รีเซต

“เลือกตั้งตุรกี” ผลคะแนนสูสี ลุ้นต่อในการเลือกตั้งรอบ 2

“เลือกตั้งตุรกี” ผลคะแนนสูสี ลุ้นต่อในการเลือกตั้งรอบ 2
TNN ช่อง16
15 พฤษภาคม 2566 ( 18:55 )
69




ตุรกีลุ้นผลเลือกตั้ง


ตุรกีจัดการเลือกตั้งวันเดียวกับประเทศไทย แต่หลังผลคะแนนรอบล่าสุด ก็ยังไม่มีใครได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง


1. ประธานาธิบดีเรเจป ทายยิป แอร์โดอัน - ตัวแทนจากพรรครัฐบาล AKP - 49.4%

2. เคมัล คิลิกดาโรกลู - ตัวแทนจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน 6 พรรค -  45% 

3. ซินาน โอกาน - ผู้ชิงประธานาธิบดีคนที่ 3 - 5.3%


ทำให้ทั้งคู่จะต้องไปตัดสินกันในการเลือกตั้งรอบ 2 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 28 พฤษภาคม และจะนับเป็นการตัดสินชะตาของแอร์โดอัน ที่มีการปกครองที่เผด็จการมากขึ้น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีที่ไม่มีใครสามารชนะด้วยคะแนนเสียงข้างมากไปได้ 


คิลิกดาโรกลู ระบุว่า เขาจะสามารถคว้าชัยในการเลือกตั้งรอบสอง และเรียกร้องให้กลุ่มผู้สนับสนุนเขาอดทน พร้อมกล่าวโทษพรรคของประธานาธิบดีแอร์โดอัน ที่แทรกแซงการนับคะแนน และการรายงานผลการเลือกตั้ง ทั้งการชะลอการประกาศผลการเลือกตั้ง อีกทั้งยังพบว่ามีการเพิ่มคะแนนให้กับประธานาธิบดีแอร์โดอัน อย่างไม่ถูกต้องอีกด้วย


คิลิกดาโรกลู ระบุว่า พรรคของประธานาธิบดีแอร์โดอันกำลัง “ทำลายความตั้งใจของตุรกี” และเราจะไม่ปล่อยเรื่องนี้ให้เลยตามเลย 


อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีแอร์โดอัน มีผลคะแนนที่ดีกว่าที่โพลล์สำรวจก่อนการเลือกตั้งได้ทำนายเอาไว้ พร้อมแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถคว้าชัยได้เช่นกน 





เลือกตั้งตุรกี กับเส้นทางหวนสู่ประชาธิปไตย


การเลือกตั้งประธานาธิบดีนี้ ไม่เพียงจะเป็นการตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้นำของตุรกี แต่จะเป็นการตัดสินด้วยว่าตุรกี จะหวนคืนสู่เส้นทางประชาธิปไตยได้มากขึ้นหรือไม่ ตลอดจนการรับมือกับวิกฤตค่าครองชีพและความสัมพันธ์กับรัสเซีย, ตะวันออกกลาง และตะวันตกได้อย่างไร 


นั่นเพราะที่ผ่านมา ตุรกีในฐานะประเทศสมาชิกนาโต กลับมีนโยบายไม่ประณามรัสเซีย ตลอดจนการต่อต้านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโตของสวีเดนอีกด้วย




ตุรกีจะเจอ 2 สัปดาห์แห่งความผันผวน 


ตุรกี มีประชากรราว 85 ล้านคน และต้องอยู่ในสภาพเงินเฟ้อรุนแรง และจะต้องเผชิญกับ 2 สัปดาห์แห่งความไม่แน่นอน ที่จะทำให้ตลาดผันผวน และนักวิเคราะห์คาดว่าจะส่งผลต่อสกุลเงินและตลาดหุ้นอย่างแน่นอน


ฮากัน อัคบาส managing director of Strategic Advisory Services, a consultancy ระบุว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า จะเป็น 2 สัปดาห์ที่แสนยาวนานของตุรกี พร้อมกับมองว่า ประธานาธิบดีแอร์โดอัน จะยังได้เปรียบในการเลือกตั้งรอบ 2 


ซึ่ง ผู้ชิงประธานาธิบดีคนที่ 3 ซินาน โอกาน ที่ได้คะแนนร้อยละ 5.3 นั้น จะถือว่าเป็น “kingmaker” สำหรับเกมนี้ ซึ่งต้องรอดูว่าแคนดิเดตคนไหนที่เขาจะสนับสนุน ที่จะทำให้เสียงของเขาเทไปที่คนนั้นได้




ตุรกี - พันธมิตรสำคัญของปูติน


การเลือกประธานาธิบดีคนใหม่ของตุรกีครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ หากชัยชนะเป็นของประธานาธิบดีแอร์โดอาน ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรคนสำคัญของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ก็จะยิ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดยืนดังกล่าวที่ชัดเจนขึ้น แต่ขณะเดียวกัน คณะทำงานของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ก็อาจไม่ยินดีนัก อีกทั้งมีผู้นำชาติตะวันตก และชาติตะวันออกกลาง ที่มีปัญหากับผู้นำตุรกีรายนี้


แอร์โดอาน เป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด และทำให้ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต และเป็นประเทศที่ใหญ่อันดับสองของยุโรป กลายมาเป็นผู้เล่นคนสำคัญของการเมืองโลก พร้อมกับการสร้างตุรกีสมัยใหม่ ด้วยโครงการเมกะโปรเจคมากมาย ทั้งสะพานใหม่ และสนามบินใหม่ พร้อมกับการสร้างอุตสาหกรรมอาวุธ ไปพร้อม ๆ กันด้วย 


แต่ในทางกลับกัน เศรษฐกิจในยุคนี้เกิดความผันผวน ค่าครองชีพพุ่งสูง และภาวะเงินเฟ้อ นำมาสู่ความโกรธเคืองของประชาชน ขณะที่การตอบสนองของรัฐบาลต่อภัยแผ่นดินไหวที่ล่าช้า ก็ยิ่งฉุดคะแนนนิยมในตัวนายแอร์โดอันลงอย่างมาก

————

แปล-เรียบเรียง: ภัทร จินตนะกุล

ภาพ: Reuters


ข้อมูลอ้างอิง:



ข่าวที่เกี่ยวข้อง