รีเซต

"CEO ซีพีเอฟ" เป็นตัวแทนเครือ CP และภาคเอกชนไทย ร่วมหารือประเด็นความมั่นคงทางอาหาร

"CEO ซีพีเอฟ" เป็นตัวแทนเครือ CP และภาคเอกชนไทย ร่วมหารือประเด็นความมั่นคงทางอาหาร
TNN ช่อง16
18 พฤศจิกายน 2565 ( 19:59 )
90

การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และประกาศจุดยืนโมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือ นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ- เศรษฐกิจหมุนเวียน- เศรษฐกิจสีเขียว ร่วมผลักดันความมั่งคั่งและการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นตัวแทนเครือเจริญโภคภัณฑ์และภาคเอกชนจากประเทศไทย ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหาร "Meeting the World's Food Security Challenge" ในเวที APEC CEO SUMMIT 2022 ร่วมกับผู้นำภาคประชา

สังคมที่ขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน Paul Gliding และบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำของแคนาดา Evolved Meats

CEO ประสิทธิ์ กล่าวว่า การทำธุรกิจในปัจจุบันเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมไปถึงการจัดการกับการอุบัติใหม่ของโรคระบาด เรื่องของความยั่งยืนทางอาหาร จึงเป็นอีกความท้าทายเร่งด่วนที่ผู้นำและนักธุรกิจทั่วโลกจะต้องหาแนวทางในการสร้างโลกที่ยั่งยืนในทุกมิติ


สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลทำให้การผลิต การขนส่ง และระบบซัพพลายเชนที่เคยทำได้หยุดไป ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางด้านอาหาร ยกตัวอย่างในเอเชีย กรณีของสิงคโปร์ที่มีปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหาร รวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความไม่เพียงพอของอาหารมากยิ่งขึ้น ทุกประเทศจึงหารือกันว่าควรให้ความสำคัญเรื่องความเพียงพอของอาหารมากยิ่งขึ้น

เวทีเอเปคในครั้งนี้ สะท้อนจุดยืนของประเทศไทยได้ดีมาก เพราะประเทศไทยยึดเรื่องของ BCG ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นระดับโลกที่ทุกคนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง การที่ประเทศไทยยกเรื่องนี้เป็นประเด็นหลักแสดงให้เห็นว่าเราให้ความสำคัญต่อเรื่องของสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ประเทศไทย มีเรื่องของการส่งออกอาหารที่ดีอยู่แล้ว อาหาร (Food) ความยั่งยืน (Sustainability) สิ่งแวดล้อม (Environment) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกัน เราได้ใช้โอกาสนี้ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีมากแสดงจุดยืนต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชากรโลกและลูกค้าในประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าอาหารไทย ประมาณ 35 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท ดังนั้น ปัญหาการขาดแคลนอาหารที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จึงทำให้เราได้รับผลกระทบน้อยกว่าประเทศอื่นๆ มาก และการที่เราได้ใช้โอกาสแสดงบทบาทบนเวทีนี้ เป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และจะส่งผลดีกับทุกบริษัทที่อยู่ในประเทศด้วย


สำหรับความท้าทายที่สุดตอนนี้ คือ เรื่องของความไม่แน่นอน เรามีโควิด-19 และไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นอีกหรือไม่ สถานการณ์ยูเครน หรือระบบโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็น Globalization ผมเชื่อว่าในอนาคตภาพของการบริหารจัดการอาหารแต่ละประเทศจะเปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนเดิม ทุกประเทศต้องการความมั่นคงทางอาหาร เพราะฉะนั้นนี่คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต

CEO ซีพีเอฟ กล่าวด้วยว่า การทำธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ได้มองเพียงผลกำไร แต่ต้องมองในเรื่องการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับความยั่งยืน โดยมองว่าธุรกิจจะเติบโตและประสบความสำเร็จได้ ถ้าปรับตัวตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของอุตสาหกรรมและผู้บริโภคได้ทันสถานการณ์ สิ่งสำคัญคือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย นำระบบดิจิทัล AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและความสำเร็จของธุรกิจอาหาร


ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำในฐานะบริษัทฯ หรือผู้นำประเทศ จะต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาเพิ่มการผลิตอาหาร หาโอกาสในการใช้เครื่องจักรเพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอแม้ว่าราคาอาจจะสูง แต่ต้องมั่นใจว่าทุกประเทศจะมีอาหารอย่างเพียงพอ ที่สำคัญกระบวนการผลิตต้องเป็น

มิตรต่อสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง