รีเซต

‘ตลท.’ เล็งต่ออายุมาตรการคุมความผันผวนในตลาดหุ้นไทย ย้ำดัชนีหุ้นเดือน พ.ค. พุ่งกว่า 3.2%

‘ตลท.’ เล็งต่ออายุมาตรการคุมความผันผวนในตลาดหุ้นไทย ย้ำดัชนีหุ้นเดือน พ.ค. พุ่งกว่า 3.2%
มติชน
12 มิถุนายน 2563 ( 14:53 )
79
‘ตลท.’ เล็งต่ออายุมาตรการคุมความผันผวนในตลาดหุ้นไทย ย้ำดัชนีหุ้นเดือน พ.ค. พุ่งกว่า 3.2%

ตลท.’ เล็งต่ออายุมาตรการคุมความผันผวนในตลาดหุ้นไทย ย้ำดัชนีหุ้นเดือน .. พุ่งกว่า 3.2%

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ตลท.อยู่ในระหว่างการติดตามและประเมินภาพรวมตลาด ที่มีความผันผวนต่อเนื่อง แม้จะไม่ได้มากเท่าช่วงที่ผ่านมา โดยมีโอกาสที่ตลาดหลักทรัพย์จะขยายหลักเกณฑ์ราคาเสนอซื้อขายสูงสุดและต่ำสุด (Ceiling & Floor) และเกณฑ์ราคาเสนอขายชอร์ต (Short Sell) ที่กำหนดให้ขายชอร์ตได้ในราคาสูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Uptick) ซึ่งจะครบกำหนดกรอบเวลาของเกณฑ์ภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ สาเหตุที่อาจมีการขยายเวลาใช้เกณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากต้องการลดความผันผวนของตลาดหุ้นไทยให้เข้าสู่ภาวะปกติที่สุดก่อน โดยเบื้องต้นขณะนี้อยู่ในระหว่างการประเมินผล แต่หากมีการขยายการใช้เกณฑ์ดังกล่าวจริง น่าจะชัดเจนออกมาก่อนวันที่ 30 มิถุนายนนี้แน่นอน เนื่องจากที่ผ่านมา ตลท.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในประเด็นดังกล่าวแล้ว การขยายเวลาใช้เกณฑ์จึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาต่อไป

 

ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) ให้สามารถขยายเวลาใช้มาตรการได้อีก 3 เดือน แต่หากประเมินแล้วพบว่า ตลาดกลับมาอยู่ในช่วงปกติแล้ว และมีความมั่นใจในความผันผวนของภาพรวมตลาดแล้วว่า ไม่น่าจะมากเท่าที่ผ่านมาแล้ว ตลท.สามารถยกเลิกการใช้เกณฑ์ดังกล่าวก่อนกำหนดได้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องต่ออายุมาตรการถึง 3 เดือน แต่สิ่งที่พยายามไม่ให้เกิดขึ้นคือ หากยกเลิกการใช้เกณฑ์ดังกล่าวในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ แล้วเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาผันผวนอีกครั้ง ทำให้ต้องกลับมาใช้เกณฑ์นี้รอบใหม่ จะเป็นการกลับไปกลับมา และทำให้นักลงทุนไม่มีความมั่นใจในตลาดหุ้นไทยได้ สำหรับอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (พีอี) ที่ราคาเริ่มอยู่ในระดับที่แพงแล้ว แต่มูลค่าตลาดดังกล่าว เป็นการคำนวณจากคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทยในปี 2564 ที่ยังไม่มีการปรับประมาณการ เนื่องจากตลาดรอประเมินผลกระทบจากโควิด-19 อีกครั้งก่อน ทำให้ต้องติดตามตัวเลขประมาณการกำไรบจ. ในแต่ละเซกเตอร์อย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาพิจารณาอีกครั้งต่อไปนายภากรกล่าว

 

นายภากรกล่าวว่า สำหรับกรณีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยเหลือและดูแลหุ้นกู้ต่ำกว่าระดับลงทุน มองว่าเป็นประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ ซึ่งขณะนี้ก็มีหลายหน่วยงานพยายามเสนอแก้ปัญหาหลายวิธี อาทิ ใช้กลไลตลาดโดยประชุมผู้ถือหุ้นกู้ การยืดอายุหุ้นกู้ และทำให้ผู้ถือหุ้นกู้สามารถคงสถานะปัจจุบันได้ ส่วนแนวทางภาครัฐที่กำลังดำเนินงานคือ การจัดตั้งเป็นกองทุน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีและสำคัญ แต่ต้องพิจารณาถึงถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ออกหุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นกู้ปัจจุบัน และนักลงทุนรายใหม่ ว่าจะเกิดประโยชน์ ความเสี่ยง หรือผลกระทบอย่างไรหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายต้องช่วยคิดและเสนอความคิดเห็นร่วมกัน ในส่วนสถานะการระดมทุนเพื่อขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) ภายในวันที่ 2 กรกฎาคมนี้ จะมีบริษัทเข้ามาซื้อขายวันแรก ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากบางอุตสาหกรรม สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็ว แม้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงเริ่มเห็นการกลับเข้ามาระดมทุนในตลาดอีกครั้ง ตลท.จึงจัดเตรียมมาตรการรองรับไว้กรณีดังกล่าวไว้ อาทิ

 

ด้านนายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย สิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 ปิดที่ 1,342.85 จุด เพิ่มขึ้น 3.2% จากสิ้นเดือนเมษายน โดยกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มบริการเพิ่มขึ้นมากกว่าภาพรวมตลาด ผู้ลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทย 31,580 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมอยู่ที่ 65,031 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% จากค่าเฉลี่ยทั้งปี 2562 โดยในเดือนพฤษภาคม 2563 ตลาดหลักทรัพย์ไทยฟื้นตัวต่อเนื่องจากเดือนเมษายน สอดคล้องกับทิศทางของตลาดส่วนใหญ่ในเอเชีย ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่ดีขึ้น รวมถึงการผ่อนคลายกิจกรรมและกิจการต่างๆ ในระยะที่ 2-3 และการปรับเพิ่มจำนวนหุ้นไทยในดัชนีราคาหุ้นชั้นนำของโลก (เอ็มเอสซีไอ) ส่วนปัจจัยภายนอกที่ผู้ลงทุนควรติดตามที่สำคัญได้แก่ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งอาจขยายขอบเขตไปเป็นสงครามการค้า (เทรดวอร์) รอบ 2 ได้ ท่ามกลางความพยายามในการฟื้นเศรษฐกิจโลกภายหลังโควิด-19 คลายตัวลง

//////

ข่าวที่เกี่ยวข้อง