รีเซต

กางปฎิทิน 100 ปี วันลอยกระทง ตรง วันฮาโลวีน โคจรมาพบกันแล้วหลายครั้ง!

กางปฎิทิน 100 ปี วันลอยกระทง ตรง วันฮาโลวีน โคจรมาพบกันแล้วหลายครั้ง!
TNN ช่อง16
29 ตุลาคม 2563 ( 14:57 )
1.1K
กางปฎิทิน 100 ปี วันลอยกระทง ตรง วันฮาโลวีน โคจรมาพบกันแล้วหลายครั้ง!

ลอยกระทง เดิมเชื่อกันว่า แรกเริ่มเดิมทีมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทมซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่าง ๆ  ในสมัยรัชกาลที่  3

ประเพณีลอยกระทง กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก


ลอยกระทง จึงถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีเก่าแก่ที่สำคัญของคนไทย โดย วันลอยกระทง จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี แต่ก็มีหลายครั้งที่ตรงกับเดือนอื่นๆ

ขณะที่ปีนี้ วันลอยกระทง ก็ถือว่าพิเศษยิ่งกว่าปีไหนๆ เนื่องจากยังได้ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม ซึ่งตรงกับ วันฮาโลวีน (Halloween) เทศกาลเฉลิมฉลองแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจของประเทศทางตะวันตก แต่รู้หรือไม่ว่า ไม่ใช่แค่ปีนี้ ที่วันลอยกระทงตรงกับวันฮาโลวีน แต่ยังเคยตรงวันเดียวกันหลายครั้งมาแล้วตั้งแต่อดีต


เมื่อกางปฏิทิน 100 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2400 - 2584 จะพบว่า "วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12" ตามปฏิทินจันทรคติ หรือ "วันลอยกระทง" นั้น ได้ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 7 ครั้ง ด้วยกัน ดังนี้

- วันจันทร์ ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2430 ปีกุน หรือตรงกับปี ค.ศ.1887

- วันพุธ ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2449 ปีมะเมีย หรือตรงกับปี ค.ศ.1906

- วันเสาร์ ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2468 ปีฉลู หรือตรงกับปี ค.ศ.1925

- วันอาทิตย์ ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2525 ปีจอ หรือตรงกับปี ค.ศ.1982

- วันพุธ ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ปีมะเส็ง หรือตรงกับปี ค.ศ.2001

- วันเสาร์ ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ปีชวด หรือตรงกับปี ค.ศ.2020

- วันจันทร์ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2582 ปีมะแม หรือตรงกับปี ค.ศ.2039


เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องมาจากการนับเวลาสุริยคติและจันทรคติ โดยแต่เดิมประเทศไทยจะใช้วันเวลาทางจันทรคติในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยใช้เวลาตามที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก เริ่มต้นนับเดือนจันทรคติตั้งแต่ ขึ้นค่ำหนึ่ง สองค่ำ สามค่ำ ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำ เรียกว่า "วันเพ็ญ"

จากนั้น นับต่อด้วย แรมค่ำหนึ่ง สองค่ำ สามค่ำ ไปจนถึงแรม 15 ค่ำ เรียกว่า "วันเดือนดับ" เมื่อนับจนครบ จะรวมเป็น "เดือนหนึ่ง"

เนื่องจากดวงจันทร์หมุนรอบโลกหนึ่งรอบเป็นเวลา 29 วันครึ่ง หรือสองรอบจะได้ประมาณ 59 วัน จึงกำหนดเดือนทางจันทรคติให้มี 29 วันใน "เดือนคี่" และ 30 วัน ใน "เดือนคู่" เมื่อครบสองเดือน จึงรวมเป็น 59 วันพอดี ตรงกับข้างขึ้น และข้างแรมตามเวลาตามจันทรคติในปฏิทิน 1 ปี มี 12 เดือน เท่ากับ 354 วัน


ขณะเดียวกัน เมื่อเทียบกับปฏิทินสากล ซึ่งใช้วันเวลาแบบสุริยคติ  คือ วันเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบเท่ากับ 365 1/4 วัน จึงสั้นไป 11 วันเศษ ดังนั้นใน 3 ปี จึงเพิ่มเดือนพิเศษอีก 1 เดือน ที่หลังเดือน 8 เรียกว่า เดือน 8 หลังมี 30 วัน ทำให้ปีจันทรคติที่มี 13 เดือน หรือ 384 วัน เป็นปีอธิกมาส (ปีทางจันทรคติที่มีเดือน 8 สองหน คือมีเดือนแปด (88) เพิ่มมาอีก 1 เดือน รวมเป็น 13 เดือน เป็นการทดให้เดือนทางจันทรคติกับสุริยคติมีความสมดุลกัน)

และในรอบ 19 ปีทางจันทรคติ จะเพิ่มวันพิเศษอีก 1 วัน ในเดือนเจ็ดทำให้มี 30 วัน จากเดิมปกติเดือนคี่มี 29 วัน เรียกว่า ปีอธิกวาร เป็นปีทางจันทรคติที่เดือน 7 ซึ่งเป็นเดือนขาด มีวันเพิ่มอีก 1 วัน เป็น 30 วัน คือมีข้างขึ้น 15 วัน และข้างแรม 15 วัน ดังนั้น ก็จะทำให้เวลาทางจันทรคติตามทันเวลาทางสุริยคติ

ส่วนวันเวลาตามแบบสุริยคติซึ่งเป็นปีที่ตรงตามฤดูกาล ปีปกติมี  365 วัน หรือ 12 เดือน ในหนึ่งเดือนมี 28 , 30 , 31 วัน ในทุก 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน เพิ่มขึ้น 1 วัน ปีนั้นมี 366 วัน เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง