ทำความเข้าใจ ชาวอเมริกันเรียกร้อง ‘ยุบ-ลดงบตำรวจ’ คืออะไรกัน?
ตอนนี้ที่สหรัฐฯกำลังมีกระแส defund and dismantle the police จากกรณีสังหารนายจอร์จ ฟลอยด์ มันคืออะไร และจะสามารถทำได้ไหม โดยไม่มีตำรวจออกมาปฏิบัติหน้าที่ ไปดูกัน
- Defund the police คืออะไร
การเรียกร้องให้ 'defund the police' หมายถึงการลดงบประมาณของตำรวจ ซึ่ง มีผู้เรียกร้องทั้ง การลดงบประมาณบางส่วน ไปจนถึงตัดงบประมาณไปทั้งหมด
ข้อเรียกร้องนี้ ต้องการสื่อว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศจะต้องแก้ปัญหาในระบบตำรวจอย่างเป็นระบบ และหันมาทุ่มเทการพัฒนาชุมชนมากขึ้น ทั้งเรื่องการเคหะ และการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงของตำรวจและความไม่เสมอภาคทางชาติพันธุ์ในระบบตำรวจ
ในปี 2017 สหรัฐฯใช้งบถึง 1.15 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 3.6 ล้านล้านบาทไปกับหน่วยงานตำรวจ
สำนักงานสถิติยุติธรรมของสหรัฐพบว่า มีรายงานการเสียชีวิตที่อาจเกี่ยวข้องกับการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจในช่วงเวลา 10 เดือนระหว่างมิถุนายน 2015 – มีนาคม 2016 รวม 1348 ราย / เฉลี่ยมีผู้เสียชีวิตเดือนละ 135 ราย ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มากเมื่อเทียบกับจำนวน 13 รายในอังกฤษ และ 21 รายในออสเตรเลีย
นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากเอฟบีไอ ว่ามีผู้ถูกยิงโดยตำรวจ 407 รายในปี 2018 ด้วยเหตุผลการฆาตกรรมที่สมเหตุสมผล แต่ตัวเลขของวอชิงตันโพสต์ระบุว่าในปี 2019 มีผู้ถูกตำรวจยิงเสียชีวิตถึง 1004 ราย
ไอแซค ไบรอัน ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายคนดำของ UCLA เล่าว่า สมัยก่อนในฝั่งใต้ การบังคับใช้กฎหมายเริ่มจากการจ้างกลุ่มคนมาลาดตระเวนเพื่อจับตาดูทาสที่พยายามหลบหนี และเมื่อมีการเลิกระบบทาสแล้ว ตำรวจก็ใช้ระบบกฎหมายจิม โครว์ ที่แบ่งแยกการปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างคนขาวและคนดำในพื้นที่รัฐทางใต้
ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ส่งมาจนถึงปัจจุบันที่มักถูกมองว่า ตำรวจใช้กำลังกับคนดำมากอย่างไม่สมส่วน และคนผิวดำมักถูฏจับและถูกลงโทษมากกว่า
- แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนหรือไม่
หลายคนเห็นด้วยเช่น สว. คอรี่ บุ๊คเกอร์ จากนิวเจอร์ซีย์ มองว่า อเมริกามีตำรวจมากเกินไป ลงทุนในตำรวจ แต่ไม่ได้แก้ปัญหาสังคม แถมยังทำให้แย่ลงอีก
หลายคนบอกว่า ไม่ได้เห็นด้วยกับการยุบตำรวจ ทำได้ยาก แต่ต้องการให้มีการเข้าไปดูว่าในหน่วยงานตำรวจมีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างไร และโยกงบมาเพื่อทุ่มเทให้กับชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือมากขึ้น ซึ่งช่วงเวลานี้คือโอกาสที่เหมาะสมที่สุด
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แน่นอนว่าไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราตั้งแต่การเลือตกั้งครั้งที่แล้ว เขานำเสนอเรื่อง law and order และจนกระทั่งเกิดการประท้วงในรอบนี้ ทรัมป์ก็ยังประกาศว่าเขาเป็นประธานาธิบดีที่จะบังตับใช้กฎหมาย
ขณะที่นายโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต ว่าที่คู่แข่งชิงประธานาธิบดี ก็ไม่เห็นด้วยกับกระแสการเรียกร้องให้ตัดงบตำรวจเช่นกัน แต่เห็นด้วยว่าให้มีการปฏิรูป โดยเฉพาะการทุ่มงบไปที่โรงเรียนของรัฐ โครงการพิเศษต่างๆ และการบริการด้านสุขภาพจิต แยกออกไปจากงบตำรวจ เพราะต้องทำงานควบคู่กัน
- การเลิกจ่าย/ลดงบประมาณตำรวจเป็นไปได้ไหม
การเลิก/ลดจ่ายเงินให้ตำรวจนั้นทำได้ง่ายกว่าการสั่งยุบหน่วยงานตำรวจ และมีบางเมืองเริ่มทำแล้ว เช่น นายกเทศมนตรีของลอสแองเจลิส สั่งหั่นงบประมาณตำรวจลงราว 100-150 ล้านดอลลาร์จากงบประมาณเดิมที่เสนอมา แม้ไม่มาก แต่ก็พิสูจน์ได้ว่าทางการเมืองต่างๆ รับฟังเสียงประชาชน
ขณะที่ นายบิล เดอ บลาซิโอ นายกเทศมนตรีของมหานครนิวยอร์ก ได้ประกาศแนวทางปฏิรูปหลายอย่างเช่นกัน โดยออกแบบมาเพื่อสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างตำรวจและประชาชน นอกจากนี้ เขาจะลดงบประมาณที่สนับสนุนตำรวจลง โดยจะโยกงบไปอุดหนุนด้านบริการสังคม และเยาวชนในชุมชนคนผิวสีแทน
- ปฏิกิริยาตำรวจ
ที่ผ่านมา ตำรวจและสหภาพตำรวจคัดค้านการตัดงบประมาณมาด้วยตลอด โดยบอกว่าจะทำให้บ้านเมืองปลอดภัยน้อยลง เพราะหมายความว่า การตอบสนองสายด่วน 911 ก็จะช้าลง
ในภาวะเช่นนี้ ที่มีทั้งโรคระบาด อาชญากรรมที่เพิ่มมากขึ้น ความรุนแรงตลอดสัปดาห์ ทั้งการวางเพลิง การปล้นสะดม การเลิกให้จ่ายเงินตำรวจ คือการเสนอที่ไร้ความผิดชอบที่สุด
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online