รีเซต

ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศคลายล็อก ฟื้นธุรกิจ มีผล 1 ต.ค.นี้

ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศคลายล็อก ฟื้นธุรกิจ มีผล 1 ต.ค.นี้
TNN ช่อง16
30 กันยายน 2564 ( 08:20 )
47
ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศคลายล็อก ฟื้นธุรกิจ มีผล 1 ต.ค.นี้

30 กันยายน 2564   เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  (ฉบับที่ 34)


ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563  และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ นั้น


โดยที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยมีแนวโน้มของสถานการณ์ คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ด้วยมีจํานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในระดับคงที่ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ในขณะที่จํานวนผู้ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลดังกล่าวมาจากการดําเนินงานในลักษณะบูรณาการและประสานความร่วมมือของพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน ทุกภาคส่วนเพื่อการระดมสรรพกําลังในการควบคุมและป้องกันโรค ทั้งการบริการฉีดวัคซีนให้เป็นไป ตามแผน การตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก การกระจายชุดตรวจเพื่อการตรวจหาเชื้อด้วยตนเอง และการดําเนินการและกํากับดูแลเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคในระยะยาวตามที่ได้ ประกาศไว้แล้ว


เช่น มาตรการควบคุมโรคโควิด - 19 แนวใหม่เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างปลอดภัย มาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล หรือมาตรการปลอดภัยสําหรับองค์กร ซึ่งฝ่ายสาธารณสุข และหน่วยงานที่รับผิดชอบได้รายงานผลการประเมินสถานการณ์ว่า หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนค่อนข้างมีประสบการณ์และความพร้อม ประกอบกับหน่วยงานและบุคลากร ด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทยมีศักยภาพ ความชํานาญ และมีประสิทธิภาพครอบคลุม การตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย และมีความพร้อม รับมือกับสถานการณ์หากมีจํานวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จึงสามารถปรับมาตรการ


โดยผ่อนคลายความเข้มงวดบางกรณีให้มีความเหมาะสม โดยกําหนดมาตรการควบคุมเท่าที่จําเป็น ตามระดับพื้นที่ของสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ยังจําเป็นต้องติดตามกํากับดูแลทั้งบุคคล สถานที่ การดําเนินกิจการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ภายใต้ เงื่อนไขของการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคในระยะยาว เพื่อการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ การฟื้นฟูและพัฒนาประเทศในระยะยาว ควบคู่กับการป้องกันและควบคุมโรคอย่างสมดุลและยั่งยืน


อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9  แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคําแนะนําของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) 



ข้อ 1 การกำหนดพื้นที่สถานการณ์จำแนกตามเขตพื้นที่จังหวัด ตามบัญีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิดที่ 11/2564 ลงวันที่ 1 ส.ค.2564


ข้อ 2 การปรับเวลาการห้ามออกนอกเคหสถานสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามบุคคลใดในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00น. -04.00น. ของวันรุ่งขึ้น ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 15 ต.ค.2564


ข้อ 3 การขยาายเวลาการบังคับใช้มาตรการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ไปจนถึงวันที่ 15 ต.ค.2564


ข้อ 4 การปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด


- โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท สามารถใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อจัดการเรียน การสอบ การฝึกอบรม หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้


- สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์เด็กพิเศษ สถานที่ให้การดูแล หรือสถานสงเคราะห์อื่นที่เป็นการจัดสวัสดิการให้แก่เด็ก ให้เปิดดำเนินการได้


- ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถเปิดให้บริการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มได้ไม่เกิน 21.00 น. โดยห้ามบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านและจำกัดจำนวนผู้บริโภคในร้าน หากเป็นการบริโภคในห้องปรับอากาศให้มีจำนวนผู้นั่งบริโภคไม่เกิน 50% ของจำนวนที่นั่งปกติ แต่หากเป็นพื้นที่เปิด อากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้มีจำนวนผู้บริโภคไม่เกิน 75% ของจำนวนที่นั่งปกติ


ทั้งนี้ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มจัดให้มีการแสดงดนตรีได้ ไม่เกิน 5 คน และนักร้อง นักดนตรีที่ใช้เครื่องเป่า ถอดหน้ากากอนามัยได้


- ร้านสะดวกซื้อ ตลาดสด ตลาดนัด เปิดได้ตามเวลาปกติ จนถึง 21.00 น. แต่สำหรับร้านสะดวกซื้อให้ปิดให้บริการระหว่างเวลา


- ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ทุกประเภท ให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการไม่เกิน 75% ของจำนวนผู้ใช้บริการปกติ


- โรงภาพยนตร์ เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น. และจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการไม่เกิน 50%


- สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผม ร้านทำเล็บ และร้านสัก เปิดบริการได้ถึง 21.00 น.


- สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา หรือการนวดแผนไทย เปิดดำเนินการและให้บริการผ่านนัดหมาย โดยจำกัดเวลาให้บริการไม่เกินรายละ 2 ชั่วโมง จนถึง 21.00 น.


- สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระว่ายน้ำ สถานที่ออกกำลังกาย ให้เปิดได้ไม่เกิน 21.00 น.


- การใช้สถานที่เพื่อจัดการแข่งขันกีฬา ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณาตามความเหมาะสม


- ห้างสรรพสินค้าและสถาบันกวดวิชา สามารถเปิดดำเนินการได้


- การถ่ายทำภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ สามารถทำได้ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการและแนวปฏิบัติตามที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้า


- โรงละคร ให้ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณาแล้วแต่กรณี ต้องไม่เกิน 21.00 น. และจำกัดผู้แสดงและเจ้าหน้าที่รวมไม่เกิน 50 คน


ข้อ 5 การเตรียมการเปิดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 


ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2564 เป็นต้นไป





อ่านประกาศฉบับเต็ม






ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง