รีเซต

วิจัยชี้อาหารขยะทำโครโมโซมแก่ไว

วิจัยชี้อาหารขยะทำโครโมโซมแก่ไว
มติชน
1 กันยายน 2563 ( 09:16 )
98

ผลวิจัยที่นำมาเผยแพร่ผ่านการประชุมทางด้านการแพทย์ในการประชุมว่าด้วยโรคอ้วนของยุโรปและนานาชาติบ่งชี้ว่า ผู้คนที่รับประทานอาหารขยะที่ผ่านกระบวนการผลิตในแบบอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับโครโมโซมซึ่งเชื่อมโยงกับการแก่ชรารวดเร็วขึ้น

 

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าการรับประทานอาหารแปรรูป 3 มื้อหรือมากกว่าต่อวันจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับเทโลเมอเรสมากกว่า 2 เท่า และทำให้เทโลเมอเรสของผู้ที่รับประทานอาหารที่ผ่านการแปรรูปสั้นกว่าผู้ที่ไม่ได้ทานอาหารแบบเดียวกัน

 

ทั้งนี้เทโลเมอเรสเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้เทโลเมียร์ซึ่งเป็นปลอกหุ้มโครโมโซมยาวขึ้น เนื่องจากเทโลเมียร์เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยปกป้องสารพันธุกรรมในโครโมโซมให้ปลอดภัย โดยนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เชื่อว่าการรักษาเทโลเมียร์คือหัวใจของการชะลอวัยนั่นเอง

 

การที่เทโลเมอเรสสั้นลงจะทำให้อายุของร่างกายในระดับเซลล์แก่กว่าอายุขัยที่แท้จริง โดยผลการศึกษาดังกล่าวสรุปว่าการรับประทานอาหารถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้อายุของเซลล์แก่เร็วกว่าอายุที่แท้จริง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง