รีเซต

สรุปเงื่อนไข "รวมหนี้-รีไฟแนนซ์" รวมหนี้บัตรเครดิต หนี้เงินกู้ สินเชื่อบ้าน เป็นก้อนเดียว ลดดอกเบี้ย ไม่เสียเครดิต

สรุปเงื่อนไข "รวมหนี้-รีไฟแนนซ์" รวมหนี้บัตรเครดิต หนี้เงินกู้ สินเชื่อบ้าน เป็นก้อนเดียว ลดดอกเบี้ย ไม่เสียเครดิต
Ingonn
25 พฤศจิกายน 2564 ( 15:44 )
8.4K
1
สรุปเงื่อนไข "รวมหนี้-รีไฟแนนซ์" รวมหนี้บัตรเครดิต หนี้เงินกู้ สินเชื่อบ้าน เป็นก้อนเดียว ลดดอกเบี้ย ไม่เสียเครดิต

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ออกมาตรการแก้หนี้ระยะยาว ด้วยการ "รีไฟแนนซ์" และ "รวมหนี้" โดยรวมหนี้สินเชื่อบ้านกับสินเชื่อรายย่อยเข้าเป็นหนี้ก้อนเดียวกัน เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวด โดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านจะไม่เพิ่มจากเดิม แต่สินเชื่อรายย่อยอื่นๆ เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลต่างๆ จะมีอัตราดอกเบี้ยรวมสินเชื่อบ้าน +2% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อรายย่อยโดยทั่วไป

 

วันนี้ TrueID จึงจะพามาเปิดเงื่อนไข หลักเกณฑ์มาตรการ "รีไฟแนนซ์" และ "รวมหนี้" ว่ามีประโยชน์อย่างไรกับคนที่กำลังเป็นหนี้ และต้องปิดหนี้ ทั้งหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อ หรือหนี้อื่นๆ ต้องทำอย่างไรบ้าง

 

 

มาตรการรวมหนี้ มีอะไรบ้าง

1. ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ เป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566


2. ปรับปรุงแนวทางการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) โดยขยายขอบเขตให้สามารถรวมหนี้ข้ามสถาบันการเงินและ/หรือผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้ จากเดิมที่สามารถรวมหนี้ได้เฉพาะหนี้ในสถาบันการเงินเดียวกัน 

 

เงื่อนไข "ดอกเบี้ย" มาตรการรวมหนี้

1.สถาบันการเงินมีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้นได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม 


2.กรณีที่รับโอนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (refinance) มาจากสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ได้ 


3.สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ด้วย ให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นอัตราที่ใช้หลังการส่งเสริมการขาย (teaser rate) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อรายย่อยโดยทั่วไปอย่างมีนัย 

 

รูปแบบการรวมหนี้

1.รวมหนี้ภายในธนาคารเดียวกัน เช่น หนี้บ้าน+หนี้บัตรเครดิต

2.โอนหนี้บัตรจากธนาคารหนึ่ง ไปรวมกับหนี้บ้านของอีกธนาคารหนึ่งได้ หรือโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรเครดิตได้

3.โอนหนี้จากธนาคาร A และ ธนาคาร B ไปรวมหนี้ ธนาคาร C ก็ทำได้

 

ประโยชน์ของการรวมหนี้

1.อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยลดลงเมื่อนำมารวมหนี้ ลูกหนี้จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น

2.ชำระหนี้ง่ายขึ้น เพราะเหลือหนี้เดียวและอัตราดอกเบี้ยรายเดียว

3.ลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต หากเจรจาปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสีย

 

ข้อควรรู้ "มาตรการรวมหนี้" สำหรับลูกหนี้

1.ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ได้ไม่เกินมูลค่าของหลักประกัน หากยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยสูงกว่ามูลค่าหลักประกัน สามารถขอร่วมหนี้บางส่วนได้

2.ลูกหนี้ต้องให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้คงค้าง แก่ธนาคารที่ทำการรวมหนี้

3.ลูกหนี้อาจถูกพิจารณาปรับลดวงเงินส่วนที่นำไปรวมหนี้ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการได้

 

ประโยชน์ของการรีไฟแนนซ์ 

1.ไม่ถูกเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2566 สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์

2.สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ห้ามเรียกเก็บ prepayment fee หลังจาก 3 ปีไปแล้ว

3.สินเชื่อประเภทอื่น ๆ ประกอบด้วย สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ, สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล และสินเชื่ออุปโภคบริโภค เช่น สินเชื่อสวัสดิการ สินเชื่อที่มีหลักประกันอื่น ๆ ห้ามเรียกเก็บ prepayment fee ใดๆทั้งสิ้น

 

ข้อควรรู้ "การรีไฟแนนซ์บ้าน" สำหรับลูกหนี้

หากสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยให้ลูกหนี้รีไฟแนนซ์ออกไป หรือออกไปเพื่อรวมหนี้แห่งอื่นแบงก์ชาติ ยืนยันสถาบันการเงินไม่มีสิทธิปฏิเสธ ถ้าเกิดกรณีนี้ให้ลูกหนี้โทรมาแจ้งได้ที่เบอร์ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร.1213

 

แบงก์ชาติได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแล ทั้งการจัดชั้นหนี้ การกันเงินสำรอง และการดำรงเงินกองทุน เพื่อลดต้นทุนให้กับสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ สำหรับการรวมหนี้ที่ดำเนินการภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการดังกล่าว

 

คาดว่าสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะทยอยเสนอผลิตภัณฑ์การรวมหนี้ได้ภายในสิ้นเดือน ธ.ค. 2564 โดยลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงินโดยตรงเพื่อสมัครเข้าร่วมมาตรการ 

 

 

 

ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) , เดลินิวส์

 

 

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง