รีเซต

ซีพี-เมจิ เปิดตัว "ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น" ชวนผู้บริโภคส่งแกลลอนนม รีไซเคิลเป็นถังขยะ

ซีพี-เมจิ เปิดตัว "ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น" ชวนผู้บริโภคส่งแกลลอนนม รีไซเคิลเป็นถังขยะ
TNN ช่อง16
15 กรกฎาคม 2566 ( 09:00 )
133
ซีพี-เมจิ เปิดตัว "ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น" ชวนผู้บริโภคส่งแกลลอนนม รีไซเคิลเป็นถังขยะ

บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด ผู้นำอุตสาหกรรมนมพาสเจอร์ไรส์ของประเทศไทย ในกลุ่มบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดตัวโครงการ “ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น” ชวนผู้บริโภคส่งแกลลอนนมเมจิที่ใช้แล้ว ซึ่งเป็นพลาสติกแบบขุ่น (HPDE) นำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำมาผลิตเป็น “ถังขยะ เพื่อแยกขยะ” จำนวน 500 ถัง มอบให้จังหวัดสระบุรี ปลายปี 2566

นางสาวชาลินี พูนลาภมงคล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ซีพี-เมจิ กล่าวว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยมีเป้าหมายสู่ความอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “เพิ่มคุณค่าชีวิต-Enriching Life” ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สนับสนุนการใช้สิ่งทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดและนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อร่วมลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพลาสติกประเภท HDPE (High Density Polyethylene) หรือพลาสติกแบบขุ่น ซึ่งเป็นพลาสติกที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์นมเมจิ ล่าสุด เปิดตัว “โครงการ ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น” รณรงค์ให้คนไทยร่วมกันส่งแกลลอนนมที่ใช้แล้ว เข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้องและเพิ่มคุณค่าด้วยการรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีประโยชน์ได้อีก

“พลาสติก HDPE สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ซีพี-เมจิ ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภท HPDE เป็นจำนวนมาก เราจึงริเริ่มโครงการนี้ขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้และความร่วมมือกับผู้บริโภคในการแยกขยะพลาสติก โดยเฟสแรก บริษัทฯ ตั้งเป้าเก็บแกลลอนพลาสติก จำนวน 15,000 แกลลอน เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและแปรรูปเป็นถังขยะสีเหลืองสำหรับขยะรีไซเคิล จำนวน 500 ถัง จากนั้นจะมอบให้กับจังหวัดสระบุรี เพื่อกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั้งในชุมชนและพื้นที่สาธารณะ ควบคู่กับการให้องค์ความรู้การจัดการขยะอย่างถูกต้องกับทุกภาคส่วนต่อไป” นางสาวชาลินี กล่าว

ด้าน นายทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร CirPlas ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการขยะพลาสติก กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีขยะพลาสติกมากถึง 2 ล้านตัน โดยขยะมากกว่า 75% ไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งมักจะถูกนำไปฝังกลบหรือเผาทำลาย ส่งผลให้เกิดการหลุดรอดและตกค้างในสิ่งแวดล้อม ส่วนพลาสติกที่ถูกนำกลับมารีไซเคิลสูงที่สุด คือ พลาสติกประเภท PET อยู่ที่ 70% รองลงมาคือ PP 25% และบรรจุภัณฑ์ประเภท HDPE อยู่ที่ 20% ขอบคุณ ซีพี-เมจิ ที่จัดโครงการดังกล่าวขึ้น เชื่อว่า จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้โลกของเรา และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ง่ายๆ ด้วยการแยกขยะอย่างถูกต้อง นำแกลลอนพลาสติกไปทิ้ง ณ จุดรับทิ้งของ CirPlas ซึ่งมีมากกว่า 60 จุด ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล บริษัทฯ จะเก็บและนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกใหม่เพื่อผลิตเป็นถังขยะต่อไป ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลจุดรับทิ้งได้ที่ Facebook : CirPlas หรือ Line Official (@cirplas) หรือสังเกตเครื่องหมายแคมเปญ “ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น” ได้ทุกจุดรับทิ้งแกลลอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง