รู้จักโครงการ "จับคู่กู้เงิน" ต่อลมหายใจร้านอาหาร
ตามที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานในพิธีเปิดงานโครงการ“จับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับร้านอาหาร” วันนี้ trueID จะพาไปดูรายละเอียดของโครงการนี้
- ใครอยากเป็นเศรษฐี? ต้องรู้จักทริคปลดหนี้ และการออมเงินสู้วิกฤตโควิด
- หากลูกหนี้ที่เข้า ”โครงการพักทรัพย์ พักหนี้” ต้องการเช่าทรัพย์สินกลับเพื่อดำเนินกิจการต่อ ต้องทำอย่างไร
จุดประสงค์ของโครงการ"จับคู่กู้เงิน"
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการช่วยให้ร้านอาหารสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ หรือเข้าถึงสถาบันการเงินโดยมีดอกเบี้ยราคาพิเศษและปลอดหลักทรัพย์ในบางกรณี และเงื่อนไขผ่อนปรนอื่นๆ เพื่อให้โครงการนี้สามารถช่วยร้านอาหารได้จริงในทางปฏิบัติเพราะรัฐบาลมีวงเงินให้สถาบันการเงินเหล่านี้ในการปล่อยกู้ให้ภาคธุรกิจบริการรวมทั้งเอสเอ็มอีและไมโครเอสเอ็มอี
ถือว่าเป็นการต่อสายป่านให้กับร้านอาหารภาค 2 ที่ส่วนหนึ่งอยากให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือเรื่องเงินทุนหรือผ่อนปรนภาระหนี้สินที่มีอยู่ รวมทั้งหาแหล่งเงินกู้ โครงการ จับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับร้านอาหาร โดยเชิญสถาบันการเงิน 5แห่ง มาทำหน้าที่ปล่อยกู้โดยเฉพาะ โดยผ่อนปรนให้มากที่สุด ประกอบด้วย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME D Bank) ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน
ร้านอาหารต้องติดต่อใคร
ส่วนร้านอาหารประสานงานผ่าน 7สมาคม ได้แก่
1.สมาคมร้านอาหารไทยและสตรีทฟู๊ด
2.สมาคมภัตตาคารไทย
3.สมาคมร้านอาหารและธุรกิจท่องเที่ยวรายย่อย
4.สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหาร
5.สมาคมการค้าธุรกิจร้านอาหาร
6.สมาคมเชียงใหม่ภัตตาคารร้านอาหารและบันเทิง
7.สมาคมร้านอาหารไทยจังหวัดกระบี่
รวมทั้งกลุ่มร้านอาหารอื่นๆทั่วทั้งประเทศโดยร้านอาหารทั่วทั้งประเทศที่อยู่ในระบบทะเบียน มีทั้งสิ้นประมาณ 120,000รายโดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประมาณ 16,000ราย
ที่เหลือจดทะเบียนทำธุรกิจในฐานะบุคคลธรรมดา โดย 120,000 รายจะสามารถเข้ามาร่วมโครงการเจรจากับสถาบันการเงินทั้ง 5แห่งได้ทั้งในส่วนกลางส่วนภูมิภาค
อัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
ส่วนใหญ่คิดอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกัน 2-3% คงไว้ 3 ปีแรก ผ่อนนานไม่เกิน 10 ปี และส่วนใหญ่ต้องมีหลักทรัพย์ มีบัญชีหมุนเวียน หรือค้ำประกันโดยสมาคมหรือสมาชิกสมาคม
เมื่อได้สอบถามผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีสาขาในห้างรายหนึ่ง เคยมีรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ต้องหยุดเปิดบริการเพียง 25-30% เพราะจำนวนผู้เข้าร้านต่ำมาก เพราะความกังวลต่อการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ระบุว่า
เป็นเรื่องน่ายินดีที่ พณ. ออกมาเป็นตัวกลาง จัดพบปะธุรกิจกับธนาคาร แต่ก็น่าเสียดายที่เป็นการใช้เงื่อนไขเดิมๆ ที่จะใช้การพิจารณา ซึ่งจำนวนไม่น้อยเคยยื่นขอกู้เงินหรือใช้สิทธิซอฟต์โลนของภาครัฐ แต่ไม่ได้
วันที่เริ่มโครงการ
โครงการนี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้ (7 มิถุนายน2564) จนถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2564 โดยก่อนหน้านี้ได้มีการจัดอบรมโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ความรู้กับสถาบันการเงินร่วมกับร้านอาหารที่สนใจใช้บริการสถาบันการเงินในการเตรียมตัวก่อนดำเนินการกู้เงินในวันนี้
ข้อมูล : กระทรวงพาณิชย์ , มติชน
รูปภาพโดย ฟอร์ม PxHere