รีเซต

รสนา ชี้ แก้ปัญหาขยะ ต้องดึงชาวกรุงเทพฯมีส่วนร่วม หาทางใช้ประโยชน์-เปลี่ยนขยะเป็นรายได้

รสนา ชี้ แก้ปัญหาขยะ ต้องดึงชาวกรุงเทพฯมีส่วนร่วม หาทางใช้ประโยชน์-เปลี่ยนขยะเป็นรายได้
มติชน
28 เมษายน 2565 ( 15:17 )
59
รสนา ชี้ แก้ปัญหาขยะ ต้องดึงชาวกรุงเทพฯมีส่วนร่วม หาทางใช้ประโยชน์-เปลี่ยนขยะเป็นรายได้

เมื่อวันที่ 28 เมษายน รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ หมายเลข 7 เขียนข้อความแสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการขยะของ กทม. โดย ระบุว่า

 

ต้นตอของปัญหาขยะใน กทม. เกิดจาก จำนวนประชากรที่อาศัยในเขต กทม. มีจำนวนมากกว่า 10 ล้านคนสร้างขยะวันละ 10,000 ตัน หรือ 10 ล้านกิโลกรัม อีกทั้งกรุงเทพมีอัตราการบริโภคต่อคนที่สูงกว่าจึงทำให้มีปริมาณขยะสูงตามไปด้วย ขยะถูกชาวกรุงเทพมองว่าเป็นภาระของ กทม. หรือภาครัฐในการดำเนินการ “เก็บกวาด รวบรวม ขนส่ง และกำจัด” โดยไม่ได้เชื่อมโยงตนเองเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบ ชาวกรุงเทพมีส่วนร่วมในการจัดการขยะน้อยมากและไม่ทราบด้วยว่าขยะของตนเองนั้นสร้างภาระและมลพิษให้แก่จังหวัดอื่นๆ มากเพียงใด ส่วน กทม. ก็สื่อสารให้ชาวกรุงเทพน้อยมากในเรื่องทำไมต้องแยกขยะ แยกแล้วทำอย่างไร กทม. จัดการอย่างไร ถึงเวลาที่ กทม. จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงการจัดการขยะร่วมกันแบบมีส่วนร่วมและรับผิดชอบ เช่น การให้เอกชนผู้ผลิตสินค้า/ขายสินค้าที่สร้างขยะต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบกำจัดขยะด้วยตามหลัก (Extended Producer Responsibility) หรือ การกระจายงบประมาณการกำจัดลงสู่ชุมชนในการตัดสินใจหาวิธีการลดขยะที่ต้องจัดการตั้งแต่ต้นทาง ขยะมากกว่าครึ่งหนึ่งสามารถนำไปสร้างรายได้ให้ชุมชน และช่วยลดรายจ่ายค่าจัดการขยะของ กทม. แนวทางอื่นๆ ได้แก่

 

• การสนับสนุนกลุ่มธุรกิจเข้ามาช่วยในการคัดแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะโดยรวมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ
• การสนับสนุนการลดขยะ เช่นการสร้างตู้น้ำดื่มสาธารณะ การใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
• การยกระดับชุมชน ให้เข้ามาร่วมเก็บและร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการขยะของชุมชน

 

ปัจจุบันระบบการจัดเก็บขยะของ กทม. เป็นระบบจ้างเหมาจ้างเอกชน 2 รายดำเนินการ ซึ่งต้องไปดูว่าสัญญาผูกมัดไว้อย่างไร ขยะถือเป็นทรัพย์สิน แต่กลับต้องใช้เงินมากกว่า 10% ของบประมาณหรือราว 10,000 ล้านบาทเมื่อรวมงบจัดการขยะที่อยู่ที่แต่ละเขตด้วย ซึ่งมากกว่าด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุข เพื่อมากำจัดทรัพย์สินขยะ ถ้าได้เป็นผู้ว่าฯจะหาทางแก้ไขสัญญาจ้างเก็บขยะ และจะให้มีการแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะแห้ง ขยะแห้งสามารถขายได้เพราะมีคนต้องการรับซื้อ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้ กทม. นำไปเป็นบำนาญประชาชน 3,000 บาท ส่วนขยะเปียกสามารถนำไปหมักเป็นก๊าซชีวภาพ หรือก๊าซหุงต้ม และสามารถใช้เป็นแรงจูงใจให้บ้านเรือนแยกขยะอินทรีย์แล้วได้ก๊าซหุงต้มเป็นการตอบแทน และยังได้ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับใช้ในสวนสาธารณะ และสวนผักคนเมืองที่ กทม. จะจัดสรรให้พื้นที่ว่างเปล่ามาเป็นสวนผักคนเมืองได้อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง