รีเซต

‘ราชปักษา’ กับการเมืองศรีลังกา กุมอำนาจยาวนาน ก่อนพาเศรษฐกิจถดถอย

‘ราชปักษา’ กับการเมืองศรีลังกา กุมอำนาจยาวนาน ก่อนพาเศรษฐกิจถดถอย
TNN ช่อง16
14 กรกฎาคม 2565 ( 17:37 )
146
‘ราชปักษา’ กับการเมืองศรีลังกา กุมอำนาจยาวนาน ก่อนพาเศรษฐกิจถดถอย

เจาะลึกเรื่องราวของตระกูล “ราชปักษา” ที่กุมอำนาจปกครองศรีลังกามานาน รวมถึงสาเหตุที่ทำให้ศรีลังกาต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในรอบกว่า 70 ปี


---รู้จักที่มาของตระกูล “ราชปักษา”---


เดิมทีตระกูล “ราชปักษา” นี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองระดับประเทศ แต่เป็นตระกูลเศรษฐีที่ดิน และหนึ่งในคนที่ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ตระกูล “ราชปักษา” เข้ามามีบทบาททางการเมืองระดับประเทศ ก็คือนายมหินทา ราชปักษา 


เขาได้รับเลือกให้เป็น .ครั้งแรกเมื่อปี 1970 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเสรีภาพศรีลังกา และได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีศรีลังกาติดต่อกัน 2 สมัย ตั้งแต่ปี 2005-2015 ก่อนจะพลาดท่าพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกาในปี 2015


อย่างไรก็ตาม ในปี 2019 โกตาบายา ราชปักษา ซึ่งเป็นน้องชายของนายมหินทา ก็กลับมาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี และทำให้ตระกูลราชปักษา กลับมาสู่อำนาจในการปกครองศรีลังกาอีกครั้ง โดยระหว่างที่นายโกตาบายา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาก็ได้แต่งตั้งพี่น้องตัวเอง และเครือญาติในตระกูลราชปักษาให้เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญ  ในรัฐบาลดังนี้ 


พี่ชายคนโต ชามาล ราชปักษา ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีชลประทาน ในขณะที่นายมหินทา ที่เป็นพี่ชายคนรอง ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนน้องชายคนเล็ก นายบาซิล ราชปักษา ก็ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง  


นอกจากนี้ ลูกชายของนายมหินทา 2 คน ยังได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกีฬา และหัวหน้าเจ้าหน้าที่สำนักนายกรัฐมนตรีอีกด้วย เช่นเดียวกับลูกชายของนายชามาล ที่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร เรียกได้ว่า ในตำแหน่งสำคัญ  ล้วนมีตระกูลราชปักษา ควบคุมอยู่แทบทั้งหมด


---จุดเริ่มต้นวิกฤตเศรษฐกิจศรีลังกา--- 


ส่วนหนึ่งในสาเหตุที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ศรีลังกาเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปีนั้น สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่นายโกตาบายา ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2019 


เขาได้ผ่านนโยบายการลดหย่อนภาษีในการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรกทันที โดยที่ไม่สนใจคำเตือนจาก มังกาลา ซามาราวีรา รัฐมนตรีกระทรวงการคลังในขณะนั้น ที่บอกว่า มันเป็นเรื่องที่อันตรายมากที่จะลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 15% เหลือเพียง 8% 


รวมถึงยกเลิกจัดเก็บภาษีอื่น  ซึ่งมันจะทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระหนี้ที่สูงขึ้น และจำเป็นต้องไปกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ซึ่งนั่นไม่เพียงจะทำให้ทั้งประเทศต้องล้มละลาย แต่จะกลายเป็นเหมือนกับเวเนซุเอลา และกรีซ กระทั่งเวลาผ่านมาราว 30 เดือน ทุกอย่างที่อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเตือน ก็ได้เกิดขึ้นจริง


นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลว่า ก่อนที่ตระกูลราชปักษาจะเข้ามาปกครองประเทศศรีลังกา ก็ถือว่าเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว แต่เมื่อตระกูลราชปักษาเข้ามาปกครอง ก็เริ่มดำเนินโครงการกู้ครั้งใหญ่จากจีน เพื่อนำไปลงทุนในโครงการต่าง  


อาทิ โครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่เมืองบ้านเกิดของพวกเขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะเปลี่ยนศรีลังกาให้กลายเป็นศูนย์กลางของเอเชียใต้ แต่แล้วโครงการต่าง  ก็ต้องหยุดชะงักลง และทำให้หนี้สินเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า ระหว่างปี 2010-2020


---โควิดซ้ำเติมเศรษฐกิจ เงินเฟ้อพุ่ง---


ความกังวลว่าจะเกิดการล่มสลายเกิดขึ้นครั้งแรก หลังจากที่เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวสูญหาย ซึ่งรัฐบาลตัดสินใจพิมพ์เงินเข้าระบบ 42% ระหว่างเดือนธันวาคม 2019 ถึงสิงหาคม 2021 ซึ่งนั่นถือเป็นความผิดพลาด เนื่องจากเป็นการเร่งให้ศรีลังกาเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มเร็วที่สุดในเอเชีย


และเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลก็ทำเรื่องที่น่าตกใจอีกครั้ง เมื่อประกาศห้ามนำเข้าปุ๋ยเคมี โดยให้เหตผลว่า ทำตามกรอบสัญญาที่รัฐบาลเคยให้ไว้ว่า จะสนับสนุนฟาร์มออร์แกนิคที่ปราศจากสารเคมี 


แต่อันที่จริงแล้ว หลายคนมองว่า รัฐบาลทำไปเพื่อประหยัดเงินสกุลดอลลาร์ แต่เรื่องนี้ก็ส่งผลย้อนกลับ เมื่อห่วงโซ่การเกษตรทั้งหมดของศรีลังกา ราว 1 ใน 3 ของแรงงาน และ 8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต้องเผชิญกับภาวะหยุดชะงัก 


การเก็บเกี่ยวผลผลิตล้มเหลว บังคับให้รัฐบาลต้องนำเข้าข้าว และเริ่มโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ใบชา ที่ถือเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่เป็นรายได้หลักก็ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน


นโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาล ได้นำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร พลังงานไฟฟ้า และยารักษาโรคสำหรับครอบครัวที่ยากจน และกลายเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลและขับไล่ผู้นำให้ลาออกเพื่อรับผิดชอบต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

————

แปล-เรียบเรียงบัณฑิต  รอดเมือง

ภาพ: Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง