รีเซต

ไขข้อสงสัย! พายุแต่ละชื่อมีที่มาจากไหน

ไขข้อสงสัย! พายุแต่ละชื่อมีที่มาจากไหน
TNN ช่อง16
8 ตุลาคม 2564 ( 17:44 )
189

หลายคนเคยสงสัยไหมคะ ว่าพายุแต่ละลูกที่มีความรุนแรงที่เราพบเจอมีประเภทไหนบ้าง  รู้จักประเภทพายุ ภัยธรรมชาติสุดน่ากลัว และมันมีชื่อและที่มาที่ไปยังไง วันนี้ TNN ขอพาทุกคนไปรู้จักกับที่มาที่ไป การตั้งชื่อพายุแต่ละชนิดว่ามีหลักการอย่างไร แล้วใครไปคนตั้ง วันนี้เรามาไขคำตอบไปพร้อมกันค่ะ


การตั้งชื่อของพายุแต่ละชนิดเดิมทีแล้วประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้ตั้งชื่อของพายุทั่วโลกมาโดยตลอด เพราะยังถือเป็นประเทศเดียวที่ยังมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีทางดาวเทียม สภาพอากาศและการดูความเคลื่อนไหวของพายุแต่ละชนิด 


ในอดีต การตั้งชื่อของพายุมักจะใช้ชื่อผู้หญิง เพื่อให้ฟังดูแล้วอ่อนโยน ซึ่งจะทำให้ดูมีความรุนแรงน้อยลง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2000 ได้มีการเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศได้เสนอชื่อพายุคนละ 10 ชื่อ โดยกำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในการตั้งชื่อพายุแต่ละลูก ซึ่งเกณฑ์การตั้งชื่อพายุแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไป ประเทศไทยตั้งอยู่ในโซนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ


เกณฑ์การตั้งชื่อพายุแต่ละชนิดมีอะไรบ้าง


  • หากพายุนั้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 63 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุลูกนั้นจะสามารถตั้งชื่อได้
  • ชื่อของพายุจะถูกเรียกตามคอลัมน์แรกที่ตัวบนสุด และจะวนต่อไปเรื่อยๆจนถึงคอลัมน์สุดท้าย
  • เมื่อเกิดพายุตัวต่อไปขึ้นและมีความเร็วลมใกล้เส้นที่กำหนด พายุลูกนั้นจะถูกใช้ชื่อถัดลงมาจากคอลัมน์ที่ 1
  • เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์แล้ว พายุลูกต่อไปที่เกิดขึ้นจะใช้ชื่อจากคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป
  • เมื่อใช้ครบทั้ง 5 คอลัมน์แล้วให้วนกลับมาใช้ที่คอลัมน์แรกอีกครั้ง


ประเทศไทยตั้งอยู่ในโซนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้แก่ จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ กัมพูชา ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย และไมโครเนีย ซึ่งจะแบ่งพายุเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ โดยจะเริ่มจากอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากประเทศกัมพูชาเป็นประเทศแรก และปิดท้ายด้วยประเทศเวียดนามเป็นประเทศสุดท้าย

ภาพจาก : ความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก : ความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน กรมอุตุนิยมวิทยา


ภาพจาก : ความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก : ความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน กรมอุตุนิยมวิทยา


ภาพจาก : ความหมายและที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน กรมอุตุนิยมวิทยา


ทั้งนี้ ประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อเป็นตัวแทนในการเสนอชื่อพายุภาษาไทยจนได้ชื่อตามลำดับ ได้แก่ พระพิรุณ, ทุเรียน, วิภา, รามสูร, เมขลา, มรกต, นิดา, ชบา, กุหลาบ และ ขนุน


ที่มาข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th/ 

ที่มาภาพ : AFP, กรมอุตุนิยมวิทยา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง