รีเซต

รู้จัก "มะพร้าวทะเล" ของหายาก ลูกละเป็นแสน

รู้จัก "มะพร้าวทะเล" ของหายาก ลูกละเป็นแสน
TrueID
15 มกราคม 2565 ( 11:58 )
468
รู้จัก "มะพร้าวทะเล" ของหายาก ลูกละเป็นแสน

จากเนื้อหาข่าวของ ข่าวสด รายงานว่า ที่สวนนงนุช เมืองพัทยา จ.ชลบุรี นายกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา ได้ให้การต้อนรับ นายฮก ซอร์พวน ( Mr. Ouk Sorphorn ) เอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย และคณะ เดินทางมาเยี่ยมชม สวนนงนุชพัทยา และมอบสิ่งของที่ระลึกให้กับ คุณกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และชมการปอกมะพร้าวทะเลที่หายาก วันนี้ TrueID จะพาไปทำความรู้จักกับมะพร้าวทะเลว่าทำไมจึงมีความพิเศษ

 

ทำความรู้จัก "มะพร้าวทะเล"

มะพร้าวแฝด, ตาลทะเล , มะพร้าวตูดนิโกร หรือ มะพร้าวทะเล มีชื่อในภาษาฝรั่งเศสว่า Coco de mer แปลว่า "มะพร้าวทะเล" สาเหตุที่ถูกขนานอย่างนี้ก็เพราะว่า พวกเดินเรือในอดีตจะพบลูกมะพร้าวทะเลอยู่ในมหาสมุทร แต่ไม่มีใครเห็นพบเห็นต้นของมัน จึงสันนิษฐานว่าคงมีต้นอยู่ใต้ทะเล บ้างก็ไปไกลยิ่งกว่านั้น คือเชื่อว่าคงเป็นผลไม้จากสวรรค์แน่ ๆ และอาจจะเป็นผลไม้แห่งความอมตะที่อีฟ ภรรยาอาดัม ถูกหลอกให้กินก็ได้ นาน ๆ ครั้งจะมีผู้พบเห็นมะพร้าวทะเลถูกคลื่นซัดเข้าฝั่ง มะพร้าวทะเลจึงกลายเป็นของแปลกและหายากยิ่งกว่าเพชรพลอย และแน่นอนผลไม้พิสดารนี้ก็จะถูกนำไปถวายให้แก่คนที่สำคัญที่สุดในแผ่นดิน นั่นคือกษัตริย์หรือสุลต่าน ไว้ประดับบารมีหรือเป็นยาวิเศษรักษาสารพัดโรค

 

ราคา "มะพร้าวทะเล"

มูลค่าต่อผลมะพร้าวทะเล 1 ลูก จะมีราคาอยู่ที่ประมาณแสนบาท และที่เป็นต้นกล้า ราคาอยู่ที่ประมาณ 400,000 – 500,000 บาท

 

ประวัติ

กษัตริย์ในมาลดีฟออกกฎว่า ผู้ใดพบเห็นมะพร้าวทะเล แล้วไม่นำไปถวายพระองค์จะถูกลงอาญาถึงขั้นประหารชีวิต มะพร้าวทะเลจะพบมากที่สุดในทะเลตามหมู่เกาะมัลดีฟ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนเรียกชื่อมะพร้าวทะเลนี้ว่า มะพร้าวมัลดีฟ เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบในทะเลแถวอารเบีย ศรีลังกา และอินเดียใต้ เกาะสุมาตรา และชายฝั่งแหลมมลายูอีกด้วย แต่เนื่องจากเจอแถวหมู่เกาะมัลดีฟมากกว่าที่อื่น จึงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็นภาษาละตินอีกว่า Lodoicea maldivica

ในอดีตราชินีแห่งโปรตุเกสเคยสั่งให้นำมะพร้าวทะเลไปถวายพระองค์บ่อยครั้ง แม้แต่กษัตริย์รูดอล์ฟก็ยังทรงเคยจ่ายทองจำนวน 4000 ฟลอรีน (ฟลอรีนละ 3.88 กรัมรวมเป็นทองหนัก 15,522 กรัม หรือประมาณ 9.4 ล้านบาท) เพื่อซื้อมะพร้าวทะเลเพียงใบเดียวจากครอบครัวของกัปตันวอลเฟิร์ท เฮอร์มันส์เซน (Wolfert Hermanszen) ชาวดัทช์ ซึ่งกัปตันคนนี้ได้รับราชทานลูกมะพร้าวทะเลนั้นจาก สุลต่านฮาโญโกรวาตี (Sultan Hanyokrowati ทรงมีพระนามเดิมว่า มัสโจลัง Mas Jolang) กษัตริย์แห่งบันตัม บนเกาะชวาตะวันตก (ครองราชย์ระหว่างปี 1601-1613 มีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาเมื่อขึ้นครองราชย์) เนื่องจากกัปตันวอลเฟิร์ทได้ช่วยต่อสู้ เพื่อขับไล่ทัพเรือโปรตุเกสออกจากบันตัมปีค.ศ. 1602 แต่กลับต้องตกภายใต้ฮอลแลนด์ในเวลาต่อมา

 

ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวทะเล

ในอดีตผู้คนนิยมเอากะลาของมะพร้าวทะเลไปทำเป็นลูกประคำ เรียกในภาษามลายูว่า Buah tasbih koka (ลูกประคำโขะขะ) หรือแบ่งเป็นสองซีก เพื่อทำเป็นภาชนะเรียกว่า กัชกูล ซึ่งพวกฟากีรหรือพวกขอทานจะใช้เหมือนบาตร เพื่อขออาหารจากชาวบ้าน

ลูกประคำโขะขะที่ใช้ในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ไม่ได้ทำมาจากลูกมะพร้าวทะเลจริง แต่ทำมาจากลูกปาล์มชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขนาดใหญ่เท่าใข่ไก่ มีกะลาหนามาก ผลิตในตุรกี อิรัก โดยส่งเข้าซีเรีย ซี่งมีรูปแบบสวยงาน ส่วนที่ผลิดในอิยิปต์ก็มีรูปแบบที่ไม่ค่อยสวยมากนัก นักศึกษาไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียในประเทศอาหรับ จะพาลูกประคำเหล่านี้มาขายในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีใครทราบว่า ลูกประคำเหล่านั้นไม่ได้ทำมาจากมะพร้าวทะเลจริง

มีความเชื่องมงายเกี่ยวกับลูกประคำโขะขะหลายอย่าง เช่น เป็นเครื่องรางของขลัง เป็นยารักษาโรค บางคนซื้อลูกปาล์มดังกล่าวจากประเทศอาหรับกลับมาเจียระไนทำเป็นลูกประคำ โดยสำคัญผิดคิดว่าเป็นลูกมะพร้าวทะเล ซึ่งพวกเขาจะเก็บขี้เลื่อยมาขายเป็นยารักษาสารพัดโรค

 

ข้อมูล : ข่าวสด , wikipedia

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง