รีเซต

"บัตรทอง" ใครมีสิทธิบ้าง? เช็กขั้นตอนตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลง่ายๆ ด้วยตนเอง

"บัตรทอง" ใครมีสิทธิบ้าง? เช็กขั้นตอนตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลง่ายๆ ด้วยตนเอง
TNN ช่อง16
11 มิถุนายน 2565 ( 12:22 )
160
"บัตรทอง" ใครมีสิทธิบ้าง? เช็กขั้นตอนตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลง่ายๆ ด้วยตนเอง

พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำหนดให้คนไทยทุกคนมีสิทธิ ได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มี "กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ส่งเสริมให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งขาติ (สปสช.) ทำหน้าที่บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

"สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" หรือ "สิทธิบัตรทอง หรือสิทธิ 30 บาท" เป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิด และตลอดช่วงชีวิต (ไม่ใช่สิทธิเพื่อการสงเคราะห์เฉพาะกลุ่ม)

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3 ข้อ คือ

1. เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย

2. มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

3. ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ (ที่ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของรัฐ) ได้แก่ สิทธิตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง

ใครบ้างมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ?

- เด็กแรกเกิด ที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการจากบิดามารดา

- บุตรข้าราชการที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไปหรือสมรส) และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ

- บุตรข้าราชการคนที่ 4 ขึ้นไป และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ เช่น สิทธิข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน

- ผู้ประกันตนที่ขาดการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (หมดสิทธิประกันสังคม)

- ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากราชการโดยมิได้รับบำนาญ

- ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตน

กลุ่มคนเหลานี้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามกฎหมาย และสามารถลงทะเบียนเพื่อเลือกหน่วยบริการประจำ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

***คนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศติดต่อกันมากกว่า 2 ปีขึ้นไป (ข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) หรือผู้ที่ลงทะเบียนเลือกตั้งในต่างประเทศ (ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง) 

จะสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งขาติต่อเมื่อเดินทางกลับมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแล้ว โดยประชาชนติดต่อแก้ไขสถานะบุคคล ณ หน่วยบริการโนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อยู่ใกล้บ้าน

4 วิธีเช็คสิทธิรักษาพยาบาล ทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

1.โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 2 

2.เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml

3.แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง

4.ไลน์ สปสช. @nhso หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

การลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ 

ประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะต้องลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตัวของตนเองที่จะเข้ารับบริการสาธารณสุขโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามสิทธิที่กำหนด 

อย่างไรก็ตามตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้น กรณีอยู่ต่างพื้นที่และเกิดเจ็บป่วยขึ้น สามารถเข้ารักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิในระบบบัตรทองที่อยู่ใกล้ได้ โดยไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัวเพื่อนำมายื่นในภายหลัง หรือถูกเรียกเก็บค่ารักษาเหมือนในอดีต โดยหน่วยบริการจะเรียกเก็บค่ารักษาจาก สปสช.แทน เป็นการเพิ่มคุณภาพและความสะดวกการรับบริการ ตามนโยบาย “ยกระดับบัตรทอง” 30 บาทรักษาทุกที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิ 

ตัวอย่างหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น 

สำหรับการลงทะเบียน สปสช.จัดระบบลงทะเบียนดังนี้ 

ติดต่อด้วยตนเองในวันและเวลาราชการ ที่ 

ต่างจังหวัด

- หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) หรือสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ 

- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 

- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1-12

กรุงเทพมหานคร

- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ กทม. 

หรือผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนี้ 

1.แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกทำรายการ "ลงทะเบียน เปลี่ยนแปลงหน่วยบริการ

2.ไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 มีแอดมินคอยรับเรื่องและรับเอกสารลงทะเบียนทางไลน์ 

หากต้องการเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ ต้องทำอย่างไร ? 

ประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเปลี่ยนหน่วยบริการประจำไปได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี 

(รอบปีงบประมาณ นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป)

เปลี่ยนหน่วยบริการได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน 

นำบัตรประจำตัวประชาชน สำหรับเด็กถ้าไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ให้ใช้สูติบัตร(ใบเกิด) แทน

กรณีที่อยู่อาศัยไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน แสดงหลักฐานเพิ่ม อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ 

- หนังสือรับรองการพักอาศัยจากเจ้าบ้าน พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน

- หนังสือรับรองจากผู้นำชุมชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้นำชุมชน 

- เอกสารหลักฐานแสดงที่ตั้งบริษัท/ห้างร้าน นายจ้าง/ผู้ว่าจ้างรับรองการพักอาศัยจริง พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ว่าจ้าง/ผู้รับจ้าง

- เอกสารหรือหลักฐานอื่น ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภคต่างๆ หรือสัญญาเช่าที่มีชื่อตนเองที่แสดงว่าพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ 

โดยติดต่อด้วยตนเองในวันและเวลาราชการ ที่ 

ต่างจังหวัด

- หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) หรือสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ 

- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 

- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1-12

กรุงเทพมหานคร

- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ กทม. 

หรือผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนี้ 

1.แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกทำรายการ "ลงทะเบียน เปลี่ยนแปลงหน่วยบริการ

2.ไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการ 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand



ข้อมูลจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ภาพจาก TNN ONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง