ส.ประกันวินาศภัยผูกมิตรรพ.รัฐ หนุนค่ารักษากลาง-แฟล็กเคลม
#TGIA #ทันหุ้น สมาคมประกันวินาศภัยไทย เดินแผนราคากลางค่ารักษาพยาบาล เล็งร่วมมือโรงพยาบาลรัฐก่อน เพื่อสร้างมาตรฐานด้านบริการ-รักษา รวมถึงวางระบบแฟล็กเคลม เพื่อให้ผู้เอาประกันไม่ต้องสำรองจ่ายหากไปรักษาที่โรงพยาบาลรัฐ ซึ่งหลายแห่งก็รักษาและบริการไม่ต่างจากเอกชน ขณะที่สิทธิประโยชน์ทางภาษีประกันสุขภาพเพิ่มเติม อาจต้องถกในสมาคมเพิ่ม ในมุมประโยชน์การสร้างหลักประกันทางเลือก
ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย หรือ TGIA กล่าวถึงแนวทางในการกำหนดราคากลางค่ารักษาพยาบาลว่า สมาคมได้ตั้งคณะกรรมขึ้นมาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดราคากลางค่ารักษาพยาบาลสำหรับบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการความสินไหมของภาคธุรกิจที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวกับโรงพยาบาลรัฐก่อน เพื่อหาข้อสรุปและความเป็นไปได้ในการกำหนดราคากลางค่ารักษาพยาบาล
อย่างไรก็ตามเป้าหมายของสมาคมไม่ได้เข้าไปกำหนดราคาเพื่อให้โรงพยาบาลรัฐ และเอกชนปฎิบัติตาม เพราะสมาคมเข้าใจว่าโรงพยาบาลแต่ละแห่งมีต้นทุนการบริหารจัดการที่แต่งต่างกัน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายก็แตกต่างกัน การกำหนดราคาจึงไม่เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ก็อยากให้โรงพยาบาลเก็บค่ารักษาพยาบาลตามจริง เช่น การเก็บค่ารักษาผู้ป่วยที่มีประกันคุ้มครอง กับผู้ป่วยที่ไม่มีประกันคุ้มครองควรอยู่ในอัตราเดียวกัน
*ขอราคารักษาตามจริง
“การชาร์จราคากับผู้ป่วยที่ทำประกัน และไม่ได้ทำประกันควรอยู่ในอัตราเดียวกัน ไม่ใช่พอเห็นว่ามีผู้ป่วยมีประกันก็ชาร์จเต็มที่ ซึ่งทางสมาคมประกันวินาศภัยเห็นว่าโรงพยาบาลควรให้บบริการและรักษาตามความเหมาะสม ซึ่งจะได้ค่ารักษาพยาบาลตามจริง”
ดร.สมพร กล่าวว่า ในเบื้องต้นจะร่วมมือกับโรงพยาบาลรัฐ เนื่องจากปัจจุบันหลายแห่งยังไม่ได้ให้บริการแฟล็กเคลม (Fax Claim) หรือการที่ผู้เอาประกันไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อไปรักษาพยาบาล โดยโรงพยาบาลของรัฐหลายแห่งมีการปรับตัวทั้งภาพลักษณ์และการให้บริกรไม่ต่างจากเอกชน ขณะที่การรักษาจากโรงพยาบาลรัฐก็ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ป่วยอยู่แล้ว ดังนั้นหากสามารถบริการแฟล็กเคลมได้ ก็น่าจะเพิ่มจำนวนผู้มาใช้บริการได้มากขึ้นเช่นกัน
ในส่วนของโรงพยาบาลรัฐ ปัจจุบันก็เริ่มสนใจวางระบบแฟล็กเคลม (Fax Claim) มากขึ้น เพราะนอกจากเป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ส่วนหนึ่งก็มาจากบริษัทประกันภัยจ่ายสินไหมให้ทางโรงพยาบาลได้เร็วกว่าการเบิกเงินค่ารักษาจากหน่วยงานรัฐที่ใช้เวลานานกว่า
*ถกใหม่ประโยชน์ภาษี
ดร.สมพร กล่าวอีกว่า ในส่วนของมาตรการด้านสิทธิประโยชน์ภาษีจากการทำประกันภัยสุขภาพนั้น ถือเป็นงานที่สานต่อจากคณะกรรมการสมาคมชุดเก่า ล่าสุดก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาคมประกันชีวิตไทยเช่นกัน ทำให้เห้นมุมมองว่า สิทธิประโยชน์ทมางภาษีที่สรรพกาให้นั้น เพราะต้องการส่งเสริมการออม ซึ่งประกันชีวิตได้สิธิประโยชน์ส่วนนี้รวม 300,000 บาท อย่างไรก็ตามในส่วนของประกันสุขภาพ ได้อีก 25,000 บาท ซึ่งเป็นวงเงินที่รวมกับสิทธิประโยชรน์ 300,000 บาท
ในขณะที่ประกันสุขภาพ ถือเป็นการจ่ายเบี้ยแบบปีต่อปี ไม่ใช้เป็นเรื่องของการออม แต่เป็นเรื่องของการบริหารความเสี่ยง และการมีหลักประกันสุขภาพทางเลือก ดังนั้นในแง่ของสมาคม หากจะเข้าไปคุยกับสรรพกากรจะต้องเปลี่ยนหลักการเสนอใหม่ ที่ไม่ใช้เรื่องของการออม แต่เป็นเรื่องของหลักประกันสุขภาพ ที่มีโอกาสช่วยลดภาระงบประมาณสวัสดิการส่วนนี้ของภาครัฐลงได้ และสามารถนำเงินไปใช้พัฒนาโครงการอื่นๆของประเทศ
“โดยหลักการแล้วสรรพากรให้สิทธิปรนะโยชน์ทางภีเพื่อส่งเสริมการออม ซึ่งถ้าเราจะเข้าไปขออาจต้องปรับหลักเกณฑ์ใหม่หลายเรื่อง อีกทั้ง ประกันสุขภาพก็ไม่ได้เป็นเรื่องของการออม เพราะจ่ายเบี้ยแบบปีต่อปี ดังนั้นสมาคมจะกลับไปคุยกับคณะกรรมการอีกครั้ง ในหลักการของสิทธิประโยชน์ภาษีเพิ่มเติมในส่วนของประกันสุขภาพ”
*เดินหน้าแผนงาน
ทั้งนี้ในปี 2566 สมาคมประกันวินาสภัย โดย คณะกรรมการบริหารสมาคม ได้ร่วมกันกำหนดแผนปฏิบัติการเร่งรัด หรือ Quick Win เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจตามกรอบและทิศทางของแผนยุทธศาสตร์สมาคม ตั้งแต่ การควบรวมสำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย (Insurance Premium Rating Bureau: IPRB) และ บริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าเนท จำกัด (Thai Insurers Datanet Co., Ltd.: TID) เข้าด้วยกัน
โดยการรวม 2 หน่วยงานดังกล่าวให้เป็นหน่วยงานเดียวจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับเคลื่อนให้หน่วยงานใหม่ที่จัดตั้งขึ้นนี้ได้นำฐานข้อมูลกลางประกันภัย (Insurance Bureau System: IBS) มาใช้ประโยชน์ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ภาพรวมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจประกันวินาศภัยให้มากยิ่งขึ้น เช่น การวิเคราะห์ต้นทุนความเสียหายของการประกันภัยประเภทต่าง ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบการฉ้อฉลประกันภัย เป็นต้น
การควบคุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของการประกันภัยสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น โดยศึกษาหามาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลของการประกันภัยสุขภาพตามแนวโน้มในการรักษาทางการแพทย์ และปัจจัยประกอบอื่น ๆ ทั้งในเรื่องของสังคมผู้สูงอายุ และอุบัติภัยทางสุขภาพ เป็นต้น เพื่อไม่ให้ค่าเบี้ยประกันภัยสุขภาพสูงเกินไปจนผู้เอาประกันภัยต้องแบกรับภาระเพิ่ม และศึกษามาตรการเพิ่มเติมในการลดหย่อนภาษี รวมถึงหาแนวทางในการจัดตั้งคณะแพทย์ที่ปรึกษาให้กับธุรกิจประกันวินาศภัยไทย
ทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันวินาศภัย (Regulatory Guillotine) กับสำนักงาน คปภ. ว่ามีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันวินาศภัยใดบ้างที่น่าจะนำมาทบทวน ปรับปรุงแก้ไข หรือยกเลิก ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในปัจจุบัน
เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในปัจจุบันนั้นแตกต่างจากบริบทที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีซึ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและก่อให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ กฎหมายที่มีอยู่จึงอาจล้าสมัยและไม่ตอบโจทย์การประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล