รีเซต

บลูบิค เปิดทริคใช้เทคโนโลยี สร้างโอกาสหลังวิกฤตโควิด-19

บลูบิค เปิดทริคใช้เทคโนโลยี สร้างโอกาสหลังวิกฤตโควิด-19
มติชน
6 กรกฎาคม 2563 ( 13:27 )
124
บลูบิค เปิดทริคใช้เทคโนโลยี สร้างโอกาสหลังวิกฤตโควิด-19

บลูบิค (Bluebik) ชี้วิกฤตเศรษฐกิจถดถอยหลังสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดช่องว่างการตลาด ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้เล่นรายใหม่เช่นเดียวกับวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 อีกทั้งยังเกิดปรากฏการณ์ดิจิทัล ดิสรัปชั่น และแนวโน้มการขยายธุรกิจข้ามอุตสาหกรรมอย่างเด่นชัด

นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกรวมถึงเศรษฐกิจประเทศไทย จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) พบว่าจีดีพี ปี 2563 ของทั้งโลกมีโอกาสติดลบ 4.9% และประเทศไทยมีโอกาสติดลบ 7.7% ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ที่ลดลงในภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่เป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ในขณะเดียวกันยังเปิดทางให้ผู้เล่นรายใหม่ได้พลิกวิกฤตสู่โอกาสจากช่องว่างทางการตลาดที่เกิดขึ้น หากสามารถปรับตัวรับมือกับวิกฤตได้

“จากวิกฤตพบว่ามีธุรกิจบางส่วนที่หยุดชะงัก แต่ยังมีธุรกิจอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถคว้าโอกาสและขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปได้ โดยสรุปโอกาสทางธุรกิจออกเป็น 4 ปัจจัย ดังนี้ 1.ช่องว่างทางการตลาดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ทำให้ผู้เล่นรายใหม่สามารถแจ้งเกิดได้ ประกอบกับอุปสงค์ใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและธุรกิจที่เกี่ยวข้องเติบโตอย่างก้าวกระโดด 2.ดิจิทัล ดิสรัปชั่น เป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจในระยะยาว เมื่อผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินกับแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้ประกอบการจึงมีโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ได้มากขึ้น ซึ่งไร้ข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่ 3.การขยายธุรกิจข้ามอุตสาหกรรม เป็นการขยายโอกาสเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และเพิ่มฐานลูกค้าระหว่างผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม เกิดเป็นความร่วมมือที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจได้อย่างหลากหลายมิติมากขึ้น 4.กฎหมายบังคับใช้ใหม่ ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือของภาคธุรกิจในการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งสามารถเตรียมความพร้อมในการนำข้อมูลผู้บริโภคไปใช้ต่อยอดทางธุรกิจ อาทิ ภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่งส่งผลต่อแนวทางการปฏิบัติด้านข้อมูล หากธุรกิจปรับตัวได้เร็วเท่าใดก็จะเกิดโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น” นายพชรกล่าว

นายพชรกล่าวเพิ่มเติมว่า จากปัจจัยข้างต้น การค้นหาโอกาสและทางรอดในยุคเศรษฐกิจผันผวน คือกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรที่ช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจและภาครัฐฯให้ฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 และเตรียมพร้อมรับมือหากเกิดการระบาดระลอก 2 ฉะนั้นองค์กรต้องเตรียมความพร้อม ด้วย 4 แนวทาง ดังนี้

1.ค้นหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ (New S-Curve) หรือสร้างธุรกิจใหม่ (New Venture Creation) องค์กรควรเตรียมธุรกิจให้พร้อมในช่วงนี้ เพื่อหวังสร้างผลกำไรยามเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติ เพราะหากธุรกิจสามารถอยู่รอดและมีกลยุทธ์ที่ดี จะกลายเป็นอีกผู้เล่นหนึ่งที่น่าจับตา

2.นำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาปรับใช้ (Digital Platform) 3.ลดต้นทุน (Cost) และเพิ่มความยืดหยุ่น (Flexibility) องค์กรควรแปลงค่าใช้จ่ายจากต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) สู่ต้นทุนแปรผันตามรายได้ (Variable Cost) ทั้งด้านบุคลากรและเทคโนโลยีที่สามารถเลือกใช้บริการได้ตามต้องการเพื่อบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ (Partnership) องค์กรควรขยายโอกาสในการทำธุรกิจและปรับกลยุทธ์ในการขยายกิจการทั้งแนวตั้งและแนวนอน

สำหรับแนวทางการให้บริการครึ่งปีหลังของ Bluebik เน้นให้ความช่วยเหลือองค์กรธุรกิจและภาครัฐในการวางกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ใน 4 เรื่องหลักข้างต้น ประกอบด้วย 1.การลดต้นทุน (Cost Reduction) และเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ (Flexibility) 2.การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ (Business Transformation) และการหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ (New S-Curve) 3.การสร้างธุรกิจใหม่ (New Venture Creation) และ 4.การส่งเสริมการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด (Compliance Services) เช่น การบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.การลดต้นทุน (Cost Reduction) และเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ (Flexibility) Bluebik สามารถช่วยลูกค้าลดต้นทุนได้ด้วยการให้บริการด้าน Outsourcing เช่น การบริหารงานด้านระบบสารสนเทศ (IT Outsourcing) และการบริหารจัดการโครงการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Project Management Officer-PMO) ที่เป็นงานที่ต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก ซึ่งไม่คุ้มค่าในการจ้างเป็นพนักงานประจำ เพราะจะเกิดเป็นต้นทุนระยะยาว หรือการออกแบบและวางระบบคลาวด์ (Cloud Implementation) รวมทั้งบริการย้ายระบบขึ้นคลาวด์ (Cloud Migration) ที่ช่วยประหยัดเวลาและยืดหยุ่นด้านค่าใช้จ่าย

2.การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ (Business Transformation) และการหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ (New S-Curve) Bluebik มีความเชี่ยวชาญในการวางกลยุทธ์สำหรับธุรกิจใหม่ (New Business Strategy) และทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ตามลักษณะหรือประเภทธุรกิจของลูกค้าแต่ละราย รวมถึงให้บริการออกแบบประสบการณ์ลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital Customer Experience Design) ให้ตอบรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

3.การสร้างธุรกิจใหม่ (New Venture Creation) Bluebik มีบริการช่วยลูกค้าที่สนใจขยายการลงทุนหรือสร้างธุรกิจใหม่ เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันจากธุรกิจเดิม โดยทำหน้าที่คิดค้นกลยุทธ์เพื่อสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจร่วมกันระหว่างพันธมิตร และลูกค้า

4.การส่งเสริมการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด (Compliance Services) Bluebik มีบริการช่วยเหลือธุรกิจในการเตรียมความพร้อมรับมือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และการออกแบบธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) รวมทั้งให้บริการที่ปรึกษา ทบทวนและวางแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan-BCP)

ด้านนายปกรณ์ เจียมสกุลทิพย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี Chief Technology Officer (CTO) บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า ในเวลาวิกฤตเช่นนี้ ทุกคนต้องเร่งปรับตัว โดยจะเห็นเทรนด์เทคโนโลยีเด่นๆ บางอย่างที่จะตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) อาทิ การสร้างโอกาสจากข้อมูลที่อยู่บนช่องทางออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจได้ใช้ประโยชน์จาก Big Data เพื่อรองรับการเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลและนำมาต่อยอดทางธุรกิจได้ รวมถึงเทคโนโลยีไร้การสัมผัส (Contactless Technology) ซึ่งรวมไปถึงระบบการรับชำระเงิน (Cashless Payment Solution) ที่จะถูกนำมาใช้กับผู้ให้บริการด้านต่างๆ อาทิ ร้านค้าปลีก ระบบขนส่งมวลชน ระบบการจอดรถ ฯลฯ โดยเทคโนโลยีดังกล่าว นอกจากจะสามารถนำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกต่อธุรกิจและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคอีกด้วย นายปกรณ์ระบุเพิ่มเติมว่า ทักษะด้านดิจิทัลถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้บุคลากรทันต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการทำงาน และอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญที่สุดของการปรับตัวด้านดิจิทัลก็คือ ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) ที่สามารถนำเสนอรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่ช่วยสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจของตนอีกด้วย

นายปกรณ์ยังชี้ให้เห็นถึงความท้าทายในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขององค์กร 2 ประเภท คือองค์กรที่ยังไม่พร้อมในการปรับใช้เทคโนโลยี ควรมองหาผู้ช่วยหรือที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการวางแผนเพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ เนื่องจากหากทำเองอาจทำให้เริ่มต้นผิดจุดและมีค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล รวมทั้งมีต้นทุนค่าเสียโอกาสเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience-UX) และการออกแบบอินเตอร์เฟซเพื่อติดต่อกับผู้ใช้งาน (User Interface-UI) ในทางกลับกัน องค์กรที่มีความพร้อม อาจมองหาเครื่องมือที่เข้ามาช่วยทำให้ระบบการทำงานภายในเป็นอัตโนมัติมากขึ้น รวมทั้งควรนำแนวคิดการทำงานแบบ DevOps (การทำงานร่วมกันระหว่างทีมผู้พัฒนาและทีมปฏิบัติการให้ทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการ) และแนวคิดการทำงานแบบ CI/CD (Continuous Integration / Continuous Deployment-กระบวนการในการทำงานในด้านพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อลดระยะเวลาในการพัฒนา รวมทั้งรองรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ง่าย เนื่องจากมีการดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและเป็นไปอย่างอัตโนมัติและทราบผลลัพธ์ได้ทันที) มาปรับใช้เพื่อทำให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์สู่ตลาดได้รวดเร็วมากขึ้น

นางฉันทชา สุวรรณจิตร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Chief Operation Officer (COO) บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด กล่าวเสริมว่า นอกเหนือจากการให้บริการที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และที่ปรึกษาด้านไอทีแล้วนั้น ในปีนี้บริษัทยังมุ่งเน้นช่วยลูกค้าในการปรับตัวเพื่อรองรับความปกติใหม่ (New Normal) เพื่อให้กระบวนการทางธุรกิจของลูกค้ามีความเชื่อมโยงและสมดุลมากขึ้นทั้งในส่วนของกระบวนการหน้าบ้านและกระบวนการหลังบ้านจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยการปรับกระบวนการทางธุรกิจนั้นจะช่วยให้องค์กรของลูกค้าไปสู่ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน Operational Excellence ภายใต้ 3 วัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ กระบวนการการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด รวมทั้งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง