รีเซต

เปิดแถลงการณ์ 25 องค์กรมุสลิม เรียกร้องรัฐนำกัญชากลับเป็นยาเสพติดประเภท 5

เปิดแถลงการณ์ 25 องค์กรมุสลิม เรียกร้องรัฐนำกัญชากลับเป็นยาเสพติดประเภท 5
TNN ช่อง16
9 กรกฎาคม 2565 ( 11:44 )
135


“องค์กรเครือข่ายคัดค้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ขัดกับหลักศีลธรรม” 25 องค์กร เรียกร้องรัฐบาลให้นำกัญชาเข้าเป็นยาเสพติดประเภท 5 ตามเดิม โดยให้ใช้สำหรับกัญชาทางการแพทย์เท่านั้น ”พร้อมชี้แจงและข้อเสนอแนะ



เรื่อง ชี้แจงผลกระทบและคัดค้านกฎหมายกัญชาเสรี


สืบเนื่องจากประกาศกระทรวงสาธารณสุขในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ประกาศยกเว้นกัญชาจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยการไม่ระบุว่า พืชกัญชา รวมถึงส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ ช่อดอก เป็นสารเสพติดให้โทษ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา


ทำให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทย รวมถึงเด็กและเยาวชนอันเป็นอนาคตของชาติสามารถเข้าถึงกัญชา และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย จากการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา รวมถึงการนำกัญชาซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทำให้เสพติดมาใช้เพื่อประกอบอาหารและนันทนาการ


ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความเห็นทางการแพทย์ที่ยืนยันว่า "กัญชา" เป็นพืชที่มีสารแคนาบินอยด์หลายชนิดโดยเฉพาะสาร THC ซึ่งอาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ และไม่ควรใช้เพื่อการสันทนาการ เพราะอาจทำให้เกิดโทษรุนแรงได้ ผู้ใช้กัญชาด้วยวิธีการใดๆ มีโอกาสได้รับสารแคนนาบินอยด์ในกัญชาที่มีผลกระทบที่รุนแรง โดยเฉพาะต่อหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็ก และเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี


เพราะมีผลต่อการพัฒนาการของสมองทั้งในแม่และเด็ก และอาจส่งผลต่อสมองของเด็กและวัยรุ่น เช่น พัฒนาการล่าช้า ปัญหาพฤติกรรม เชาวน์ปัญญาลดลง และส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ เช่น มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภท  เสี่ยงต่อการติดสารเสพติดชนิดอื่นๆ


รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว  รวมถึงผู้ขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร ในระยะ 6 ชั่วโมงหลังใช้กัญชา จะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้สูงเช่นเดียวกับสุรา  และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคจิตประสาท โรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด เพราะอาจมีผลต่อยาและการรักษาที่ได้รับอยู่


ดังนั้น “องค์กรเครือข่ายคัดค้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ขัดกับหลักศีลธรรม”  จึงมีแถลงการณ์ ดังต่อไปนี้


1. พืชกัญชามีทั้งประโยชน์และโทษมหันต์ องค์กรเครือข่ายคัดค้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ขัดกับหลักศีลธรรม จึงไม่คัดค้านการนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ 


2. ขอสนับสนุนการนำทุนทางทรัพยากรมาใช้ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและอนาคตของชาติ 


3. ขอคัดค้านกฎหมายกัญชาเสรี และการยกเว้นกัญชาจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเล็งเห็นผลกระทบที่อาจสร้างความเสียหายต่อสังคม ทั้งในด้านความสงบสุขของสถาบันครอบครัวและสังคม ตลอดจนด้านศีลธรรมจรรยา ที่มีมากกว่าผลประโยชน์ที่คาดหวังว่าจะได้รับจากการเปิดเสรี ดังนั้นจึงขอ “เรียกร้องรัฐบาลให้นำกัญชาเข้าเป็นยาเสพติดประเภท 5 ตามเดิม โดยให้ใช้สำหรับกัญชาทางการแพทย์เท่านั้น”





4. ขอเรียกร้องให้องค์กรทางสุขภาพ องค์กรพัฒนาสังคม องค์กรเกี่ยวกับเด็ก เยาวชนและครอบครัว  ตลอดจนมัสยิดและองค์กรศาสนาอิสลาม  สมาคมอิสลาม สถาบันการศึกษาอิสลาม ทั้งสถาบันปอเนาะ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันอุดมศึกษาอิสลาม ร่วมมือกันรณรงค์ให้ความรู้ความตระหนักให้แก่นักเรียน นักศึกษา สถาบันครอบครัวและสังคมทั่วไป

เพื่อให้งดเว้นการสนับสนุนและการใช้กัญชาทุกรูปแบบ ยกเว้นการใช้ทางการแพทย์ ตามคำวินิจฉัย(ฟัตวา) ที่ 1/2563 ของจุฬาราชมนตรี ที่ระบุว่าการใช้กัญชง กัญชาเพื่อสันทนาการและความสราญใจ เช่น การกิน การดื่ม สูบ เคี้ยว ดม หรือวิธีใดก็ตาม ถือเป็นฮารอม (สิ่งต้องห้าม) ฐานเดียวกับการดื่มสุรา ยกเว้นการนำมาใช้ในทางการแพทย์หากมีความจำเป็น  รวมถึงออกมาชี้แจงผลเสียหรือผลกระทบของกฎหมายกัญชาเสรี ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการป้องกันแก้ไข


5. เรียกร้อง ให้พรรคการเมือง และนักการเมิอง คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนและเยาวชนอนาคตของชาติมากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้จากพืชกัญชา


6. ขอให้ทุกองค์กรทุกภาคส่วนโดยเฉพาะสถานศึกษาและศาสนสถานประกาศเขตปลอดกัญชา ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี


8 กรกฎาคม2565

องค์กรเครือข่ายคัดค้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่ขัดกับหลักศีลธรรม



สำหรับองค์กรเครือข่ายฯที่เข้าร่วม ประกอบด้วย










ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : เพจ จะนะเมืองน่าอยู่

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง