รีเซต

รบ.อังกฤษ สั่งซื้อเครื่องตรวจ ที่ 'ทักษิณ' ร่วมทุน ช่วยคุมโควิด กว่า 5 ล้าชุด!

รบ.อังกฤษ สั่งซื้อเครื่องตรวจ ที่ 'ทักษิณ' ร่วมทุน ช่วยคุมโควิด กว่า 5 ล้าชุด!
ข่าวสด
4 สิงหาคม 2563 ( 09:28 )
336
1
รบ.อังกฤษ สั่งซื้อเครื่องตรวจ ที่ 'ทักษิณ' ร่วมทุน ช่วยคุมโควิด กว่า 5 ล้าชุด!

"หมอมิ้ง" เผย รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร สั่งซื้อเครื่องตรวจดีเอ็นเอ ที่ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯ ร่วมลงทุน ช่วยคุมโควิด เพิ่ม กว่า 5.8 ล้านชุด

วานนี้ (3 ส.ค.) นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมาชิกก่อตั้ง "CARE คิดเคลื่อนไทย" เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมแชร์ลิงก์ข่าวจาก BBC ไทย ระบุข้อความว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้พิสูจน์ความเป็นผู้นำอันมีวิสัยทัศน์ในระดับสากลอีกครั้ง ด้วยการร่วมลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก จาก Imperial College ประเทศอังกฤษ

 

ประดิษฐ์เครื่องมืออุปกรณ์ตรวจหาเชื้อ CORONA Virus : COVID19 แบบ rapid test ได้สะดวกรวดเร็วและแม่นยำ ชื่อ DnaNudge ที่ได้เริ่มใช้อยู่ในโรงพยาบาล 8 แห่ง แล้วในกรุงลอนดอน จนรัฐบาลโดยรัฐมนตรีสาธารณสุข อังกฤษ ประกาศว่าได้ สั่งซื้อเพิ่ม 5.7 ล้านชุดตามข่าว

 

อุปกรณ์ใช้ตรวจหาเชื้อ COVID19 ด้วย rt PCR ที่ทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว อ่านผลเร็ว ภายใน 90 นาที( จากที่โดยทั่วไป แจ้งผลภายใน 24-48 ชม.) เพราะใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กกระทัดรัด อ่านผลง่ายไม่ต้องอาศัย lab ที่ยุ่งยาก และผู้เชี่ยวชาญ และแม่นยำสูงมาก คือ sensitivity 98% specificity 100%

 

เทคโนโลยี่อุปกรณ์นี้จะเปลี่ยนวิถีการตรวจควบคุมโลกและระบบระเบียบการให้บริการที่มีหลักประกันควบคุมและป้องการการระบาดของเชื้อโควิด ในเร็ววัน เพราะตรวจสะดวก ให้ผลเร็วด้วยค่าใช้จ่ายไม่สูง สามารถตรวจผู้ให้บริการ เช่นในร้านอาหาร โรงแรม อย่างสม่ำเสมอ สร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการที่พิสูจน์แล้วว่าปลอดเชื้อเช่นกัน ลดอัตรการเจ็บป่วยด้วยโรค ก่อนที่วัคซีนจะมีใช้ และฉีดกันทั่วถึง

 

ที่สำคัญจะประหยัดต้นทุนของบุคคลและสังคม เพราะการตรวจหาเชื้อสะดวก แม่นยำสูงมาก เช่น เมื่อตรวจตอน check in ก่อนขึ้นบิน แล้วไม่เป็นผู้ติดเชื้อ ที่นั่งบนเครื่องบินก็ไม่ต้องเว้นระยะห่าง ค่าโดยสารก็ไม่ต้องเพิ่มจากการนั่ง 1 ที่ เว้น 1 ที่เป็นต้น อนึ่ง ทางการอังกฤษ ได้ประกาศใช้ rapid test สำหรับ COVID19 ครั้งนี้ 2 test คือ LamPORE และ DnaNudge ซึ่งใช้เทคโนโลยีแตกต่างกันบ้าง

 

 

  • ขอบคุณภาพจาก บีบีซีไทย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง