รีเซต

ศบค.เผยพบแรงงานต่างด้าว 42 ราย ป่วยโควิด-19 เพราะ เข้าค้นหาเชิงรุก เหตุ ศึกษาจากสิงคโปร์

ศบค.เผยพบแรงงานต่างด้าว 42 ราย ป่วยโควิด-19 เพราะ เข้าค้นหาเชิงรุก เหตุ ศึกษาจากสิงคโปร์
มติชน
25 เมษายน 2563 ( 13:05 )
89
ศบค.เผยพบแรงงานต่างด้าว 42 ราย ป่วยโควิด-19 เพราะ เข้าค้นหาเชิงรุก เหตุ ศึกษาจากสิงคโปร์

ศบค.เผยพบแรงงานต่างด้าว 42 ราย ป่วยโควิด-19 เหตุ เพราะ เข้าค้นหาเชิงรุก เหตุศึกษาจากสิงคโปร์

ศบค.ไม่หวั่น พบแรงงานต่างด้าวผิด กม.ป่วยโควิด-19 สูงถึง 42 ราย เพราะคนกลุ่มนี้อยู่ในแผนงานการค้นหาเชิงรุกตั้งแต่ต้น

เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล “โควิด-19” ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) แถลงข่าวความคืบหน้าของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สถานการณ์ในประเทศไทย จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 จำนวน 2,907 ราย พบใน 68 จังหวัด กรมควบคุมโรคได้ จัดอันดับจังหวัดที่มีอัตราป่วยสะสมสูงสุด 10 ลำดับแรกของประเทศไทย ได้แก่

1.กรุงเทพมหานคร(กทม.) ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 3 ราย รวมจำนวน 1,478 ราย
2.ภูเก็ต 201 ราย
3.นนทบุรี 152 ราย
4.สมุทรปราการ 111 ราย
5.ยะลา ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 8 ราย รวมจำนวน 106 ราย
6.ชลบุรี ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 3 ราย รวมจำนวน 87 ราย
7.ปัตตานี ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 12 ราย รวมจำนวน 79 ราย
8.สงขลา ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 19 ราย รวมจำนวน 44 ราย
9.เชียงใหม่ 40 ราย
10.ปทุมธานี 37 ราย
และ อยู่ในระหว่างสอบสวนโรค 40 ราย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า อัตราการป่วยต่อประชากรแสนคน จำแนกตามจังหวัดที่รับรักษา ในจำนวน 2,907 ราย 68 จังหวัด โดยนับผู้ที่อยู่ในสถานที่กับการของรัฐบาลจัดให้ สามารถจำแนกได้ดังนี้

1.ภูเก็ต อัตราส่วน 48.62 (คนต่อแสนประชากร)
2.กทม. มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 3 ราย อัตราส่วน 26.11
3.ยะลา มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 8 ราย อัตราส่วน 21.34
4.ปัตตานี มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 12 ราย อัตราส่วน 12.61
5.นนทบุรี อัตราส่วน 12.42
6.สมุทรปราการ อัตราส่วน 8.31
7.ชลบุรี มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัก 3 ราย อัตราส่วน 5.82
8.สตูล มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 18 ราย อัตราส่วน 5.58 (ในจำนวนนี้ไม่มีผู้ป่วยในพื้นที่)
9.สงขลา มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 19 ราย/แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 42 ราย อัตราส่วน 4.39
10.ชุมพร อัตราส่วน 4.11

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า หากแบ่งจังหวัดตามสี 5 สีทั่วประเทศไทย พบว่า

1.พื้นที่สีแดง จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยช่วง 7 วันที่ผ่านมา มี 14 จังหวัด ได้แก่ กทม. ชลบุรี นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ กระบี่ ชุมพร นราธิวาส ปัตตานี ภูเก็ต ยะลา และสงขลา

2.พื้นที่สีส้ม จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 7-14 วัน มีจำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร เลย ขอนแก่น นครพนม นครศรีธรรมราช พังงา และสตูล

3.พื้นที่สีเหลือง จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 14-28 วันที่ผ่านมา มีจำนวน 35 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สุพรรณบุรี เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก นครสวรรค์ พะเยา พิษณุโลก ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ตรัง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี

4.พื้นที่สีเขียวอ่อน จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 28 วันที่ผ่านมา มีจำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ราชบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ สุโขทัย อุทัยธานี มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด และอุดรธานี

5.พื้นที่สีเขียวเข้ม จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมาก่อน มีจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ตราด น่าร บึงกาฬ พิจิตร ระนอง สิงห์บุรี อ่างทอง และสตูล ไม่มีผู้ป่วยในจังหวัดแต่มีผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการกักกันในพื้นที่ที่รัฐบาลจัดไว้ให้(State quarantine)

“การจัดลำดับพื้นที่ 5 สี ถือว่าพื้นที่สีเขียวดีที่สุด และจากชุดข้อมูลพบว่ามีการตกอันดับไล่ลงมาจาก สีแดง ส้ม เหลืองและเขียว แต่ในรายงานที่พบผู้ป่วย รายใหม่ 7 วันที่ผ่านมา จะเรียกว่าไม่ดีก็ไม่ใช่ เพราะเนื่องจากส่วนหนึ่งเกิดจากการค้นหาเชิงรุก โดยพบผู้ป่วยใหม่กลุ่มนี้กระจุกตัวอยู่ที่ภาคกลางและภาคใต้ หากมีการปรับสีลงมาเรื่อยๆ เป็นเรื่องดี และในพื้นที่สีเขียวเข้มที่ต้องขอชื่นชมว่ายังไม่พบผู้ป่วยเลยในจังหวัด” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ข้อมูลการพบผู้ป่วยยืนยัน จำแนกตามรายภาคที่รับการรักษา พบว่าในภาคใต้มีจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีการพบผู้ป่วยที่เป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 42 ราย อยู่ใน จ.สงขลา และก็จะต้องดำเนินการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก(active case finding) และการพบผู้ป่วยในกลุ่มแรงงานผิดกฎหมาย เป็นกลุ่มที่รัฐบาลให้ความสำคัญตั้งแต่ต้น ดังนั้นการค้นหาและพบผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงไม่ได้ผิดจากเป้าหมายและแผนงานที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราคิดนั้นตรงกับสิ่งที่เราทำ

“จากนโยบายของท่านผู้อำนวยการ ศบค. ที่ทราบข่าวว่าประเทศสิงคโปร์พบผู้ป่วยในกลุ่มแรงงานที่อยู่ในพื้นที่มีการติดเชื้อขึ้นมา จึงให้นโยบายเชิงรุกในการติดตามความเสี่ยงเป็นการเฉพาะและมีการเข้าไปตรวจมากขึ้น” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ทางกรมควบคุมโรคได้จัดทำข้อมูลจังหวัดที่มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค(PUI) ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก แต่ยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากโรคอะไร ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นได้หลายโรค เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้วัดใหญ่ โรคไข้หวัดธรรมดา และเมื่อเข้ามารับบริการแล้วจึงทำการตรวจด้วยการนำสารคัดหลั่ง ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี RT-pcr เพื่อหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนผู้เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรคจังหวัดที่สะสมมากกว่า 1,000 ราย 6 ลำดับแรก ได้แก่ 1.กทม. จำนวน 12,071 ราย 2.ยะลา 4,557 ราย 3.นนทบุรี 3,652 ราย 4.ชลบุรี 2,207 ราย 5.ภูเก็ต 2,182 ราย และ 6.สมุทรปราการ 1,326 ราย

“เราจะต้องรายงานตัวเลขผู้เข้าเกณฑ์การสอบสวน(PUI) เนื่องจากสำนักข่าวต่างประเทศต้องการนำชุดข้อมูลทางการในประเทศไทยเพื่อไปอ้างอิงเพื่อจัดลำดับระดับโลก” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง