับรองอาหารเย็นภายในงาน APEC CEO Summit Reception ณ ไอคอนสยาม ซีพีเอฟ ได้นำสองผลิตภัณฑ์ยั่งยืน ได้แก่ เนื้อจากพืช Meat Zero และ ไก่เบญจา แบรนด์ U FARM ซึ่งมีห่วงโซ่การผลิตภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ลิ้มลอง ตอกย้ำคุณภาพอาหารที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีรสชาติความอร่อยเป็นเลิศระดับโลก การันตีรางวัล “สุดยอดรสชาติอาหารระดับโลก ประจำปี 2022” หรือ Superior Taste Award 2022 โดยสถาบันชั้นนำของโลก International Taste Institute ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ด้วยเมนูพิเศษ ได้แก่ ประเภทวีแกน อาทิ นักเก็ต เกี๊ยวซ่า โบโลน่า และ ข้าวตังมัสมั่น รวมถึง ส้มตำไก่ย่าง ข้าวซอยไก่ และข้าวตังหน้าไก่ นับเป็นอีกความภาคภูมิใจของคนไทยและบริษัทไทยที่ได้ร่วมแนะนำ Soft Power ด้านอาหาร ด้วยผลิตภัณฑ์ของไทยให้นานาชาติได้รู้จัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง