รีเซต

"มรสุมเอเชียใต้" ต้นเหตุภัยธรรมชาติพร้อมคร่าชีวิตชาวปากีสถาน-อินเดีย

"มรสุมเอเชียใต้" ต้นเหตุภัยธรรมชาติพร้อมคร่าชีวิตชาวปากีสถาน-อินเดีย
TNN ช่อง16
30 สิงหาคม 2565 ( 13:13 )
84
"มรสุมเอเชียใต้" ต้นเหตุภัยธรรมชาติพร้อมคร่าชีวิตชาวปากีสถาน-อินเดีย

น้ำท่วมใหญ่ในปากีสถานนั้น เกิดขึ้นในฤดูมรสุมของเอเชียใต้ ซึ่งส่งผลร้ายแรงมากขึ้นทุกปี 

วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับหน้ามรสุมของเอเชียใต้ ที่ผ่านมา ส่งผลอย่างไรต่อชาติที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว

จากเหตุน้ำท่วมในปากีสถานที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่าหนึ่งพันคนแล้วนั้น ทำให้รัฐมนตรีกระทรวงสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงของปากีสถานอธิบายปรากฏการณ์นี้ว่า มาจากฝนมรสุมที่ตกอย่างต่อเนื่องติดกันแปดสัปดาห์ไม่มีหยุด

นี่เป็นเพียงหนึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปากีสถานเท่านั้น แต่ฤดูมรสุม ยังสำคัญและเป็นอันตรายต่อทั้งภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย ซึ่งสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและผลกระทบอื่นๆที่เกิดขึ้นจากมนุษย์นั้น กำลังเปลี่ยนแปลงวิถีการหล่อเลี้ยงชีวิตในวงกว้าง และในขณะเดียวกัน กำลังกลายเป็นระบบอากาศทำลายล้างที่เกิดขึ้นประจำปีด้วย

ฤดูมรสุมเอเชียใต้ คืออะไร?

หน้ามรสุมฤดูร้อนของเอเชียหรือทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชีย คือ ลมทะเลขนาดมหึมา ที่ทำให้เกิดฝนตกประจำปีในแถบเอเชียใต้ในช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน เกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำ  ในฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีป ร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในมหาสมุทรอินเดีย และนำมาซึ่งฝนในปริมาณมาก

ฤดูมรสุมสำคัญอย่างไรต่อเอเชียใต้

หน้ามรสุมปกติแล้วสำคัญต่อภาคการเกษตร และชีวิตของเกษตรกรหลายล้านชีวิต ตลอดจนความมั่นคงทางทหารของเอเชียใต้ ซึ่งมีประชากรราวสองพันล้านคน

อย่างไรก็ตาม มรสุมมักมาพร้อมกับการทำลายล้างเช่นกันในแต่ละปี จากน้ำท่วมใหญ่และดินถล่ม ขณะเดียวกันธารน้ำแข็งที่ละลายมากขึ้น ยิ่งไปเพิ่มปริมาณน้ำจากพายุฝน ประกอบกับ การปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนต่างๆโดยมีไม่กฎเกณฑ์กำกับตามพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม จึงทำให้เกิดความเสียหายมาก

นอกจากนี้ แม้มีการศึกษาเรื่องหน้ามรสุมกันมามาก แต่ค่อนข้างยากที่จะเข้าใจได้ถ่องแท้ เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ได้ว่า ฝนจะตกที่ไกนและเมื่อไหร่ได้อย่างแม่นยำ และการพยากรณ์อากาศยังทำได้แตกต่างกันไปอีกด้วย 

เช่น ในปีนี้ ขณะที่ปากีสถานเผชิญฝนตกท่วมท้น แต่ทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย กลับมีปริมาณฝนในเดือนกรกฎาคมต่ำที่สุดในรอบ 122 ปี

ความผันผวนเหล่านี้ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในสภาพของดินฟ้าอากาศและมหาสมุทรของโลก เช่น ปรากฏการณ์เอล นีโน่ในมหาสมุทรแปซิฟิก และปรากฏการณ์ ผันผวนในมหาสมุทรอินเดียเขตศูนย์สูตร  ซึ่งเพิ่งค้นพบในปี 2002 นี่เอง

ปัจจัยอื่นๆ คาดว่าเกี่ยวข้องกับผลกระทบประจำท้องถิ่น เช่น ละอองอากาศ ฝุ่นที่พัดมาจากทะลทราบซาฮะรา มลพิษทางอากาศ ตลอดจนการทำชลประทานของเกษตรกร


ภาพจาก AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง