รีเซต

'เมย์แบงก์' ส่อง KKP ชี้โอกาสเข้าซื้อ พื้นฐาน 88 บ.

'เมย์แบงก์' ส่อง KKP  ชี้โอกาสเข้าซื้อ พื้นฐาน 88 บ.
ทันหุ้น
27 มิถุนายน 2565 ( 11:11 )
221
'เมย์แบงก์' ส่อง KKP  ชี้โอกาสเข้าซื้อ พื้นฐาน 88 บ.

บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ส่องหุ้น บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KKP มองว่าให้ผลตอบแทน (risk-adjusted return) สูงกว่า TISCO (ซื้อ CP 89.5 บาท ราคาเป้าหมาย 110 บาท) เนื่องจากการเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่งและ valuation ที่น่าสนใจ ในส่วนการดำเนินงานของธนาคารของ KKP ดูเหมือนจะตามหลัง TISCO แต่ gap เริ่มจะแคบลงและชดเชยด้วยการเป็นผู้นำที่ชัดเจนในตลาดทุน ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าการประเมินราคาหุ้นที่ต่ำไปของ KKP เป็นโอกาสในการเข้าซื้อ โดยหุ้น KKP (PER 7.5 เท่า) ซื้อขายที่ราคาถูกกว่า TISCO (10x PER) อยู่ 25% ในแง่ของ PER แนะนำ ซื้อ TP88 บาท (P/BV ปี 65 ที่ 1.3 เท่า ROE 12.9%)

 

การเติบโตของสินเชื่อที่มีหลักประกันหนุนคุณภาพสินทรัพย์ สินเชื่อของ KKP เติบโตแข็งแกร่งที่ 12% ต่อปี และฐานสินทรัพย์ในธุรกิจบริหารความมั่งคั่งเติบโต 14% ต่อปีในช่วงห้าปีที่ผ่านมา การเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่งช่วยหนุนการเติบโตของ PPoP โดย PPoP ของ KKP อยู่ที่ 3.6 พันล้านบาทในไตรมาส 1/65 มากกว่าของ TISCO 1.5 เท่า คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้นหลังเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ไปสู่สินเชื่อองค์กรและสินเชื่อ SME ขนาดเล็ก ฝ่ายวิจัยไม่ค่อยกังวลเรื่องขาดทุนจากการขายรถยึด เนื่องจาก KKP ได้เร่งขายในปี 2563-2564 จากการตรวจสอบของฝ่ายวิจัยพบว่าราคารถยนต์มือสองยังคงสูง เนื่องจากอุปสงค์ที่มากกว่าอุปทาน คาดว่าต้นทุนสินเชื่อจะลดลงมาอยู่ที่ 1.9% ในปี 2565 จาก 2.5% ในปี 2564 เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมเริ่มใหม่และ NPL coverage ที่สูง (181% ในไตรมาส 1/65)

 

กระจายรายได้ระหว่างธุรกิจธนาคาร-ตลาดทุน การกระจายรายได้ระหว่างธนาคารและตลาดทุนจะช่วยลดดาวน์ไซด์ต่อกำไร ตลาดหุ้นทั่วโลกที่อ่อนแออาจส่งผลให้การขายผลิตภัณฑ์ offshore ที่มีค่าธรรมเนียมสูงทำได้ยากขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ แต่ฝ่ายวิจัยเชื่อว่า KKP เดินมาถูกทางในการขยายฐานสินทรัพย์ในธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง ซึ่งมีรายได้ประจำที่ดี ความสามารถในการทำกำไรสูงโดยไม่มีความเสี่ยงต่อ NPL และความต้องการเงินทุนต่ำ ทั้งนี้ ฐานสินทรัพย์ของ KKP ในธุรกิจบริหารความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 14% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจาก 3.79 แสนล้านบาทในปี 2559 เป็น 7.34 แสนล้านบาทในปี 2564 ธุรกิจ IB อาจล่าช้าจากตลาดทุนที่ผันผวน แต่แผนงานยังคงแน่นปึ้ก  

 

คาดกำไร Q2/65 เพิ่มขึ้น 30% YoY จากค่าใช้จ่ายสำรองที่ลดลง โดยคาดว่ากำไรจะเติบโต 30% YoY (จาก NII ที่สูงขึ้นและต้นทุนสินเชื่อที่ลดลง) แต่ลดลง 14% QoQ (จาก non-niiที่ลดลง) เป็น 1.8 พันล้านบาทใน Q2/65 คาดเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น 21% YoY และ 4% QoQโดยได้แรงหนุนจากสินเชื่อเช่าซื้อ (HP) สินเชื่อจำนองและสินเชื่อองค์กรที่โตแกร่ง ฝ่ายวิจัยจึงคาดว่า NII จะเติบโต 16% YoY Non-NII ลดลง 7% เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่ลดลงจากตลาดทุน อัตราส่วน NPL คาดว่าจะทรงตัว QoQที่ 2.85% ในไตรมาส 2/65 และคาดว่า KKP จะมี ECL ลดลงที่ 176bp ใน 2Q65 เทียบกับ 257bp ในไตรมาส 2/64 เนื่องจาก NPL coverage สูงและคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง