จับตาพายุกลางปี! เสี่ยงฝนถล่ม น้ำท่วมหลายพื้นที่

ในช่วงกลางปีนี้ อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ปริมาณฝนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น คือ พายุหมุนเขตร้อน ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงตุลาคม ที่มีโอกาสสูงที่สุดที่พายุจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย
จากข้อมูลสถิติย้อนหลังพบว่า ประเทศไทยมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามาโดยเฉลี่ย ประมาณ 3–4 ลูกต่อปี โดยเดือนที่พายุเคลื่อนเข้าสู่ไทยมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่
1. ตุลาคม สูงสุดถึง 56 ลูกในรอบ 74 ปี
2. กันยายน 55 ลูก
3. พฤศจิกายน
4. สิงหาคม
พายุมีผลกระทบต่อภาคใดมากที่สุด?
พื้นที่ที่มักได้รับผลกระทบจากพายุมากที่สุดคือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณตอนบนของภาค
• พฤษภาคม – มิถุนายน: พายุที่เคลื่อนเข้ามาช่วงนี้ส่วนใหญ่จะมาจากทิศตะวันตก เคลื่อนเข้าสู่ภาคเหนือตอนบน
• มิถุนายน – กรกฎาคม: พายุเปลี่ยนทิศทางมาจากด้านตะวันออก เคลื่อนขึ้นไปทางเหนือ มีแนวโน้มส่งผลต่อภาคอีสานตอนบน
• สิงหาคม – กันยายน: เป็นช่วงที่พายุเคลื่อนเข้าสู่ภาคอีสานมากที่สุด
• ตุลาคมเป็นต้นไป: เส้นทางพายุเริ่มขยับลงใต้ มักส่งผลกระทบต่อภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน
• พฤศจิกายน – ธันวาคม: โอกาสที่พายุจะเคลื่อนเข้าสู่ภาคเหนือและอีสานลดลง เนื่องจากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นจากจีน ระบบอากาศในช่วงปลายปีนี้ไม่เอื้อต่อการเคลื่อนตัวของพายุขึ้นสู่ตอนบนของประเทศ
พยากรณ์ปีนี้ คาดการณ์พายุเข้าไทย 1–2 ลูก ต้องจับตาใกล้ชิด
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ปี 2568 (2025) ประเทศไทยจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้ามาประมาณ 1–2 ลูก ในช่วงเดือน สิงหาคมถึงกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะอาจส่งผลให้เกิด ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน หรือดินถล่ม ได้ในบางพื้นที่
การติดตามข่าวสารและประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงกลางปีถึงปลายปีที่มีโอกาสเกิดพายุสูง ประชาชนควรเตรียมความพร้อม รับมือกับสภาพอากาศแปรปรวน และวางแผนการใช้ชีวิตและการเกษตรให้สอดคล้องกับพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด
Tag
ยอดนิยมในตอนนี้
