รีเซต

วิจัยชี้ 'เขตสิ่งมีชีวิต' โลกกำลังเปลี่ยนไป ผลกระทบอาจเพิ่ม 3 เท่าภายใน 50 ปี

วิจัยชี้ 'เขตสิ่งมีชีวิต' โลกกำลังเปลี่ยนไป ผลกระทบอาจเพิ่ม 3 เท่าภายใน 50 ปี
Xinhua
17 พฤศจิกายน 2564 ( 10:57 )
48
วิจัยชี้ 'เขตสิ่งมีชีวิต' โลกกำลังเปลี่ยนไป ผลกระทบอาจเพิ่ม 3 เท่าภายใน 50 ปี

ซิดนีย์, 16 พ.ย. (ซินหัว) -- ผลการศึกษาฉบับใหม่ของคณะนักวิจัยชาวออสเตรเลียเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อ "เขตสิ่งมีชีวิต" (life zone) ของโลกแล้ว และผลกระทบของมันจะเพิ่มขึ้น 3 เท่าในช่วงหลายสิบปีข้างหน้านี้ เนื่องจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ยังเติบโตต่อเนื่อง

 

เมื่อวันอังคาร (16 พ.ย.) ผลการศึกษาซึ่งได้รับการเผยแพร่ในวารสาร โกลบอล เชนจ์ ไบโอโลจี (Global Change Biology) ระบุว่าคณะนักวิจัยได้ประเมินผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อเขตสิ่งมีชีวิต 45 เขตในทั่วโลก ซึ่งถูกกำหนดตามความแตกต่างของอุณหภูมิ ปริมาณหยาดน้ำฟ้า (ฝน หิมะ และลูกเห็บ) ความแห้งแล้ง สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศภายในเขตเจมส์ วัตสัน นักวิทยาศาสตร์การอนุรักษ์ ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (UQ) ในออสเตรเลียระบุว่า การศึกษาพบว่ามวลแผ่นดินของโลกได้รับความเสียหายแล้วราวร้อยละ 18.3 โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นในป่าเขตหนาว ป่าสนเขตอบอุ่น และระบบของป่าสนเขตร้อนในซีกโลกเหนือสิ่งนี้หมายความว่าแนวพรมแดนระหว่างแต่ละเขตเคลื่อนตัวไปทางขั้วโลกและยกตัวสูงขึ้น ทำให้เขตที่มีภูมิอากาศเขตร้อนขยายตัวกว้างขึ้น ขณะที่เขตที่มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นหดตัวลง กล่าวง่ายๆ คือภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่กว่า กำลังมีอากาศร้อนและแห้งแล้งยิ่งขึ้นวัตสันระบุว่างานวิจัยฉบับนี้เป็นคำเตือนว่าหากมนุษย์ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนในระดับนี้ต่อไป โลกอาจต้องเผชิญกับหายนะ โดยผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศอาจเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ในเขตสิ่งมีชีวิตทุกแห่งใน 50 ปีข้างหน้า"การเปลี่ยนแปลงของเขตสิ่งมีชีวิตที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น จะเป็นอุปสรรคต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของมนุษยชาติ เขตสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ให้นิเวศบริการ หรือประโยชน์ที่มนุษย์ต้องพึ่งพาจากระบบนิเวศ และเมื่อเขตเหล่านี้เปลี่ยนไป มนุษย์ก็จะไม่สามารถพึ่งพิงประโยชน์เหล่านี้ได้อีก"คณะนักวิจัยยกตัวอย่างผลกระทบเชิงลบของปรากฎการณ์นี้ อาทิ การเสื่อมถอยของการประมง การถ่ายละอองเรณู และแหล่งน้ำสะอาด โดยวัตสันระบุว่าปรากฎการณ์นี้ย้ำถึงความสำคัญของการลดปริมาณการปล่อยก๊าซให้เร็วที่สุด และการวางแผนปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศโดยทันที

ข่าวที่เกี่ยวข้อง