สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนไป เลือกตั้งท้องถิ่น
อีกไม่กี่วันแล้วที่ คนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากต่อการพัฒนาระดับจังหวัด หลังจากประเทศไทยไม่มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นนาน 7 ปีแล้ว โดยการเลือกตั้งสมาชิกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) และ สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สภา อบจ.) ในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า หรือ การเลือกตั้งนอกเขตแต่อย่างใด ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะต้องเดินทางกลับไปเลือกตั้งตามภูมิลำเนาที่ปรากฎอยู่ในทะเบียนบ้าน สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนไปเลือกตั้งฯ มีอะไรบ้าง trueID news จะพาทุกท่านไปรู้กัน
1.เอกสารที่ต้องเตรียม
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องเตรียมหลักฐานสำคัญ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้) หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ, ใบขับขี่ และหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต)
2.วิธีเช็คสิทธิ์เลือกตั้ง
กกต. เปิดเว็บไซต์ให้สามารถตรวจสอบสิทธิ์เลือกตั้งนายก อบจ. และ สภา อบจ. ได้แล้ว เพียงแค่มีผู้สิทธิ์เลือกตั้งกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลักในการค้นหาผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนท้องถิ่น สามารถเข้าไปตรวจสอบสิทธิ์เลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) และ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สภา อบจ.) ได้ที่ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/
เมื่อกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลักแล้ว จะปรากฏหน้าต่างขนาดเล็กที่ระบุข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ประเภทการเลือกตั้ง วันที่เลือกตั้ง (20 ธันวาคม) เขตและหน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และลำดับในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตัวเอง
3. ไม่มีเลือกตั้งล่วงหน้า-เลือกตั้งนอกเขต
สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า และไม่มีการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรเหมือนกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดังนั้น ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 08.00 นาฬิกา ถึงเวลา 17.00 นาฬิกา เพียงวันเดียวเท่านั้น
4.ไม่ไปเลือกตั้ง มีผลยังไงบ้าง
การไม่ไปเลือกตั้ง และไม่ได้แจ้งเหตุอันสมควร จะเสียสิทธิ 6 ประการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิ
- สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส., ส.ถ., ผ.ถ. หรือ ส.ว.
- สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
- สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ. หรือ ผ.ถ.
- สิทธิดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
- ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ผรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น
- ดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่ น และเลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น
อย่างไรก็ดี การถูกจำกัดสิทธินี้ จะกำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิ หากการเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่ไปใช้สิทธิอีก ก็นับเวลาการจำกัดสิทธิครั้งหลังโดยนับจากวันที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่ และกำนดเวลาให้การจำกัดสิทธิครั้งก่อนจบลง
5.การแจ้งเหตุ หากไม่สามารถไปใช้สิทธิ เลือกตั้ง
สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกไปเลือกตั้ง ต้องแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิ
- ให้แจ้งเหตุต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมี
ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน - โดยทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุ เลขประจำตัวประชาชนที่อยู่
ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ภายใน 7 วัน ก่อนวันเลือกตั้งหรือนับตั้งแต่ วันเลือกตั้ง - ทั้งนี้ สามารถแจ้งได้ด้วยตนเอง, มอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน
ข้อมูล : เว็บไซต์ตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น
Image by mohamed Hassan from Pixabay
++++++++++
รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม
สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)