รีเซต

ประชามติ 7 ก.ค. ชี้ชะตา ชาวรัสเซียจะยอมให้ วลาดิเมียร์ ปูติน เป็นประธานาธิบดีอีก 12 ปีหรือไม่

ประชามติ 7 ก.ค. ชี้ชะตา ชาวรัสเซียจะยอมให้ วลาดิเมียร์ ปูติน เป็นประธานาธิบดีอีก 12 ปีหรือไม่
ข่าวสด
25 มิถุนายน 2563 ( 11:32 )
262
ประชามติ 7 ก.ค. ชี้ชะตา ชาวรัสเซียจะยอมให้ วลาดิเมียร์ ปูติน เป็นประธานาธิบดีอีก 12 ปีหรือไม่

 

ประชามติ 7 ก.ค. ชี้ชะตา ชาวรัสเซียจะยอมให้ วลาดิเมียร์ ปูติน เป็นประธานาธิบดีอีก 12 ปีหรือไม่ - BBCไทย

สองทศวรรษมาแล้วที่ชาวรัสเซียลงคะแนนเสียงเลือกวลาดิเมียร์ ปูติน เป็นผู้นำประเทศ ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ว่าจะเป็นในฐานะประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรี

การลงประชามติทั่วประเทศในวันที่ 7 ก.ค. นี้จะเป็นการวัดความไว้วางใจของประชาชนอีกรอบหนึ่ง ว่าจะเปิดทางให้ปูตินเป็นประธานาธิบดีต่อไปอีก 2 สมัย สมัยละ 6 ปี หรือไม่

 

แม้จะมีอายุ 67 ปีแล้ว แต่ปูตินก็ไม่เคยออกปากว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้นำประเทศอีก เมื่อครบวาระในปี 2024

การลงประชามติครั้งนี้จะจัดขึ้นในวันถัดจากวันจัดพิธีสวนสนามในกรุงมอสโกเนื่องในวันแห่งชัยชนะ (Victory Day) เหนือนาซีเยอรมนี และการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป

งานพิธีนี้ช่วยสร้างเสริมความภาคภูมิใจในชาติหลังจากผ่านพ้นช่วงล็อกดาวน์มาได้ และถูกมองว่าจัดขึ้นเพื่อเรียกคะแนนนิยมให้นายปูติน

 

ทำไมถึงต้องจัดการลงประชามติ

AFP
ผู้นำรัสเซียในศตวรรษที่ 21 มีเพียงเขาคนเดียวเท่านั้น

ย้อนไปเมื่อเดือน ม.ค. ปูตินเสนอให้มีการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะช่วยให้เขาดำรงตำแหน่งต่อไปได้อีก 2 สมัย สมัยละ 6 ปี

วิกฤตโควิด-19 ทำให้รัสเซียต้องเลื่อนการลงประชามติจากเดือน เม.ย. มาเป็น ก.ค. ทางการเตรียมใช้มาตรการการรักษาระยะห่างทางสังคมระหว่างการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลา 5 วันทั่วประเทศ แม้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในบางภูมิภาคจะยังย่ำแย่อยู่

 

แผนของปูติน

Reuters
วาเลนตินา เทเรชโควา สมาชิกผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้สนับสนุนปูติน ออกมาเสนอแล้วว่าให้ยกเลิกการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไปเลย

ในศตวรรษที่ 21 รัสเซียมีเพียงเขาคนเดียวเท่านั้นที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำ เริ่มจากการเป็นนายกรัฐมนตรี (1999) ขยับไปเป็นประธานาธิบดี (2000 - 2008) แล้วก็กลับไปเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง (2008 - 2012) ก่อนจะกลับไปเป็นประธานาธิบดีอีก (2012)

ปูตินไม่ได้พูดว่าเขาอยากได้รับเลือกตั้งอีก แต่ก็ไม่ได้ออกมาปฏิเสธ นี่ทำให้ผู้วิพากษ์วิจารณ์มองว่าเขากำลังจะหาทางอยู่ในอำนาจตลอดไป หรือไม่ก็ถึงปี 2036 เป็นอย่างน้อย

 

วาเลนตินา เทเรชโควา สมาชิกผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้สนับสนุนปูติน ออกมาเสนอแล้วว่าให้ยกเลิกการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไปเลย

และดูเหมือนว่าคนรัสเซียก็ยังสนับสนุนเขาอยู่ โดยครั้งสุดท้ายที่มีการเลือกตั้งในปี 2018 ปูตินได้คะแนนเสียงมากกว่า 76%

มาในครั้งนี้ "เขาพยายามอย่างดีที่สุดที่จะทำให้ดูเหมือนเขาไม่เต็มใจกับข้อเสนอนี้ ทำเหมือนกับว่ามันเป็นความต้องการจาก "เบื้องล่าง"..." ซาราห์ เรนซ์ฟอร์ด ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำกรุงมอสโกกล่าว

 

นอกจากนี้ ปูตินยังบอกเป็นนัยด้วยว่าประชาชนยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนประธานาธิบดี ซึ่ง เรนซ์ฟอร์ด บอกว่าคนจำนวนมากไม่ว่าอะไรกับความคิดนี้

"หากพวกเขาไม่ได้ชอบปูตินจริง ๆ พวกเขาก็ไม่ได้เกลียดเขามากขนาดนั้นเหมือนกัน หลายคนมองว่าเขาเป็นผู้นำที่เข้มแข็งที่ยืนหยัดต่อสู้กับชาติตะวันตกได้" เรนซ์ฟอร์ด กล่าว

ปูตินกลายเป็นบุคคลสำคัญเช่นนี้ได้อย่างไร

Rex Features
ปูตินขณะเป็นสายลับเคจีบี

ช่วงท้าย ๆ ของสงครามเย็นเป็นช่วงที่ปูตินเริ่มไต่เต้าปูทางสู่อำนาจ การปฏิวัติปี 1989 ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน เกิดขึ้นในช่วงที่ปูตินทำงานเป็นสายลับเคเจบีที่ยศไม่ใหญ่โตในเมืองเดรสเดน ซึ่งตอนนั้นอยู่ในเขตเยอรมนีตะวันออก

ประสบการณ์ในช่วงนั้นทำให้เขากลัวการลุกฮือของประชาชนและรังเกียจภาวะสุญญากาศทางอำนาจ หรือช่วงที่ไม่มีฝ่ายใดครองอำนาจอย่างแท้จริง หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ปูตินเคยเล่าว่าเขาขอช่วยความช่วยเหลือหลังศูนย์บัญชาการใหญ่ของหน่วยเคจีบีในเดรสเดนถูกยึดโดยฝูงชนเมื่อเดือน ธ.ค. ปี 1989 แต่มอสโก ซึ่งมิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นผู้นำฝ่ายสหภาพโซเวียตในตอนนั้น กลับไม่ตอบรับให้การช่วยเหลือ และเขาเป็นผู้ริเริ่มลงมือเผาหลักฐานจำนวนมากเอง

ขึ้นสู่อำนาจ

Getty Images
เขากลายเป็นภาพแทนของรัสเซียยุคใหม่ที่ยิ่งใหญ่

หลังกลับไปเมืองเลนินกราด (ซึ่งจะเปลี่ยนชื่อกลับไปเป็นนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กไม่นานหลังจากนั้น) เขาได้เป็นมือขวาของอนาโตลี ซอบชัค นายกเทศมนตรีเมืองคนใหม่

แม้ว่าเยอรมนีตะวันออกจะล่มสลาย แต่ปูตินเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายกลุ่มคนที่มีโอกาสก้าวหน้าทั้งในเรื่องส่วนตัวและทางการเมืองในรัสเซียยุคใหม่

แม้ว่าต่อมา ซอบชัค จะเสียอำนาจไป แต่ปูตินก็ยังไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจต่อโดยอาศัยเครือข่ายชนชั้นนำรัสเซีย

ต่อมา ปูตินย้ายไปกรุงมอสโก และหน้าที่การงานในหน่วยความมั่นคงรัสเซีย หรือเอฟเอสบี ซึ่งมาแทนที่หน่วยเคจีบี ก็รุ่งเรือง และได้ร่วมรัฐบาลในที่สุด

บอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีคนแรกของรัสเซีย คอยระแวดระวังพรรคคอมมิวนิสต์เก่า โดยอาศัยแรงสนับสนันจากชนชั้นสูงรัสเซียอย่าง บอริส เบเรซอฟสกี ซึ่งได้ผลประโยชน์ทั้งด้านความมั่งคั่งและความมีอิทธิพลในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่รัสเซียยุคใหม่

มาในปี 1999 เยลต์ซิน แต่งตั้งให้ปูตินเป็นนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย

ได้เป็นประธานาธิบดีโดยไม่คาดคิด

Getty Images
เยลต์ซิน (ขวา) ลาออกจากตำแหน่งในปี 1999 โดยปูตินเข้ารับตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี

ในเวลาต่อมา ท่าทีและการกระทำของ เยลต์ซิน เริ่มเอาแน่เอานอนไม่ได้ขึ้นเรื่อย ๆ และจู่ ๆ เขาก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. ปี 1999

ปูติน ภายใต้การหนุนหลังของเบเรซอฟสกี และกลุ่มชนชั้นนำรัสเซีย ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี และได้รับชัยชนะอย่างเป็นทางการในการเลือกตั้งเดือน มี.ค. ปี 2000

กลุ่มชนชั้นนำและเครือข่ายการเมืองเก่าพอใจกับผลลัพธ์นี้ เพราะดูเหมือนปูตินจะเป็นคนที่พวกเขาสามารถควบคุมได้ง่าย ๆ

แต่ภายในสามเดือนหลังขึ้นสู่อำนาจ ปูตินเข้าควบคุมสื่อในรัสเซียทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มชนชั้นนำและกลุ่มอำนาจเก่าคาดไม่ถึง เอ็นทีวี (NTV) ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์อิสระถูกสั่งปิด และสำนักข่าวอื่น ๆ ก็ถูกบุกเข้าตรวจค้น และจากนั้นการรายงานข่าวก็ถูกตรวจสอบโดยรัฐบาล

นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองประเทศแบบใหม่สไตล์ปูติน

จัดการผู้เห็นต่าง

Getty Images

การเข้าควบคุมสื่อของปูตินมีประโยชน์สองแง่ หนึ่ง กำจัดผู้วิพากษ์วิจารณ์ที่ทรงอิทธิพล และสอง ปรับเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์เสียใหม่ ตั้งแต่เรื่องสงครามเชชเนีย มาจนถึงเหตุก่อการร้ายในกรุงมอสโก

นอกจากนี้ยังช่วยให้เขาได้รับคะแนนนิยมมากขึ้นด้วย โดยเขากลายเป็นภาพแทนของรัสเซียยุคใหม่ที่ยิ่งใหญ่

จากนั้นเป็นต้นมา ชาวรัสเซียในต่างจังหวัดได้เห็น "ภาพ" ปูติน ในแบบที่เขาอยากให้เห็นเท่านั้น และเกือบทั้งหมดของช่องโทรทัศน์ราว 3,000 ช่องในรัสเซีย ไม่มีการนำเสนอข่าวบ้านการเมืองเลย หรือหากจะมีก็ต้องผ่านการตรวจสอบโดยรัฐก่อน

ควบคุมทั่วประเทศ

Getty Images

ปูตินค่อย ๆ เข้าควบคุมภูมิภาคทั้ง 83 ภูมิภาคของรัสเซียโดยเบ็ดเสร็จ โดยแต่งตั้งนักการเมืองที่เขาไว้ใจเป็นนายกเทศมนตรี

เขายกเลิกการเลือกตั้งในระดับภูมิภาคในปี 2004 และกำหนดให้สมาชิกสภานิติบัญญัติส่วนภูมิภาคเลือกนายกเทศมนตรีจากตัวเลือก 3 คนที่กำหนดไปให้

แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งในระดับภูมิภาคอีกครั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ ในปี 2012 หลังจากการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ต่อมาในเดือน เม.ย. ปี 2013 ปูตินสามารถกลับมาคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จได้อีกครั้งด้วยการออกกฎหมายฉบับใหม่

ดูเหมือนเสรี

Getty Images
ปูตินมองว่าการลุกฮือของประชาชนอาจเปิดช่องทางให้รัฐบาลชาติตะวันตกเข้ามาแทรกแซงได้

มีการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยเกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงปี 2011 ถึง 2013

ปูตินมองว่าการลุกฮือของประชาชนอาจเปิดช่องทางให้รัฐบาลชาติตะวันตกเข้ามาแทรกแซงได้

ดังนั้นการเปลี่ยนวิธีบริหารประเทศ-แม้จะเป็นการปรับปรุงแค่ฉากหน้าเท่านั้น-เป็นเรื่องจำเป็น ปูตินเริ่มแสดงท่าทีว่าอยากให้มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง ให้คำมั่นสัญญาว่าภูมิภาคอื่น ๆ ในประเทศจะมีอำนาจควบคุมเศรษฐกิจตัวเองมากขึ้น

มีการใช้คำว่า "ปฏิรูป" บ่อยครั้งในช่วงนั้น แต่ก็แค่นั้น เมื่อความเสี่ยงว่าคนจะลุกฮือขึ้นประท้วงผ่านไป ปูตินก็ไม่ได้ดำเนินการตามที่สัญญาไว้ต่อ

ผนวกคาบสมุทรไครเมีย

Getty Images
นักวิเคราะห์บางคนมองว่า นี่เป็นการปูทางของปูตินสู่การเป็นเสมือน "พระเจ้าซาร์" ของรัสเซียสมัยใหม่ ซึ่งยืนอยู่เหนือการเมืองแบบพรรค

ภาวะสุญญากาศทางอำนาจหลังการปฏิวัติในยูเครน เปิดโอกาสให้รัสเซียเข้าผนวกคาบสมุทรไครเมียเมื่อเดือน ก.พ. ปี 2014 และเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปูติน แต่นำมาซึ่งความน่าอับอายแก่ชาติตะวันตกเพราะพวกเขาไม่สามารถหยุดยั้งรัสเซียได้

นานมาแล้วที่ปูตินพยายามขยายอาณาเขตรัสเซียไปยังรัฐต่าง ๆ โดยรอบซึ่งก่อตั้งขึ้นมาหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และก็ประสบความสำเร็จจากสงครามจอร์เจียเมื่อปี 2008

ซีเรีย

Getty Images

ในขณะที่ชาติตะวันตกไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรื่องนโยบายการต่างประเทศ การเข้าไปแทรกแซงในซีเรียโดยการสนับสนุนประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด มีประโยชน์ต่อปูตินหลายอย่าง

ในด้านหนึ่ง นี่ทำให้ไม่มีใครมีอำนาจควบคุมเหนือดินแดนที่สำคัญต่อเสถียรภาพในตะวันออกกลางอย่างเบ็ดเสร็จ และอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นโอกาสให้เขาทดลองอาวุธ และกลยุทธ์ทางทหารใหม่ ๆ ด้วย

นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งสารไปยังพันธมิตรของรัสเซียในอดีต รวมถึงประเทศใกล้เคียง ว่า "รัสเซียจะไม่ทอดทิ้งเพื่อนเก่า"

พระเจ้าซาร์องค์ใหม่ของรัสเซีย ?

Getty Images
ปูตินในพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 พระบิดาของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ซึ่งเป็นพระเจ้าซาร์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โรมานอฟ ที่ไครเมีย เมื่อปี 2017

ระหว่างเป็นผู้นำประเทศ ปูตินฟื้นฟูความคิดแบบระบบศักดินาขึ้นมาสำเร็จ ซึ่งทำให้นโยบายการขยายดินแดนของรัสเซียมีความชอบธรรมขึ้นมา

นักวิเคราะห์อย่าง อาร์คาดี ออสโตรฟสกี มองว่า นี่เป็นการปูทางของปูตินสู่การเป็นเหมือน"พระเจ้าซาร์" ในรัสเซียสมัยใหม่ ซึ่งยืนอยู่เหนือการเมืองแบบพรรค

ข้อสังเกตดังกล่าวน่าสนใจเมื่อเราย้อนดูการเลือกตั้งคราวที่แล้วที่ปูตินเป็นผู้สมัครเลือกตั้งอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ๆ

ตอนนี้ดูเหมือนจะไม่มีใครสามารถแตะต้องปูตินได้ แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเขาครบสมัยการเป็นประธานาธิบดีในปี 2024

ไม่มีใครสามารถคาดเดาอนาคตได้ แต่ระหว่างนี้ ปูตินก็สามารถใช้เวลาวางแผนต่อไปได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง