รีเซต

มูลนิธิคุณชวนคิด "บทบาทตุลาการ" กับความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ

มูลนิธิคุณชวนคิด "บทบาทตุลาการ" กับความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ
TNN ช่อง16
22 เมษายน 2567 ( 16:07 )
24
มูลนิธิคุณชวนคิด "บทบาทตุลาการ" กับความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ

วันที่ 22 เมษายน 2567 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม  มูลนิธิคุณร่วมมือกับสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม และวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดาราศิลปินรักษ์โลก คุณก้อง สหรัถ สังคปรีชา เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางวิชาการเรื่อง “ความเป็นธรรมทางภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับบทบาทของตุลาการ”  นายเกรียงไกร จรรยามั่น เลขาธิการสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม และนาย Renaud Meyer ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย ร่วมเปิดงาน ตามด้วยการบรรยายจาก นาย Simone Boneschi ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักนิติธรรม ความมั่นคง และสิทธิมนุษยชน จาก UNDP และดร. Georgina LLOYD ผู้ประสานงานระดับภูมิภาคด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จาก UNEP  

มูลนิธิคุณรับช่วงในการอภิปราย เรื่อง “ศาลยุติธรรมกับบทบาทผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมตอน: การแยกขยะกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : บทบาทและพฤติกรรมประชาชนในการจัดการขยะและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยมีพี่ก้อง สหรัถ สังคปรีชา และผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณปรเมศร์ รักการงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานด้านความยั่งยืนในภาคการเงินการธนาคาร และดร. คมวัชร เอี้ยงอ่อง ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ปิดท้ายด้วยการบรรยายเรื่อง “ความสำคัญของร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม รองประธานคนที่ 1 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด

คุณปรางค์ทิพย์ อนันตวิภาต หรือคุณจิ๋ว ประธานมูลนิธิคุณ กล่าวว่าที่ผ่านมาเวลาทำกิจกรรมจะเน้นทำกับเด็ก ๆ และจากการที่มูลนิธิคุณทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างต่อเนื่อง มีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ผ่านดาราศิลปิน และสื่อมวลชน ทำให้มีพันธมิตรใหม่ๆ หลายหน่วยงานเข้าร่วมด้วย ดังเช่นในวันนี้ที่มูลนิธิคุณได้รับโอกาสที่สำคัญมาก ๆ ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งทุกวันที่ 21 เมษายนของทุกปีจะเป็นวันศาลยุติธรรม และบังเอิญมากที่วันที่ 21 ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ การจัดกิจกรรมปีนี้เลยต้องเลื่อนมาจัดในวันที่ 22 เมษายน ซึ่งตรงกับวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day พอดี กิจกรรมที่มูลนิธิคุณทำอยู่จึงตรงกับกิจกรรมของศาลปีนี้พอดีเลย มูลนิธิคุณต้องขอขอบคุณ ท่านผู้พิพากษา ฐิดารัตน์ นรินทรางกูร ณ อยุธยา ที่เห็นคุณค่าในสิ่งที่มูลนิธิคุณพยายามทำเรื่องรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด 

 

ก้อง สหรัถ สังคปรีชา กล่าวว่าที่ได้มาร่วมช่วยงานนี้เพราะเห็นคุณจิ๋ว ปรางค์ทิพย์ ของมูลนิธิคุณตั้งใจและมุ่งมั่นช่วยรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมมานานหลายปี และก้องเองก็เห็นด้วยว่าการรณรงค์เรื่องการแยกขยะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ง่ายมาก ๆ แต่ผู้ใหญ่หลายคนไม่ใส่ใจและไม่คิดว่าจำเป็นต้องทำ ผมเห็นคนใกล้ตัวจับโยนทุกสิ่งทุกอย่างใส่ถังขยะเดียวกัน ไม่ว่าจะขยะเปียกพวกเศษอาหาร ก็เอาพวกขยะอันตรายและขยะสะอาดพวกกระดาษหรือขวดน้ำเปล่าจับโยนทิ้งไปรวมกับขยะเศษอาหารหมด ของที่สะอาดก็กลายเป็นสกปรก ผมเคยคิดกับตัวเองว่าแต่ก่อนเราก็ทำแบบนี้ แต่ผมก็จำไม่ได้ว่าอะไรที่ทำให้เราเริ่มแยกขยะ และเริ่มแยกขยะตั้งแต่เมื่อไหร่ผมนึกไม่ออก แต่ก็เริ่มมานานแล้ว ถ้างานในวันนี้จะทำให้มีคนมาตั้งใจเริ่มแยกขยะและถือว่าเป็นวันเริ่มต้นของการทำสิ่งดี ๆ เล็ก ๆ เพื่อสิ่งแวดล้อมของเรา ก็จะดีมากเลยครับ เพราะพอดีงานวันนี้เป็นวันคุ้มครองโลก หรือวัน Earth Day ทุกท่านในงานวันนี้ก็จะได้มีจุดเริ่มในใจเลยว่าวันนี้นี่แหละที่ทุกคนมาช่วยคุ้มครองโลกกัน เริ่มจากง่าย ๆ ใกล้ตัวกันก่อนเลยครับ มาแยกขยะหรือประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ พวกสิ่งยาก ๆ ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าไปซีเรียส เพราะการช่วยโลกควรทำอะไรก็ได้ที่ไม่ยากเกินไปสำหรับเรา เริ่มต้นแค่นี้ก่อนได้ครับ  

 

อย่างวันนี้ผมขอบคุณทางจุฬาและมูลนิธิคุณมาก ๆ ครับที่ช่วยออกแบบ Hero ของผู้พิทักษ์โลกให้ผมเป็น Green man ซึ่งความหมายคือ ผมเป็นคนที่ช่วยเซฟโลกจากการนำขยะเศษอาหารทิ้งในถังขยะสีเขียว เหมือนทางคุณจิ๋วเค้าจะรู้ว่าที่บ้านผม เราจะช่วยกันแยกขยะเศษอาหาร ไม่เอาไปรวมกับพวกกระดาษหรือพลาสติก เรื่องง่าย ๆ แค่นี้เองครับ พวกเราก็จะเป็น Hero กันได้ 


คุณปรเมศร์ รักการงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนทางการเงิน กล่าวบนเวทีโดยสรุปเนื้อหาในส่วนที่มาของการพัฒนาด้านความยั่งยืนในระดับนานาชาติ โดยคุณหนึ่ง ปรเมศร์ ที่ทำงานด้านนี้มานานได้กล่าวถึงเป้าหมายของประเทศไทยที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 และการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี พ.ศ. 2608  


 

คุณปรเมศร์ ให้สัมภาษณ์ว่า “ผลกระทบที่อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.4 องศาเซลเซียสมีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ การพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรจำเป็นต้องบูรณาการหลักการของ Environment, Social, Governance (ESG) เข้ากับการบริหารเศรษฐกิจเพื่อสร้างความต่อเนื่องและสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย” คุณปรเมศร์ยังได้กล่าวถึงผลกระทบจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศว่า “ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 19 ของโลกในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ต้องเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอันดับที่ 9 ของโลก” ในการบรรยาย คุณปรเมศร์ได้อธิบายถึงมาตรการต่างๆ ที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เช่น CBAM, Thailand Taxonomy, และมาตรฐานการรายงานต่างๆ และในตอนท้าย ได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของภาคการเงินในการผลักดันการพัฒนาความยั่งยืน โดยการใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่น Green Bond และ Sustainable-linked loan

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง