ไทยทดสอบหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้า ฝีมือจีน
กรุงเทพฯ, 12 ม.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันพุธ (11 ม.ค.) การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการทดสอบเดินเครื่องหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่คันแรก ซึ่งผลิตโดยบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ต้าเหลียน จำกัด ณ สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งถือเป็นหมุดหมายการปรับปรุงบริการรถไฟควบคู่กับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย กล่าวว่าไทยกำลังส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในระบบขนส่งของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามบรรลุการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายปีลงร้อยละ 20-25 ภายในปี 2030 พร้อมยกย่องความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทยกับจีนศักดิ์สยามระบุว่าไทยและจีนดำเนินความร่วมมือพัฒนารถไฟในหลากหลายด้าน และไทยหวังจะพัฒนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีรถไฟกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก
รวมถึงจีน โดยความสำเร็จของการทดสอบครั้งนี้ถือเป็นความก้าวหน้าสำคัญในโครงการหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการพัฒนาหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นส่วนหนึ่งในแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการรถไฟของไทยอนึ่ง หัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ได้รับการพัฒนาร่วมกันโดยซีอาร์อาร์ซี ต้าเหลียน และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
อมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯ เผยว่าหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ผลิตในจีนด้วยเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ช่วยตอบสนองความต้องการของไทยในด้านต้นทุนการผลิต รวมถึงข้อกำหนดอนุรักษ์พลังงานและลดการปล่อยมลพิษของรัฐบาลไทยด้านซีอาร์อาร์ซี ต้าเหลียน ระบุว่าหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทั่วไปโดยอิงจากหัวรถจักรดั้งเดิมของไทย โดยหัวรถจักร 6 เพลาสามารถลากรถไฟสินค้าขนาด 2,500 ตัน ด้วยความเร็ว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือรถไฟโดยสารขนาด 1,000 ตัน ด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
(แฟ้มภาพซินหัว : หัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่คันแรก ซึ่งผลิตโดยบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ต้าเหลียน จำกัด จอดที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ในกรุงเทพฯ วันที่ 11 ม.ค. 2023)