รีเซต

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ฉีดวัคซีนโควิด-19 โรคข้ออักเสบและโรคแพ้ภูมิตัวเอง ฉีดวัคซีนอะไรได้บ้าง

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ฉีดวัคซีนโควิด-19 โรคข้ออักเสบและโรคแพ้ภูมิตัวเอง ฉีดวัคซีนอะไรได้บ้าง
Ingonn
20 กันยายน 2564 ( 15:59 )
178

ปัจจุบันการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เน้นกลุ่มเสี่ยงเป็นหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย

 

 

โดยเฉพาะผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน แต่โรคข้ออักเสบและโรคแพ้ภูมิตัวเอง ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สำคัญและต้องได้รับคำแนะนำก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างถูกต้อง 

 

 

 

ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบและโรคแพ้ภูมิตัวเอง ต้องเตรียมตัวอย่างไร


1. ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบและโรคแพ้ภูมิตัวเองเป็นผู้ป่วยที่มักจะได้รับยากดภูมิคุ้มกัน จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เมื่อติดเชื้อโควิด-19 แล้วจะมีอาการรุนแรงมากกว่าประชากรทั่วไป จึงควรได้รับวัคซีนโควิด-19

 


2. ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีข้อห้ามในการให้วัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ยกเว้นในรายที่แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน

 


3. การตอบสนองต่อวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบและโรคแพ้ภูมิตัวเองที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันอยู่อาจไม่สูงและยาวนานเหมือนกับประชากรทั่วไป

 


4. ในทางทฤษฎีผู้ป่วยโรคข้ออักเสบและโรคแพ้ภูมิตัวเองอาจจะมีโอกาสเกิดอาการโรคกำเริบได้ ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 แต่ประโยชน์จากการได้รับวัคซีนมากกว่าความเสี่ยงต่อโรคกำเริบ

 


5. ช่วงเวลาที่เหมาะสมของการฉีดวัคซีน คือ ระยะอาการโรคคงที่ และหากเป็นไปได้แนะนำให้วัคซีนก่อนวางแผนเริ่มการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หรือในช่วงที่มีการใช้ยากดภูมิคุ้มกันในระดับที่ไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ควรเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างแพทย์ผู้ดูแลและผู้ป่วย

 


6. ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบและโรคแพ้ภูมิตัวเองมีข้อระวังในการฉีดวัคซีนชนิดเชื้ออ่อนฤทธิ์ (live-attenuated) ซึ่งยังไม่มีในขณะนี้ 

 


7.ขณะนี้วัคซีนที่ได้รับ คือ BioNTech/Pfizer สามารถใช้ในเด็ก ตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไปได้ โดยกำหนดรับวัคซีน 2 ครั้งตามนัดหมาย

 


8.ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับยากดภูมิสามารถรับวัคซีนได้ตามเกณฑ์อายุ และไม่เป็นข้อห้ามกับยาที่ใช้ โดยเฉพาะแนะนำให้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี (ห่างจากการรับวัคซีนโควิด 2 สัปดาห์)

 


9.ผู้ปกครอง ญาติหรือผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ร่วมด้วยเพื่อเป็นการปกป้องผู้ป่วย "Cocooning effect"

 


10.ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับยากดภูมิอาจพิจารณาปรับยาตามคำแนะนำในเอกสารและควรตัดสินใจร่วมกันระหว่างทีมแพทย์ผู้ดูแลและผู้ป่วย

 

 

คำแนะนำ ณ ปัจจุบัน อ้างอิงจากคำแนะนำการให้วัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคข้ออักเสบและแพ้ภูมิตนเอง

 

 

 


ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมถึงการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนโควิด-19 โดยตรงในผู้ป่วยกลุ่มโรคข้ออักเสบและโรคแพ้ภูมิตัวเอง คำแนะนำการให้วัคซีนโควิด-19 นี้อ้างอิงข้อมูลจากการศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนอื่น ๆ ที่พบว่าอาจจะตอบสนองได้น้อยกว่าคนปกติ แต่โดยทั่วไปแล้ววัคซีนสามารถลดอัตราการเสียชีวิตและความรุนแรงของโรคโควิด-19 ได้ จึงแนะนำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับวัคซีนโควิด-19

 

 

 


วัคซีนโควิด-19 ที่ฉีดได้


วัคซีนเชื้อตาย = ซิโนแวค (Sinovac) , ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) 

 


วัคซีนชนิดไวรัสเวคเตอร์ = แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) , จอห์นสันแอนด์จอนห์นสัน (Johnson & Johnson (Janssen)) , สปุตนิก วี  (Sputnik V) 

 


วัคซีนชนิด mRNA = ไฟเซอร์ (Pfizer BioNTech) , โมเดอร์นา (Moderna) 

 


วัคซีนชนิดส่วนประกอบของโปรตีน = โนวาแวกซ์ (Novavax)

 

 

 

ผู้ป่วยที่ได้รับยาดังต่อไปนี้ไม่มีคำแนะนำให้ปรับยา


- Prednisolone*


- Hydroxychloroquine


- IVIG


- Azathioprine


- Sulfasalazine


- Leflunomide


- Cyclophosphamide (oral)


- TNFi; Etanercept, Infliximab,


- Adalimumab


- IL-6R; Tocilizumab


- IL-17; Secukinumab


- Belimumab

 

 

 

ผู้ป่วยที่ได้รับยาดังต่อไปนี้แนะนำให้ปรับยาช่วงรับวัคซีนโควิด-19


Methotrexate / Mycophenolate mofetil / Calcineurin inhibitor (oral)


หลังรับวัคซีนแต่ละครั้งให้หยุดยาเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์

 

 

Acetaminophen, NSAIDs


หยุดยา 24 ชั่วโมงก่อนได้รับวัคซีนและไม่มีข้อห้ามในการใช้กรณีมีอาการหลังจากรับวัคซีนแล้ว

 

 

Cyclophosphamide (IV)


ให้เลื่อนการรับยา 1 สัปดาห์หลังรับวัคซีนแต่ละครั้ง

 

 

 

กรณีปรับยา rituximab และ / เลื่อนรับวัคซีน


- ควรได้รับวัคซีน 4 สัปดาห์ ก่อน rituximab


- เลื่อนการรับยา rituximab หลังจากได้รับวัคซีนเข็มสุดท้าย 2-4 สัปดาห์

 

 

 

คำแนะนำในการหยุดยาชั่วคราวหรือเลื่อนการให้ยากดภูมิ เนื่องจากสมมติฐานที่ว่าผู้ป่วยมีโรคที่ควบคุมได้ดีเพียงพอที่จะให้หยุดยาชั่วคราวได้ โดยโรคไม่กำเริบ หรือกำเริบไม่รุนแรงจนเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย หากแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าการหยุดยาอาจทำให้โรคกำเริบจนถึงอันตรายแก่ผู้ป่วย ไม่ควรแนะนำให้หยุดยาหรือเลื่อนยากดภูมิการพิจารณาหยุดยาหรือเลื่อนการให้วัคซีนขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลและการตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยเป็นกรณีๆ ไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะโรค จำนวนและขนาดยาที่ใช้ในขณะนั้น

 

ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง