รีเซต

สอบ ก.พ.คืออะไร? พร้อมวิธีสู่อาชีพราชการ

สอบ ก.พ.คืออะไร? พร้อมวิธีสู่อาชีพราชการ
TeaC
29 ตุลาคม 2564 ( 12:06 )
14.2K

ข่าววันนี้ การสอบ ก.พ.คืออะไร? วันนี้ TrueID พาไปหาคำตอบกัน เริ่มต้นที่ "ก.พ." ย่อมาจาก "คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน" เป็นคณะกรรมการที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ โดยบทบาทของ ก.พ. มีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวม ด้วยการพิจารณา และดำเนินการเพื่อให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งข้าราชการที่ดีมีความรู้ ความสามารถสูง ให้ได้คนที่เหมาะสมกับงานและโดยประหยัดรวมถึงการรักษาขวัญและส่งเสริมกำลังใจ ในการทำงานของข้าราชการเป็นส่วนรวม ถือเป็นการเตรียมกำลังคนภาครัฐให้มีความพร้อมและสามารถผลักดันนโยบายของรัฐให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าประสงค์ อันจะช่วยให้ประเทศชาติก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

 

ดังนั้น ในแต่ละปี สำนักงาน ก.พ.จะคัดเลือกบุคคลในระดับวุฒิการศึกษา สาขาวิชาชีพที่แตกต่าง ๆ เพื่อเข้ามาทำงานให้กับหน่วยงานราชการ โดยจะประกาศรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าสู่อาชีพราชการ เพื่อสมัครเข้าสอบแข่งขัน โดยการสอบ ก.พ.นั้น จะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ สอบ ก.พ. ภาค ก, ภาค ข. และภาค ค. ด้วยกัน

 

สอบ ก.พ. ภาค ก คืออะไร?

การสอบภาค ก. คือ การสอบภาคความรู้ ความสามารถทั่วไป โดยการสอบข้อเขียน เป็นการทดสอบระดับเชาวน์ปัญญา

 

สอบ ก.พ. ภาค ข คืออะไร?

การสอบภาค ข คือ การสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง เป็นการสอบข้อเขียน เน้นวิชาชีพเฉพาะตามที่ได้ ศึกษาเล่าเรียนมา

 

สอบ ก.พ. ภาค ค คืออะไร?

การสอบภาค ค คือ การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ซึ่งเป็นการสอบสัมภาษณ์ ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ

 

และเมื่อผู้สมัคร สอบ ก.พ. สอบผ่านทั้ง 3 ภาค จะได้บรรจุเข้ารับราชการ โดยสำนักงาน ก.พ. จะขึ้นทะเบียนผู้สอบผ่านเกณฑ์การคัดเลือกไว้ในระยะเวลาที่กำหนด โดยผู้สอบที่สอบผ่าน ก.พ. ภาค ก แล้ว จะได้รับใบประกาศผู้สอบผ่าน ก.พ. ตามเกณฑ์การตัดสิน 60%

 

วิธีสู่อาชีพราชการ 

สำหรับอาชีพ "ข้าราชการ" ถือเป็นหนึ่งอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝันอยากเข้าสู่สายอาชีพนี้ ซึ่งอาชีพราชการถือว่ามีความสำคัญต่อประเทศอย่างมาก เพราะระบบราชการเป็นฟันเฟืองที่สำคัญต่อการขับเคลี่ยนประเทศ นโยบายรัฐให้เกิดผล เพื่อนำพาประเทศ สังคมสู่ความเจริญ อีกทั้ง “ข้าราชการพลเรือนสามัญ” คือ ข้าราชการที่ทำงานอยู่ในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยกเว้น ครู ทหาร ตำรวจ อัยการ ตุลาการ หรือข้าราชการท้องถิ่น เป็นต้น

 

ผู้สนใจที่เข้ารับราชการพลเรือนสามัญ ต้องสมัครสอบแข่งขัน หรือสมัครคัดเลือก ตามหลักสูตรที่กำหนด ดังนี้ 

 

การสอบแข่งขัน


1. สมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ที่สำนักงาน ก.พ. จัดสอบเป็นประจำทุกปี ซึ่งรับสมัครทั้งผู้ที่จบการศึกษาแล้ว และผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้าย ของระดับ ปวช. ปวท. ปวส. อนุปริญญา ปริญญาตรี หรือปริญญาโท โดยจะประกาศรับสมัครสอบ ประมาณเดือน ก.พ. – มี.ค. ของทุกปี ดูรายละเอียดได้ที่ http://job.ocsc.go.th เมื่อสอบผ่านแล้ว สำนักงาน ก.พ. จะส่งหนังสือรับรองการสอบผ่านให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ในใบสมัครสอบ

 

2. สมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) และสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ตามที่ส่วนราชการต่าง ๆ เปิดรับสมัคร โดยใช้หนังสือรับรองการสอบผ่านภาค ก. ที่ได้รับจากสำนักงาน ก.พ. ไปเป็นหลักฐานในการสมัครสอบ ทั้งนี้ สามารถติดตามข่าวประกาศรับสมัครสอบของส่วนราชการต่าง ๆ ได้ที่ http://job.ocsc.go.th

 


การคัดเลือก

1. ส่วนราชการต่าง ๆ อาจประกาศรับคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จากผู้ที่จบการศึกษาในวุฒิการศึกษาที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็นวุฒิคัดเลือก โดยผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) 

 


2. สมัครคัดเลือกเข้ารับราชการในตำแหน่งที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ส่วนราชการประกาศรับสมัครคัดเลือก ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดประกาศรับสมัครของส่วนราชการ ต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์ http://job.ocsc.go.th หัวข้อ “ประกาศรับสมัครสอบเข้ารับราชการ”

 


3. เข้ารับการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตามหลักสูตรที่ส่วนราชการนั้น ๆ กำหนด ซึ่งอาจจะมีการสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ สอบสัมภาษณ์ เป็นต้น

 

ใครที่สนใจอย่าลืมติดตามรายละเอียดการเปิดรับสมัครสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ หรือสมัคสอบ ก.พ.ปี 2565 ได้ที่เว็บไซต์ สำนักงาน ก.พ. 

 

ข่าเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง