รีเซต

เช็คเงิน ธ.ก.ส. โอนเงินประกันรายได้ข้าว ปี 2565/66 งวดแรก 24 พ.ย. 65

เช็คเงิน ธ.ก.ส. โอนเงินประกันรายได้ข้าว ปี 2565/66 งวดแรก 24 พ.ย. 65
Ingonn
25 พฤศจิกายน 2565 ( 06:59 )
36.8K
4
เช็คเงิน ธ.ก.ส. โอนเงินประกันรายได้ข้าว ปี 2565/66 งวดแรก 24 พ.ย. 65

ธ.ก.ส. โอนเงินเงินประกันรายได้ข้าว ปี 2565/66  งวดแรก 24 พ.ย. 65 ครม.อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว  ปี 2565/66 พร้อมมาตรการคู่ขนานเงินเยียวยาเกษตรกร อนุมัติวงเงิน 81,266 ล้านบาท เช็คเงินเกษตรกร เข้างวดแรก 24 พ.ย. 65

เงินช่วยเหลือเกษตรกร

เช็คเงินช่วยเหลือเกษตรกร ธ.ก.ส. จะเริ่มจ่ายเงินตามมาตรการ โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 โดยเฉพาะเกษตรที่เข้าร่วมโครงการประกันรายได้ข้าวที่ปลูกข้าวตั้งแต่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2565 และเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ภาคใต้จะต้องปลูกระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน - 28 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวนเงินกว่า 4,516 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส. จะโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรโดยตรง พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 และโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2565/66 โดยสนับสนุนเงินให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาทต่อครัวเรือน โดยในวันพรุ่งนี้ (24 พ.ย. 2565) จะโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกร รวม 804,017 ครัวเรือน จำนวนเงินกว่า 10,015 ล้านบาท  

 

เกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชั่น ธ.ก.ส. A-Mobile และ A-Mobile Plus ตลอด 24 ชั่วโมงรวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ

 

เงินช่วยเหลือเกษตรกรเข้าวันไหน

  • งวดที่ 1 - งวดที่ 6 ธ.ก.ส. จะจ่ายเงินได้ในวันที่ 24 พ.ย. นี้ ครอบคลุมกลุ่มเกษตรกรร้อยละ 73 ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร
  • สำหรับในงวดที่ 7 - งวดที่ 33 จะประกาศทุก 7 วัน

 

เช็คประกันรายได้ข้าว 2565/66

โครงการประกันรายได้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66  เป้าหมายเกษตรกร 4.68 ล้านครัวเรือน โดยเป็นการจ่ายส่วนต่างระหว่างราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง (ราคาตลาด)  และราคาประกันรายได้ (10,000 -15,000 บาทต่อตัน ตามชนิดข้าว) วงเงิน รวม 18,700.13 ล้านบาท

 

ราคาประกันรายได้ข้าว 2565/66

  • ข้าวหอมมะลิ ราคา 15,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 14 ตัน/สิทธิ/ครัวเรือน
  • ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 16 ตัน/สิทธิ/ครัวเรือน
  • ข้าวปทุมธานี ราคา 11,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 25 ตัน/สิทธิ/ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 10,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 30 ตัน/สิทธิ/ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 12,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 16 ตัน/สิทธิ/ครัวเรือน

 

ขอให้เกษตรกรติดตามการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าภายใน www.dit.go.th วิทยุชุมชน หรือเสียงตามสาย

 

เงินประกันรายได้ข้าว 2565/66 เข้าวันไหน

จ่ายเงินส่วนต่าง 33 งวด

  • งวดแรก : เก็บเกี่ยวก่อน 15 ต.ค.65
  • งวดถัดไป : ทุก 7 วัน
  • โอนเข้าบัญชีชาวนาโดยตรงภายใน 3 วันทำการ

 

เงื่อนไขการรับสิทธิประกันรายได้ข้าว

  1. ตามวันที่แจ้งเก็บเกี่ยว (ไม่ซ้ำแปลง)
  2. ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด และรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด
  3. แจ้งเก็บเกี่ยวช่วงเวลาต่างกัน ได้รับสิทธิตามชนิดข้าวที่เก็บเกี่ยวก่อน

 

 

เงินช่วยเหลือเกษตรกร โครงการคู่ขนาน

มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 ประกอบด้วย 3 โครงการ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวไม่ให้ตกต่ำ รวม 7,482.69 ล้านบาท ได้แก่

  1. โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 วงเงิน 7,107.69 ล้านบาท เป็นการจ่ายสินเชื่อเพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก รวมทั้งค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวในอัตรา 1,500 บาทต่อตัน



  2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66 เป็นการสนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหการณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เกษตรกรทั่วไป เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป  วงเงิน 375 ล้านบาท

    กำหนดวงเงินกู้สำหรับสหกรณ์การเกษตรแห่งละไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรแห่งละ ไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนแห่งละไม่เกิน 5 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อรวม 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งคิดจากสถาบันฯ เพียงร้อยละ 1 ต่อปี ระยะเวลาการจ่ายสินเชื่อ ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ธันวาคม 2566



  3. โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการให้เก็บสต็อกในรูปแบบข้าวเปลือกและข้าวสาร  เป้าหมายเพื่อดูดซับ 4 ล้านข้าวเปลือก  เก็บสต็อกไว้อย่างน้อย 60-180 วัน (2-6 เดือน)  นับตั้งแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3  ใช้จ่ายจากงบปกติของกรมการค้าภายในหรือเงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

 

 

ข้อมูล กระทรวงการคลัง

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง