รีเซต

บ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19 ปลูกผักและสมุนไพร กิน-ใช้-สร้างรายได้ครัวเรือน

บ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19 ปลูกผักและสมุนไพร กิน-ใช้-สร้างรายได้ครัวเรือน
77ข่าวเด็ด
29 มิถุนายน 2563 ( 12:13 )
455
บ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19 ปลูกผักและสมุนไพร กิน-ใช้-สร้างรายได้ครัวเรือน

   มหาสารคาม –  รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรติดตามโครงการบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด -19 ณ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 7 จังหวัดมหาสารคาม

 

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และภาคการเกษตรของประเทศ ยังกระทบไปถึงภาคธุรกิจ และแรงงานที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง   จากมาตรการเร่งด่วนในการควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ส่งผลให้เกิดปัญหาการกระจายสินค้า และเกิดการขาดแคลนพืชอาหารเพื่อการบริโภค​​  กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดทำโครงการ “โครงการบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด – 19” เพื่อเป็นมาตรการเสริมในการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว

 

​​   

ณ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 7 จังหวัดมหาสารคาม นายชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ติดตามการดำเนินงานโครงการบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิต สู้โควิด- 19 พร้อมทั้งให้แนวทางในการดำเนินโครงการ โดยมีนายสามารถ พฤกษ์อุดม ผู้อำนวยการศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 7 จังหวัดมหาสารคาม และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ

 

สำหรับ “โครงการบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19” เป็นมาตรการเสริมในการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบมีพืชอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน พร้อมสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชน ตลอดจนการแก้ปัญหาการขาดแคลนพันธุ์พืชพันธุ์ดีในท้องถิ่น พร้อมเป็นการถ่ายทอดความรู้การปลูกพืชผักและพืชสมุนไพรให้กับเกษตรกรและเป็นจุดเรียนรู้การปลูกพืชผักและสมุนไพร

โดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 7 จังหวัดมหาสารคาม ในการผลิตต้นพันธุ์พืชผักและพืชสมุนไพร จำนวน 314,048 ต้น ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร, มะละกอ, พริก, มะเขือ, มะรุม, ผักหวานบ้าน, กะเพรา และแคบ้าน สนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จำนวน 19,512 ครัวเรือน ในพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด คือ จังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และจังหวัดมุกดาหาร รวม 58 อำเภอ รวมต้นพันธุ์พืชผักและพืชสมุนไพร จำนวนกว่า 300,000 ต้น โดยมีแผนการจัดส่งพันธุ์พืชสนับสนุนพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน – 20 กรกฎาคม 2563

ข่าวที่เกี่ยวข้อง