รีเซต

หมอธีระวัฒน์เตือนโควิด-19 แพร่เชื้อเก่งกว่าไข้หวัดใหญ่

หมอธีระวัฒน์เตือนโควิด-19 แพร่เชื้อเก่งกว่าไข้หวัดใหญ่
มติชน
5 เมษายน 2563 ( 09:21 )
185
หมอธีระวัฒน์เตือนโควิด-19 แพร่เชื้อเก่งกว่าไข้หวัดใหญ่

หมอธีระวัฒน์เตือนโควิด-19 แพร่เชื้อก่อนเกิดอาการ แนะตรวจคัดกรองคนไม่มีอาหาร ตัดลูกโซ่ของการแพร่ระบาดการแพร่ระบาด เผยการแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคน (R0) เก่งกว่าไข้หวัดใหญ่ธรรมดา

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha แนะเรื่องการตรวจหาผู้ป่วยโควิด-19ว่า


#
สำหรับประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

การแพร่เชื้อตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดอาการ
(Presymptomatic transmission)

ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
5/4/63

รายงานการสืบสวนสอบสวน Morbidity and Mortality Weekly Report 1 เมษายน 2563
เป็นรายงานจากประเทศสิงคโปร์ระหว่างวันที่ 23 มกราคม จนถึง 16 มีนาคม 2563
ตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของการแพร่จากคนที่ติดเชื้อ ก่อนที่จะเกิดอาการ ไปให้ผู้อื่น
(นอกจากนั้นในหลายรายงานทั่วไปจนกระทั่งถึงในประเทศไทยพบคนที่แพร่เชื้อโดยที่ไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้นเช่นกัน)

จากรายงานนี้พบ 7 กระจุก (cluster) ของผู้ติดเชื้อ ที่แพร่ไปสู่ผู้อื่น ก่อนที่ตนเองจะมีอาการ
กระจุก A
ผู้หญิงอายุ 55 ปี A1 ผู้ชายอายุ 56 A2 นักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเดินทางมาถึงประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 19 มกราคม ได้ประกอบกิจกรรม ที่โบสถ์ในวันนั้น
A1 มีอาการวันที่ 22 และA2 มีอาการวันที่ 24
ผู้ป่วย A3 A4 A5 ที่ได้ไปโบสถ์ในวันเดียวกันมีอาการวันที่ 23 และ 30 มกราคมและ 3 กุมภาพันธ์

การแพร่ที่เกิดขึ้นในอีก 6 กระจุก มีลักษณะคล้ายกันโดยคนแพร่ ติดจากเพื่อนหรือคนใกล้ชิด(ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการ) แล้วหลังจากนั้นแพร่ไปให้ เพื่อนหรือครอบครัวตนเอง ในขณะที่ตนเองไม่มีอาการใดๆ และต่อมาถึงค่อยเกิดอาการภายหลัง

ดังนั้นการจะควบคุมโรคให้ได้ผลจะต้องหยุดยั้งการแพร่เชื้อในลักษณะนี้ให้ได้นั่นก็คือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถกลับเข้าสู่สถานการณ์ใกล้ปกติได้เลย

ลักษณะการแพร่เป็นกระจุกในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งแพร่เชื้อปล่อยให้คนหรือกลุ่มคนเป็นชั้นๆ เรื่อยไป สามารถดูการรายงานจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นรายงาน real time โดยระบุสถานที่ วันที่เกิด เพื่อเป็นการติดตามและเป็นการประกาศให้ประชาชนที่อยู่ในสถานที่หรือเหตุการณ์ดังกล่าวรายงานต่อทางการเพื่อติดตามผู้สัมผ้ส พร้อมทั้งสังเกตอาการของตนเองโดยทันทีและเริ่มแยกตัวออกจากคนอื่น

 

#สำหรับประชาชนทั่วไป
ความสำคัญที่ต้องรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล
ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
5/4/63
https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/69/wr/mm6914e1.htm…

https://youtu.be/FVIGhz3uwuQ

การที่นำวิดีโอนี้มาแสดงรวมทั้งเนื้อหาในวิดีโอคลิปนี้ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อทำให้กังวลมากเกินเหตุ เพราะนาทีนี้เราเริ่มเข้าใจโรคนี้มากขึ้นแล้ว
ที่สำคัญคือ ในวิดีโอคลิปนี้เป็นการอธิบายชัดเจนถึงความสำคัญที่เราจะต้องรักษาระยะห่างจากการกันและกัน
เพราะเราไม่ทราบว่าเราติดเชื้อหรือไม่หรือคนรอบตัว เราติดหรือไม่โดยที่ยังไม่มีอาการแต่แพร่ได้
และเป็นการอธิบายชัดเจนว่าเราไม่สามารถคิดโควิด-19 เป็นเหมือนไข้หวัดใหญ่ได้ ซึ่งจะทำให้เราไม่เห็นความสำคัญของsocial distancing มากเท่าที่ควรจะเป็น
โควิด-19 มีระยะฟักตัวก่อนที่จะเกิดอาการอย่างน้อย 14 วันและในระหว่างนั้นสามารถแพร่เชื้อโดยไม่มีอาการได้

ความสามารถของการแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคน (R0) เก่งกว่าไข้หวัดใหญ่ธรรมดาแม้ดูตัวเลขไม่แตกต่างกันมากดูการอธิบายในวิดีโอนี้ จะเห็นได้ว่า ตัวเลขต่างกันเพียงเล็กน้อยทำให้เกิดคนติดเชื้อใหม่มากมายมหาศาล

โรคนี้เป็นโรคใหม่เราไม่เคยมีภูมิคุ้มกันมาก่อนดังนั้นเท่ากับไม่มีเกราะป้องกันให้กับตัวเราเองและเกราะสำหรับประชาชนทั่วไป
ทำให้แพร่กระจายไปได้เร็ว และอธิบายว่าเมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้นแล้ว อาจทำให้อาการหนักขึ้นจนถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาล 20 ถึง 30% เมื่อเทียบกับ 2 % ในไข้หวัดใหญ่

(ข้อสำคัญคือในโรงพยาบาล ญาติที่เข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยต้องมีการระวังไม่ให้แพร่เชื้อให้คนป่วย ในโรงพยาบาลอีก ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว)

# สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและบุคคลทั่วไป
4/4/63
ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ข้อมูลการตรวจหาเชื้อ ในประเทศต่างๆ ต้องตรวจทั้ง “คนมีอาการ” และทั้งคนที่อาการน้อยหรือ “ไม่มีอาการ “ เพื่อต้องการตัดลูกโซ่ของการแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งหรือหลายคน
การตรวจ เฉพาะคนมีอาการ จะไม่มีวัน ตัดการแพร่ระบาดไปได้

การหาคนติดเชื้อ ไม่ได้หมายความว่า

1-ตรวจเพียงครั้งเดียว อาจต้องทำการตรวจหลายครั้ง ถ้าได้ผลไม่ชัดเจน หรือเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการปล่อยเชื้อแล้ว
ในประเทศไทยเองทั้งๆที่มีอาการ ตรวจหา 2-3 ครั้งยังไม่เจอก็มี แม้ในบุคลากรทางการแพทย์เอง

2- การตรวจยังต้องคลอบคลุมจนไปถึง คนที่ ดูปกติ และเป็นผู้แพร่เชื้อ ที่แข็งแรงและไม่มีอาการ แต่อาจนำเชื้อไปให้ผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ขี้โรค มีโรคประจำตัว
ประเด็นท้าทาย:
นั่นก็คือ ต้องคัดเลือก คนที่ดูปกติ ที่มี
โอกาศติดเชื้อ และมีโอกาศแพร่เชื้อง่าย มาตรวจให้ได้หมด และกันไม่ให้ติดใหม่

ประเทศที่ทำสำเร็จ เช่น:
การตรวจเข้มข้น ในระยะตั้งแต่เริ่มต้น ที่เขื้อไม่ได้ตั้งตัวเป็นหลักแหล่ง โดยไม่ต้อง ล็อกดาวน์ เช่นในประเทศ เกาหลี
ประเทศจีน ล็อกดาวน์ หลังจากระบาดเป็นเรื่องเป็นราว ใช้ CT สแกนปอด ร่วมกับ PCR และมีการตรวจเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ป้องกัน ระบาดซ้ำ ทั้งจากนอกประเทศและในประเทศในกลุ่มที่มี แพร่เชื้อซ้ำสอง
ประเทศไทย ……..????

แนะนำเอกสารจาก
ดร sudarat dumrongwatanapokin
(ข้อความด้านบนไม่ได้นำมาจากเอกสารฉบับนี้ อย่างเดียว)

COVID-19 Testing Trends – Globally & Regionally

ข่าวที่เกี่ยวข้อง