รีเซต

Into the past : "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ , ยุทธภูมิสตาลินกราดยุติลง (2ก.พ.)

Into the past :  "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ , ยุทธภูมิสตาลินกราดยุติลง (2ก.พ.)
TrueID
2 กุมภาพันธ์ 2564 ( 08:52 )
257

Into the past : วันนี้ trueID News จะพาย้อนไปในอดีตของวันนี้ กับเหตุการณ์ที่สำคัญ เรื่องราวสาระน่ารู้ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน

 

 

Into the past : ประเทศไทย



พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ใช้บำบัดน้ำเสียโดยเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์

 

สาธารณสมบัติ

 

กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2536 หลังจากเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สนองพระราชดำริ ในการพัฒนากังหันน้ำ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยื่นขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2535 จึงนับว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย ของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย และครั้งแรกของโลก และถือว่าวันที่ 2 ก.พ.ของทุกปีเป็น “วันนักประดิษฐ์” นับแต่นั้นเป็นต้นมา

นอกจากนี้ กังหันชัยพัฒนายังได้รับรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้านนวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียม ภายในงาน “Brussels Eureka 2000” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

 

 

=====

 

 

Into the past : รอบโลก




พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - ยุทธภูมิสตาลินกราดยุติลงเมื่อทหารเยอรมัน 91,000 นาย เหนื่อยล้าและหิวโหยหลังจากตกเป็นเชลยของกองทัพแดงในสหภาพโซเวียต

 

สาธารณสมบัติ

 

ยุทธการสตาลินกราด เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ วอลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึง 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 ยุทธการสตาลินกราดเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดบนแนวรบด้านตะวันออก และได้รับความสนใจเพราะความป่าเถื่อนและไม่สนใจต่อความสูญเสียทั้งทางทหารและพลเรือน นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในยุทธการนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์การสงคราม โดยมีการประเมินความสูญเสียทั้งสองฝ่ายรวมกันขั้นสูงไว้เกือบสองล้านนาย ความสูญเสียอย่างหนักที่กองทัพเยอรมนีประสบนับเป็นจุดพลิกผันของสงคราม หลังยุทธการสตาลินกราด กำลังเยอรมันไม่อาจฟื้นคืนยอดอย่างเมื่อก่อนได้อีก และไม่บรรลุชัยชนะทางยุทธศาสตร์ในทางตะวันออกอีกเลย

 

==========

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 

ข้อมูล : wikipedia , history , on this day , bbc

ข่าวที่เกี่ยวข้อง