รีเซต

ปศุสัตว์โคราชเข้ม ห้ามเคลื่อนย้ายม้า เร่งหาต้นตอเชื้อกาฬโรคม้า

ปศุสัตว์โคราชเข้ม ห้ามเคลื่อนย้ายม้า เร่งหาต้นตอเชื้อกาฬโรคม้า
มติชน
5 เมษายน 2563 ( 17:34 )
116

ปศุสัตว์โคราชเข้ม ห้ามเคลื่อนย้ายม้า เร่งหาต้นตอเชื้อกาฬโรคม้า

โคราช – ความคืบหน้าสถานการณ์เกิดโรคระบาดสัตว์กาฬโรคแอฟริกาฮอตฟิตเน็สในม้า (African Horse Sickness หรือ AHS ) ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยในฟาร์มเพราะเลี้ยงม้าแข่ง ในพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ทำให้ม้าแข่งที่มีชื่อเสียง พ่อ-แม่พันธุ์ม้าสายพันธุ์ดีล้มตายติดต่อกันมา อย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมานั้น ซึ่งตายแล้วกว่า 145 ตัวนั้น

ซึ่งหลังได้รับรายงาน นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้เดินทางลงพื้นที่ปากช่องเพื่อตรวจสอบและติดตามผลมาแล้ว 2 ครั้ง เพื่อประชุมฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา มานายไฟรัช ปากคีปทอง ปศุสัตว์อำเภอปากช่อง นายสัตวแพทย์มณเฑียร วรังษี ตำแหน่ง สัตวแพทย์ชำนาญงาน ประจำด่านกักสัตว์ บันใดม้า เจ้าหน้าที่ และรับฟังสรุปเหตุการณ์และการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง โดยได้ลงพื้นที่สอบถามเจ้าของฟาร์ม 2 แห่ง ซึ่ง 2 ฟาร์มนี้ก็ได้รับผลกระทบมีม้าล้มตายหลายตัว โดยเจ้าหน้าที่เข้าตรวจฉีดวัคซีนให้ม้าที่เหลือ และพ่นยาฆ่าเชื้อจำนวน 23 ฟาร์ม ให้คำแนะนำกับเจ้าของฟาร์ม

เมื่อวันที่ 5 เมษายน ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม นายพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา กรณีมีกระแสข่าวว่ามีเอกชน นำเข้าม้าลายแอฟริกาเข้ามายังพื้นที่และอาจเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส แอฟริกาฮอตฟิตเน็สในม้า มาแพร่เชื้อความเป็นไปได้มีหรือไม่ ซึ่งปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา บอกว่าไม่ทราบไม่มีรายละเอียด พาหะที่นำเชื้อโรคมาสู่ม้า น่าจะมาจากแมลงเจาะเลือด เช่นแมลงวัน ยุง แมลงหวี่ แมลง เป็นต้น ที่สำคัญฟาร์มต้องทำการป้องกัน เน้นย้ำ 1.ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ออกนอกเขตการประกาศโรคระบาด 2.ห้ามบุคคลภายนอกรวมถึงยานพาหะนะเข้าออกฟาร์มม้า 3.ให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อฉีดพ่นบริเวณคอกม้า และเช็ดตัวม้าเพื่อป้องกันแมลงปีกดูดเลือดคาดว่าเป็นพาหะนำเชื้อมาสู่ม้า 4.ให้รักษาอุณหภูมิในคอกม้าอย่าให้อากาศร้อน เพราะม้าเป็นสัตว์ที่แข็งแรงแต่ร่างการเปราะเจ็บป่วยง่าย 5.ให้ทำการกางมุ้งคอกม้า จะเป็นมุ้งลวดหรือมุ้งผ้าป้องกันแมลงปีกเจาะเลือดม้า และมั่นสังเกตอาการของม้าทุกตัวในช่วงนี้ หากพบม้ามีอาการป่วยรีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในพื้นที่เข้าตรวจสอบทันที

หากพบว่าม้ามีอาการตามนิยามหรือไข้สูงมากกว่า 39 องศาของโรค AHS และได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติติดตามผลและความคืบหน้าเป็นระยะ โดยได้ประสานหน่วยงานโรคระบาดไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2019 นำรถอุปกรณ์มาร่วมฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อช่วยอีกแรง ซึ่งวันนี้ ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีม้าตายเพิ่มอีกหรือไม่ต้องรอสัตวแพทย์ประจำแต่ละฟาร์มแจ้งเข้ามา เจ้าหน้าที่จึงจะได้รายงานมาให้ทราบซึ่งน่าจะเป็นช่วงค่ำ

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงกรณีเชื้อเชื้อไวรัส AHS สามารถกลายพันธุ์จากม้าสู่สัตว์อื่น เช่นสุกรได้ไหม นายพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ไม่ได้เฉพาะม้าเท่านั้น

ด้านนายสัตวแพทย์มณเฑียร วรังษี ตำแหน่ง สัตวแพทย์ชำนาญงาน นสพ.ประจำด่านกักสัตว์ ถนนมิตรภาพบันไดม้า ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ในความคืบหน้า แจ้งว่า เจ้าหน้าที่การตั้งจุดสกัดบริเวณถนนมิตรภาพระหว่าง จ.นครราชสีมา – จ.สระบุรี เคร่งครัดเป็นกรณีพิเศษ นโยบายของ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ช่วงมีม้าในฟาร์มของปากช่องตายและอยู่ในช่วงประกาศพื้นที่โรคระบาดในม้า แต่หลังเกิดเหตุก็ยังไม่พบว่ามีการเคลื่อนย้ายม้าตามเส้นทางถนนมิตรภาพและถนนทางเลี่ยง ปากช่อง-ซับสนุ่น เส้นทางจ.ลพบุรี ตั้งจุดควบคุมการเคลื่อนย้าย รอบฟาร์มเกิดโรคจำนวน 7 จุด ชุดลาดตะเวน 2 ชุด วิ่งตรวจการลักลอบ และตรวจนับจำนวนม้าแต่ละฟาร์มว่ามีป่วย ตาย หรือลักลอบนำออกหรือไม่ รวมทั้งชุดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง