รีเซต

7 โบรก ส่องทิศทาง TU ปี 67 มองเป้า 15.90-18.10 บ.

7 โบรก ส่องทิศทาง TU ปี 67 มองเป้า 15.90-18.10 บ.
ทันหุ้น
25 กุมภาพันธ์ 2567 ( 17:04 )
28
7 โบรก ส่องทิศทาง TU ปี 67 มองเป้า 15.90-18.10 บ.

#TU #ทันหุ้น - บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU ได้เริ่มซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงินตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. ซื้อ 8 แสนหุ้น มูลค่าลงทุน 11.92 ล้านบาท วันที่ 23 ก.พ. ซื้ออีก 1.2 ล้านหุ้น มูลค่าลงทุน 17.77 ล้านบาท ทำให้ TU ซื้อหุ้นคืนรวมแล้ว 2 ล้านหุ้น มูลค่าลงทุน 29.69 ล้านบาท คิดเป็นต้นทุนซื้อเฉลี่ย 14.84 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้ คณะกรรมการมีมติดำเนินโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน เมื่อวันที่ 16 ม.ค.2567 จำนวนหุ้นที่คาดว่าจะซื้อคืน 200 ล้านหุ้น หรือ 4.30% ของจำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว คาดว่าจะวงเงินซื้อหุ้นคืน 3,600 ล้านบาท วันที่เริ่มต้น - วันที่สิ้นสุดการซื้อหุ้นคืน : วันที่ 20 ก.พ. 2567 ถึงวันที่ 30 มิ.ย.2567 บริษัทได้จัดประชุมนักวิเคราะห์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โบรกเกอร์ออกบทวิเคราะห์เมื่อวันที่ 21 ก.พ. มีมุมมองดังนี้

บล.กสิกรไทย : ช่วงโลว์ซีซันและราคาปลาทูน่าอ่อนแอในไตรมาส 1/67

บล.กสิกรไทยปรับลดคำแนะนำเป็น "ถือ" ด้วย TP ใหม่ที่ 15.90บาท จาก 16.70 บาท ตามการปรับลดกำไรเพื่อสะท้อนถึง GPM ที่ลดลงและ ดอกเบี้ยจ่ายและอัตราภาษีที่เฉลี่ยที่สูงขึ้น

คาดกำไรไตรมาส 1/67ของ TU จะลดลง YoY และ QoQ จากปริมาณการขายและราคาขายที่ลดลง GP ที่ลดลงและอัตราภาษีที่แท้จริงที่สูงขึ้น หลังจากปรับประมาณการ บล.กสิกรไทยคาดการณ์กำไรปกติปี 2567 จะ เติบโต 16.3% YoY เป็น 5.5 พันลบ. เนื่องจากคาดว่ายอดขายจะเติบโต 3.1% GPM เพิ่มขึ้น 60bps และไม่มีส่วนแบ่งขาดทุนจาก Red Lobster แต่ถูกชดเชยบางส่วนจากการไม่ได้รับประโยชน์จากเครดิตภาษี

 

บล.พาย: 4Q23 ถ้าถอดรายการพิเศษมีกำไรสุทธิ

TU มีการบันทึกผลขาดทุนจากการตั้งสำรอง Red Lobster เข้ามาตามคาดกว่า 18,400 ล้านบาท ทำให้ผลประกอบการงวด 4Q23 ออกมาขาดทุนกว่า 17,170 ล้านบาท แต่ถ้าไม่รวมจะมีกำไรสุทธิ 1,209 ล้านบาท ต่ำกว่าที่บล.พายคาด 18% เพราะภาษีรับต่ำกว่าที่คาด สำหรับปี 24 TU ตั้งเป้าเติบโต 3-4% เพราะมองผลกระทบจากราคาปลาทูน่าที่ปรับตัวลดลงทำให้ต้องลดราคาขาย อีกทั้งนโยบายการปรับขนาดสินค้าในกลุ่มอาหารแช่แข็งยังมีอยู่ ทำให้บล.พายปรับรายได้ใหม่มาที่ 141,894 ล้านบาท (+4%YoY) และมีกำไรสุทธิใหม่ที่ 5,553 ล้านบาท สำหรับคำแนะนำการลงทุน เรามองว่าผลประกอบการในปี 24 จะฟื้นตัวขึ้นได้เราจึงคงคำแนะนำ "ซื้อ" เช่นเดิม

 

บล.ฟิลลิป : คาดปี 67เติบโตจากฐานต่ำ

บล.ฟิลลิปคาดปี 67 รายได้เติบโต 5% ณ ค่าเงิน 35.50บาทดอลลาร์ เติบโตจากปริมาณขายที่ฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปีก่อน คาด GPM 17.1%ดีขึ้นเล็กน้อยจาก 1.)กำลังผลิตที่ดีขึ้น 2.)คลังสินค้าในกาน่าจะเสร็จในเดือน มี.ค ซึ่งจะสามารถประหยัดต้นทุนได้ดีขึ้น 3.) ลดการดำเนินงานในส่วนที่ไม่มีกำไรลงอีกในปีนี้ แต่มีปัจจัยกดดันจากราคาทูน่าปัจจุบันมีทิศทางลดลง ทำให้มีต้นทุนที่สูงจากการซื้อวัตถุดิบมาก่อนหน้า ปัจจุบันราคาที่ลงมาต่ำ ทำให้ TUเร่งระดับการผลิตเพื่อได้ประโยชน์จากต้นทุนที่ต่ำลง หากราคาทูน่ากลับมาฟื้นตัวอยู่ในระดับ 1,400-1,500 จะเริ่มกลับมาเป็นประโยชน์ต่อ TU ซึ่งคาดหวังที่จะเห็นในช่วง 3Q67-4Q67

 

ราคาพื้นฐานปี 67ที่ 16.70 บาท/หุ้น อิง PIE 14.0 เท่า

ทางฝ่ายฯปรับลดกำไรสุทธิลง 9.4%จากราคาทูน่าที่ปรับตัวลงเร็วกว่าคาด คาดปีนี้มีกำไรปกติ 5,564.4ลบ. +139.9%y-y ใช้ PE ที่ 14.0เท่า ปรับลดราคาพื้นฐานลงที่ 16.70 บาท แนะนำจับจังหวะลงทุนในช่วงราคาหุ้นอ่อนตัวตามทิศทาง 1Q67 คงคำแนะนำ "ซื้อ"

 

บล.อินโนเวสท์เอกซ์ :  เป้าหมายปี 2567 เป็นบวก

สำหรับปี 2567 TU ตั้งเป้ายอดขายเติบโต 3-4% YoY และอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ 17- 18% (เทียบกับ 17.1%ในปี 2566) ในขณะเดียวกัน TU ประเมินว่ายอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นใน 1Q67 จะยังต่ำกว่าเป้าที่บริษัทวางไว้ในปี 2567 โดยมีสาเหตุมาจากราคาขายปลาทูน่า OEM ที่ลดลงท่ามกลางต้นทุนสต๊อกปลาทูน่าระดับสูง (ปรับตัวตามหลัง spot price ราว 3-6เดือน) โดยจะมีพัฒนาการเชิงบวกมากขึ้นใน 2Q67 จากราคาที่ดีขึ้นและการปรับต้นทุน INVX คาดว่ากำไรปกติ 1Q67 จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัว YoY โดยยอดขายและมาร์จิ้นจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยท่ามกลางอัตราภาษีที่สูงขึ้น แต่จะลดลง QoQจากปัจจัยฤดูกาล เรายังคงคำแนะนำ OUTPERFORM สำหรับ TU โดยให้ราคาเป้าหมายกลางปี 2567ที่17.50 บาท อ้างอิง PE 16 เท่า (PE เฉลี่ย 10 ปี)

 

สถานการณ์ใน 1Q67TD   TU ยังไม่เห็นผลกระทบจากความขัดแย้งในทะเลแดงต่อปริมาณการขาย โดยต้นทุนค่าขนส่งที่สูงขึ้นถูกส่งผ่านไปยังผู้ซื้อ ใน 1Q67 TU คาดว่ายอดขายจะเติบโต YoY แต่ต่ำกว่าเป้าที่บริษัทวางไว้ในปี 2567เนื่องจากปริมาณการขายจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ราคาปลาทูน่า OEM ลดลง โดยอัตรากำไรขั้นต้นจะกว้างขึ้น YoY แต่ต่ำกว่าเป้าปี 2567จากราคาปลาทูน่า OEM ที่ลดลงท่ามกลางต้นทุนสินค้าคงคลังที่สูง (ต้นทุนจริงปรับตัวตามหลัง spot price ราว 3-6เดือน) ด้วยราคาที่ดีขึ้นและการปรับต้นทุน โดยใช้สมมติฐานว่าราคา spot ทูน่าฟื้นตัวจากปัจจุบันที่ US$1,300/ต้น สู่ระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ที่ US$1,700/ตัน ในปี 2567 TU คาดว่ายอดขายและมาร์จิ้นจะปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ 2Q67

 

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ : แรงกดดันเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และการแข็งค่าของเงินบาท ปัจจัยเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ ได้แก่ การบริหารจัดการพลังงาน ของเสีย และน้ำ (E) นโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัย (S)

 

บล.ทิสโก้ : คาดรายได้รวมปี 2024-25F เติบโต 3% และ 4% ตามลำดับ

จาก 1) คาดธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปเพิ่มขึ้นปีละ 2% จากราคาขายที่ลดลงตามราคาปลาทูน่าที่ลดลง และคาดปริมาณการขายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยราคาปลาทูน่าที่ลดลงเดือน ม.ค.24 อยู่ที่ 1,400 $/tons จาก supply ปลาทูน่าเพิ่มขึ้น 2) คาดธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยปีละ 1% และ 2% ตามลำดับ จากคาด demand ที่ลดลงตามภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัว และบริษัทมีการปรับโครงสร้างธุรกิจบางส่วนที่ไม่ทำกำไรหรือขาดทุนลดลง แต่อัตราทำกำไรจะดีขึ้น ราคากุ้งเริ่มเพิ่มขึ้นกุ้งขนาด hot size ราคา 142 บาท/กก. จาก 4Q23 ที่ 134 บาท/กก. 3) คาดธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงกลับมาเพิ่มขึ้น จากสถานการณ์กลับมาปกติ การเคลียร์สต๊อกสินค้าเก่าหมดลงและการปรับราคาขายเพิ่มขึ้น 3-5% เราคาดรายได้เติบโตปีละ 13% 4) คาดธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น (Value added) เพิ่มขึ้นปีละ 7% จาก demand กระป๋องจากลูกค้า Pet food และธุรกิจ Ambient ที่คาดปริมาณการขายเพิ่มขึ้น คาดอัตรามาร์จิ้นปี 2024-25F เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 17.4%-17.6% ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น กำลังการผลิตที่กลับมาเพิ่มขึ้นจากการเคลียร์สต๊อกสินค้าเก่าที่หมดลงและต้นทุนปลาทูน่าเริ่มปรับลดลง คาดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารอยู่ที่ปีละ 12% ใกล้เคียงกับปี 2023

 

บล.ทิสโก้ ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ”จากคาดผลประกอบการเริ่มกลับมาปกติและการไม่ต้องรับรู้ขาดทุนจากธุรกิจ Red Lobster แล้ว รวมถึงสถานการณ์ปัจจัยลบต่างๆ เริ่มคลี่คลาย เราประเมินมูลค่าที่เหมาะสม TU ปี 2024 ที่ 17.5 บาท อ้างอิง historical PE forward ย้อนหลัง 7 ปี ที่ 14X โดยราคาหุ้นปัจจุบันมี PER24F ที่ 12.2 X และคาด Dividend Yield 24F ที่ 4.6% สถานะการเงินแข็งแกร่งคาด Net Debt/Equity 24F อยู่ที่ 0.6X ความเสี่ยง : ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัว, ความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบ, การขาดแคลนเรือขนส่ง

 

บล.ลิเบอเรอเตอร์ : สั้นๆ อาจสะดุด ก่อนไปต่อ

"หลังการประชุมนักวิเคราะห์สิ่งที่อาจกระทบต่อการดำเนินง่านระยะสั้นคือราคาปลาที่ปรับลงแรงจนส่งผลกระทบต่อต้นทุนที่มีอยู่และส่งผลต่อกำไร 1024 ว่าจะหดตัว แต่เราคาดว่าช่วงที่เหลือของปีราคาปลาจะทยอยพื้นตัวอีกครั้ง และการหันกลับมาโฟกัสธุรกิจหลังการปลดล็อก RL ราคาหุ้นซื้อขายบน P/E24E เพียง 12 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และสามารถจ่ายเงินปันผลได้ตามปกติ ยังเป็นบริษัทที่เหมาะสำหรับนักลงทุนระยะยาว "

 

บล.หยวนต้า : ปรับประมาณการกำไรปกติปี 2567 ลง สะท้อนภาพ Demand ที่ยังฟื้นช้า

บล.หยวนต้ามีมุมมองเป็นบวกน้อยลง แม้บริษัทจะไม่ต้องรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจาก RL แต่แนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจหลักยังทำได้ช้ำากว่าคาดจาก Demand ของลูกค้าที่อ่อนแอจากสภาพเศรษฐกิจ เราจึงปรับประมาณการกำไรปกติปี 2567 - 2568 ลง 5.8%และ 4.9% เป็น 5,965ลบ. (+5.8% YoY) และ 6,910ลบ. (+15.8% YoY) ตามลำดับ จากการปรับสมมติฐานรายได้ลง 8.8%และ 7.3% ตามลำดับ

 

ระยะสั้นขาดปัจจัยบวกหนุน ปรับลดคำแนะนำลงเป็น TRADING ผลของการปรับประมาณการกำไรลง และการปรับลดราคาเป้าหมายของ ITC เป็น 22.00บาท (จากเดิม 26.00 บาท) ทำให้เราปรับราคาเป้าหมายของ TUลง เป็น 16.80 บาท อิงวิธี SOTP (อิง PER 12.4 เท่าสำหรับธุรกิจหลักของบริษัท และ Holding discount 40% จาก ITC) เทียบเท่า PER ที่ 13.1เท่า ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอดีต ราคาปัจจุบันมี Upside gain 12.6%และราคาหุ้นยังขาดปัจจัยบวกหนุนในระยะสั้น

 

บล.หยวนต้าจึงปรับลดคำแนะนำลงจาก ซื้อ เป็น "TRADING" เชิงกลยุทธ์แนะนำ Switch จาก TU เป็น GFPT

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง