รีเซต

สิทธิประโยชน์ ประกันสังคม กรณีคลอดบุตร

สิทธิประโยชน์ ประกันสังคม กรณีคลอดบุตร
TrueID
22 มีนาคม 2564 ( 12:41 )
10.4K
1
สิทธิประโยชน์ ประกันสังคม กรณีคลอดบุตร

สิทธิประโยชน์ กรณีคลอดบุตร จากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส) ที่มอบให้กับผู้ประกันตน นั้น ก็เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ดี ๆ จากสิทธิประโยชน์หลายๆอย่าง ที่ผู้ประกันตนควรได้รับ ซึ่งหลาย ๆ คน อาจจะสงสัยกันว่า ประกันสังคมคลอดบุตร เบิกได้เท่าไหร่ ค่าคลอดบุตรประกันสังคม เบิกอย่างไร เบิกค่าคลอดประกันสังคม ต้องใช้เอกสารเยอะไหม และใช้อะไรบ้าง trueID ได้รวบรวมข้อมูลมาให้ในบทความนี้แล้ว ไปติดตามกันเลย

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

  • จ่ายงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร 
  • จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
  • กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง 

 

พิจารณาสั่งจ่าย

เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

 

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) 
  3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้
    • 1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)             
    • 2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)             
    • 3) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)             
    • 4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)             
    • 5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)             
    • 6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)             
    • 7) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)            
    • 8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย                
    • 9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) 


หมายเหตุ


   หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

 

สถานที่ยื่นเรื่อง

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

 

 

ข้อมูลข่าว : สำนักงานประกันสังคม

ภาพโดย ekseaborn0 จาก Pixabay 

 

++++++++++

ข่าวที่เกี่ยวข้อง