รีเซต

วิจัยพบที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ตอนกลาง เคยเป็นจุดแลกเปลี่ยนพืชพันธุ์ระดับโลก

วิจัยพบที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ตอนกลาง เคยเป็นจุดแลกเปลี่ยนพืชพันธุ์ระดับโลก
Xinhua
17 สิงหาคม 2565 ( 10:34 )
85

ปักกิ่ง, 16 ส.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน เปิดเผยว่าพื้นที่ตอนกลางของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต เคยเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนพืชพันธุ์ที่มีนัยสำคัญระดับโลกเมื่อหลายสิบล้านปีก่อน

 

ความร่วมมือระหว่างคณะนักวิจัยของจีนและกลุ่มมหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักร นำสู่การค้นพบฟอสซิลฝักโพโดคาเพียม (Podocarpium) พืชสูญพันธุ์ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) จากยุคอีโอซีน (Eocene) ตอนปลายในพื้นที่ตอนกลางของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตการค้นพบดังกล่าวบวกกับฟอสซิลหลายชิ้นก่อนหน้านี้บ่งชี้ว่าโพโดคาเพียมอาจมีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออก และกระจายสู่หุบเขาตอนกลางของเขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนในยุคอีโอซีนตอนปลาย ก่อนกระจายต่อไปทางตะวันตกสู่ยุโรปสถาบันฯ ระบุว่ารูปแบบการกระจายตัวข้างต้นของโพโดคาเพียมมีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างมากนอกจากนั้นการค้นพบนี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่าพื้นที่ตอนกลางของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตในปัจจุบันเคยเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนพืชพันธุ์ที่มีนัยสำคัญระดับโลกในยุคพาลีโอจีน (Paleogene)อนึ่ง การค้นพบนี้เผยแพร่ผ่านบทความในวารสารทบทวนทางบรรพพฤกษศาสตร์และเรณูวิทยา (Review of Palaeobotany and Palynology) เมื่อไม่นานนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง