รีเซต

เผยผลสำรวจ ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ทำงาน 6 เดือน สอบผ่านหรือไม่?

เผยผลสำรวจ ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ทำงาน 6 เดือน สอบผ่านหรือไม่?
TNN ช่อง16
4 ธันวาคม 2565 ( 11:17 )
109

วันนี้(4 ธ.ค. 65) "นิด้าโพล" เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "6 เดือนผู้ว่าฯ ชัชชาติ" โดยเมื่อถามถึงความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯต่อการทำงานในรอบ 6 เดือนแรก ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในประเด็นต่าง ๆ รวม 17 ประเด็น สรุปผลได้ดังนี้

1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 39.07% ระบุว่าดีมาก รองลงมา 36.40% ระบุว่าค่อนข้างดี ขณะที่ 13.33% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 9.13% ระบุว่าไม่ดีเลย 

2. การส่งเสริมการท่องเที่ยวใน กทม. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 40.54% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 38.13% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 11.33% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 7.53% ระบุว่าไม่ดีเลย

3. การสนับสนุนการกีฬา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 38.40% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 34.87% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 14.60% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 9.00% ระบุว่าไม่ดีเลย

4. การแก้ไขปัญหาความสะอาด ขยะ ฝุ่นละออง น้ำเสีย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 39.73% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 33.13% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 16.40% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 9.87% ระบุว่าไม่ดีเลย

5. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 34.87% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 31.80% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 18.93% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 13.40% ระบุว่าไม่ดีเลย

6. การปรับปรุงการให้บริการในหน่วยงานของ กทม. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 40.40% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 29.53% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 16.00% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 9.67% ระบุว่าไม่ดีเลย

7. การปรับปรุงและจัดระเบียบทางเท้า เช่น หาบเร่แผงลอย การจอดยานพาหนะ หรือตั้งร้านบนทางเท้า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 41.13% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 29.27% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 16.07% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 10.53% ระบุว่าไม่ดีเลย

8. การปรับปรุงทัศนียภาพ ถนน ตรอก ซอย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 41.33% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 29.20% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 18.07% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 10.27% ระบุว่าไม่ดีเลย

9. การแก้ไขปัญหาสุขภาพ/สาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 42.67% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 25.33% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 17.93% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 10.54% ระบุว่าไม่ดีเลย

10. การจัดระเบียบการชุมนุม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 37.80% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 24.53% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 17.33% ระบุว่าไม่ดีเลย และอีก 16.54% ระบุว่าไม่ค่อยดี

11. การป้องกันอาชญากรรม และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การติดไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด ระบบรักษาความปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 39.13% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 24.40% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 21.54% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 12.33% ระบุว่าไม่ดีเลย

12. การแก้ไขปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน ในหน่วยงานของ กทม. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 30.60% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 23.87% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 21.60% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 16.06% ระบุว่าไม่ดีเลย

13. การพัฒนาการศึกษา แก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 38.47% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 22.13% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 20.20% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 12.13% ระบุว่าไม่ดีเลย

14. การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า เรือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 42.13% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 21.87% ระบุว่าดีมาก ขณะที่ 18.07% ระบุว่าไม่ค่อยดี และอีก 10.60% ระบุว่าไม่ดีเลย

15. การแก้ไขปัญหาจราจรและรถติด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 44.60% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 21.00% ระบุว่าไม่ค่อยดี ขณะที่ 18.40% ระบุว่าดีมาก และอีก 14.13% ระบุว่าไม่ดีเลย

16. การจัดระเบียบ คนเร่ร่อน คนจรจัด ขอทาน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 39.13% ระบุว่าค่อนข้างดี รองลงมา 25.60% ระบุว่าไม่ค่อยดี ขณะที่ 16.87% ระบุว่าดีมาก และอีก 14.07% ระบุว่าไม่ดีเลย

17. การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 32.26% ระบุว่าไม่ค่อยดี รองลงมา 31.40% ระบุว่าค่อนข้างดี ขณะที่ 20.40% ระบุว่าไม่ดีเลย และอีก 10.07% ระบุว่าดีมาก

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความพึงพอใจของคนกรุงเทพฯ ต่อการทำงานในรอบ 6 เดือนแรก ของผู้ว่าฯ กทม. พบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 42.60% ระบุว่าค่อนข้างพอใจ เพราะเป็นคนขยัน ตั้งใจในการทำงาน เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของ กทม. และการแก้ปัญหาได้ตรงจุด รองลงมา 38.93% ระบุว่าพอใจมาก เพราะมีผลงานชัดเจน มีความทุ่มเทให้กับการทำงาน และลงพื้นที่รับฟังปัญหาของประชาชน

ขณะที่ 10.54% ระบุว่าไม่ค่อยพอใจ เพราะผลงานไม่ชัดเจน แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และอีก 7.93% ระบุว่าไม่พอใจเลย เพราะไม่สามารถทำตามนโยบายที่พูดไว้ได้ และยังไม่สามารถแก้ปัญหาเดิม ๆได้ เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาการจราจร

 ทั้งนี้ ความคิดเห็นดังกล่าวมาจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น 1,500 หน่วยตัวอย่าง ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-30 พฤศจิกายน 2565


ข้อมูลจาก : นิด้าโพล

ภาพจาก  :  กรุงเทพมหานคร โดย ประชาสัมพันธ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง