รีเซต

จ่ายหนี้ กยศ.ไม่ทัน! 5 กรกฎาคม 2566 วันสุดท้าย ถูกเบี้ยปรับเท่าไหร่?

จ่ายหนี้ กยศ.ไม่ทัน! 5 กรกฎาคม 2566 วันสุดท้าย ถูกเบี้ยปรับเท่าไหร่?
TeaC
4 กรกฎาคม 2566 ( 11:47 )
2.4K
จ่ายหนี้ กยศ.ไม่ทัน! 5 กรกฎาคม 2566 วันสุดท้าย ถูกเบี้ยปรับเท่าไหร่?

ข่าววันนี้ ลูกหนี้ กยศ. รู้กันดีกว่าต้องจ่ายหนี้ กยศ. ทุกวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี! ซึ่งปกติแล้ว กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ไปถึงผู้กู้ยืมเงิน 1 ครั้ง ก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้งวดแรก

 

จ่ายหนี้ กยศ.2566 

 

โดยลูกหนี้ กยศ.จะได้รับหนังสือแจ้งตามที่อยู่เดิมตามภูมิลำเนาของผู้กู้ยืม หรือที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์นั่นเอง แต่ถ้าลูกหนี้ยืมเงินไม่สามารถชำระเงิน กยศ.ตามเวลาที่กำหนด จะถูกเบี้ยปรับเท่าไหร่? เมื่อผิดชำระหนี้ มาศึกษาไปด้วยกันเลย

 

ผิดนัดชำระหนี้ กยศ. ถูกเบี้ยปรับเท่าไหร่?

กรณีผิดชำระหนี้ หรือหากผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จะต้อง "ชำระค่าปรับ หรือ ค่าธรรมเนียมจัดการ" เนื่องจากผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด ซึ่งโดยปกติแล้วค่าปรับจะอยู่ที่

  • 12% กรณีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี 
  • 18% กรณีค้างชำระเกิน 1 ปี ของเงินต้นค้างชำระ

 

 

ผิดนัดชำระหนี้ กยศ.2566 เจอบทลงโทษอะไรบ้าง?

สำหรับผู้กู้ยืมเงิน กยศ.ที่ผิดนัดชำระ นอกจากจะต้องจ่ายค่าปรับ และเสียค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องแล้ว หากไม่ชำระคืนเป็นเวลานานจะถูกฟ้องดำเนินคดีได้ด้วย ซึ่งมี 3 เกณฑ์ที่ถูกฟ้องร้องตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

  • กรณีแรก ผู้กู้ยืม กยศ. และ กรอ.ที่ค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป)
  • กรณีที่สอง ผู้กู้ยืม กยศ. และ กรอ. ที่พ้นระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้แล้ว แต่ยังมีหนี้ค้างชำระ
  • กรณีที่สาม ผู้กู้ยืม กยศ. กลุ่มไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี (มีหนี้ค้างชำระ)

โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

  • ไม่เป็นผู้กู้ยืมเสียชีวิตหรือสาบสูญ
  • ไม่เป็นผู้กู้ยืมพิการหรือทุพพลภาพ ที่ได้รับอนุมัติให้ระงับการเรียกให้ชำระหนี้แล้ว
  • ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ชำระหนี้ปิดบัญชีแล้ว หรือผู้รับทุนที่มีบัญชีติดลบ
  • ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ถูกดำเนินคดีแล้ว
  • ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ยินยอมให้กองทุนฯ หักเงินเดือน
  • ไม่เป็นผู้กู้ยืมชำระหนี้มากกว่า 10% ของยอดหนี้คงเหลือ (ผลรับชำระหนี้ 2 ปี ย้อนหลัง)
  • ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

 

ลูกหนี้ กยศ.ถูกฟ้องคดี จะเจอแบบนี้!

หากผู้กู้ยืม กยศ.ผิดนัดชำระตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด จะมีโอกาสถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ตามขั้นตอนนี้

  1. กองทุนส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม ให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันทราบ และขอให้มีการชำระหนี้ หากผู้กู้ยืมไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงจะส่งรายชื่อให้บมจ.ธนาคารกรุงไทยดำเนินคดี

  2. บมจ.ธนาคารกรุงไทย ดำเนินการฟ้องคดีกับผู้กู้ยืม และผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมเงิน (ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะได้รับหมายศาล)

  3. เมื่อศาลมีหมายนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันต้องไปตามนัด โดยในวันนัดจะมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม

  4. ศาลพิพากษา เมื่อศาลมีคำพิพากษา ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น หากยังไม่มีการชำระหนี้ตามคำพิพากษา กองทุนจะส่งคำบังคับให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน และจะทำการยึดทรัพย์ตามกฎหมายต่อไป


รับสภาพการบังคับคดีตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษา

ผู้กู้ยืม กยศ.ไม่มีเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาครั้งเดียวได้ ประสงค์จะผ่อนชำระ สามารถทำได้ตามความประสงค์ ในระหว่างที่กองทุนฯ ยังไม่ได้ดำเนินการบังคับคดี  แต่หากกองทุนดำเนินการบังคับคดีตามกระบวนการทางกฎหมาย ผู้กู้ยืมต้องรับสภาพการบังคับคดีนั้นตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษา

 

 

ถูกบังคับคดีหรือถูกอายัดทรัพย์

หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษา หากผู้กู้ยืมไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น กองทุนจะดำเนินการสืบทรัพย์ของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันและบังคับคดี โดยการยึดทรัพย์สินและประกาศขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้คืนกองทุน ซึ่งผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันที่สามารถเลือก 2 ทางเลือกที่สามารถทำได้ คือ

 

  1. ชำระหนี้ปิดบัญชี ซึ่งหมายถึงการการจ่ายเงินปิดบัญชีทั้งหมด
  2. ไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี ตามขั้นตอนทางกฎหมาย

 

 

ข้อมูล : กยศ.

 

บทความเกี่ยวกับ จ่ายหนี้ กยศ.2566

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง