รีเซต

กรมการแพทย์ จัดเตรียมแนวทางผ่อนปรนสถานพยาบาลใหม่ รับโควิด-19

กรมการแพทย์ จัดเตรียมแนวทางผ่อนปรนสถานพยาบาลใหม่ รับโควิด-19
TNN ช่อง16
20 เมษายน 2563 ( 15:11 )
55

วันนี้ (20 เม.ย.63) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุถึงการดูแลผู้สูงอายุในช่วงโควิด-19 ว่า กลุ่มอายุ 70 ปีขึ้นไป ถึงแม้จะป่วยไม่มากแต่อัตราการเสียชีวิตสูง ขณะที่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน การป้องกันผู้สูงอายุ เน้น 2 ส่วนหลัก คือการป้องการติดเชื้อ การการป้องกันไม่ให้ความถดถอยของร่างกาย และจิตใจ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมไม่ดี หรือโรคเรื้อรัง เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ควรออกจากบ้าน

 

การดูแลผู้สูงอายุ ควรยึดหลัก 5 อ. ได้แก่ 1.อาหารที่ดีต่อสุขภาพ 2.อารมณ์อย่าให้เครียด ติดตามข่าวสารแต่พอสทควร หากิจกรรมที่ตนเองชอบ 3.ออกกำลังภายในบ้าน เช่น เล่นโยคะ แกว่งแขน เดินซอยเท้าอยู่กับที่ 4.เอนกายพักผ่อน นอน 7-9 ชั่วโมง 5.การออกห่างสังคมนอกบ้าน หากจำเป็นต้องออก ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม สวมหน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ 

 

ทางการแพทย์ แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

- กลุ่มช่วยเหลือตนเองได้ดี กลุ่มนี้พบว่า มักจะออกมาทำกิจกรรมสังคม ซึ่งต่อไปนี้อาจต้องลดลง

- กลุ่มติดบ้าน เป็นกลุ่มที่ชอบอยู่บ้าน แต่ต้องระวังคนในครอบครัวที่อาจจะนำเชื้อกลับมาติดคนในบ้าน ซึ่งคนในบ้านกลับจากข้างนอก มาต้องอาบน้ำสระผม ทำความสะอาดร่างกาย ก่อนจะพบปะพูดคุยกัน

- กลุ่มติดเตียง เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องดูแลที่บ้าน ข้อควรระวังคือ คนที่อยู่ดูแลต้องระวังตัวจากการติดเชื้อมีการผลัดเปลี่ยนคนดูแล ขณะที่ กลุ่มติดเตียงในสถานที่ดูแล เน้นการคัดกรองบุคคลที่มาเยี่ยมจากภายนอก รวมถึงบุคลากรที่จะมาดูแลต้องมีการดูแล สังเกต คัดกรอง ผู้สูงอายุในสถานที่ดูแล

 

ส่วนการดูแลผู้สูงอายุ หากอาการไม่ชี้ชัดมาก ไม่ตรงไปตรงมา เช่น ไม่มีไข้ ตัวไม่ร้อนไม่ไอมาก บอกไม่ได้ว่าเจ็บคอ คนดูแลควรสังเกตอาการ ว่า ผู้สูงอายุหายใจเร็วหรือหอบเหนื่อย อ่อนเพลีย มีอาการเบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้ ซึมสับสนเฉียบพลัน ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลง หากมีอาการเหล่านี้หรือไม่แน่ชัด ให้ปรึกษาแพทย์ทันที

ขณะที่ ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ตอนนี้ได้มีแนวทางให้ผู้ป่วยรับยาใกล้บ้าน หรือ ส่งยาทางไปรษณีย์ เลื่อนนัดให้นานขึ้น ให้คำปรึกษาทางไกลผ่านช่องทางออนไลน์ หากผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ป่วยอาการแย่ลง แพทย์จำเป็นอาจต้องให้มาตรวจตามนัดที่โรงพยาบาล บางส่วนอาจให้คำปรึกษาทางไกล ส่วนผู้สูงอายุที่ป่วยรุนแรงฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาห้องฉุกเฉินตามปกติ

ส่วนการปรับระบบทางการแพทย์ใหม่ หรือ New Normal Medical คือ การบริหารจัดการระบบผู้ป่วยใหม่ จะจำแนกตามกลุ่มอายุ กลุ่มอาการ ความสี่ยงของโรค ช่องทางในการให้บริการต่างๆ ระบบสนับสนุนการดูแลตนเอง การให้ข้อมูลสุขภาพต่างๆ ระบบติดตามบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์และแอปพลิเคชั่น ระบบข้อมูลสุขภาพ การส่งต่อผู้ป่วยที่เชื่อมโยงกัน ระบบบริการที่เข้าถึงง่ายสะดวกรวดเร็วขึ้นด้วยระบบไอทีการตรวจจากทางห้องปฏิบัติการแบบไดรฟ์ทรู การรับยาใกล้บ้านการส่งยาทางไปรษณีย์การศึกษาทางไกล ระบบการบริหารจัดการเรียนร่วมกันที่จะมีการทำอย่างต่อเนื่องแม้โควิด-19 จะมีทิศทางที่ดีขึ้น สุดท้ายคือระบบการป้องกันติดเชื้อในสถานพยาบาล

ทั้งหมด คือ แนวทาง ที่ยกระดับความปลอดภัยของผู้ป่วยและสถานพยาบาล โดยมีการพูดคุยเตรียมการแล้ว และเน้นย้ำ ห้องผ่าตัด และสถานที่ในโรงพยาบาล ต้องปลอดโควิด-19 รวมถึง ห้องฉุกเฉิน ห้องรักษาทั่วไป ที่สอดคล้องกับแนวทาง ลดความแออัดในโรงพยาบาล และลดการแพร่กระจ่ายเชื้อในสถานพยาบาล โดยมีแนวทางให้บุคลากรทางการแพทย์ แบ่งทีมออกเป็นแต่ละชุด ขณะที่ห้องผ้าตัด อาจจะต้องมีการปรับ1ห้องเป็นห้องผ่าตัดความดันลบ เพื่อลดความเสี่ยงกรณีที่ไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยติดเชื้อหรือไม่

ส่วนกรณีผู้ป่วยมะเร็งที่จะต้องรับเคมีบำบัดในโรงพยาบาล ขณะนี้ ได้มีแนวทางปรับให้ผู้ป่วยมะเร็งไปรับเคมีบำบัดที่สถาบันมะเร็งในพื้นที่โดยไม่ต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลเดิม เพื่อลดการติดเชื้อ เนื่องจากหากกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง หากติดเชื้อโควิด-19 แล้ว อาการจะรุนแรงและเสียชีวิตได้

ขณะเดียวกัน ได้มีการหารือกับสถานทันตกรรมว่าอาจจะทยอยเปิดรักษาฟันให้กับประชาชน ในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ แต่อาจจะต้องมีระบบการคัดกรองผู้ที่จะมาทำฟัน รวมถึงทันตแพทย์ ที่จะต้องมีการป้องกันอย่างดี ส่วนคลินิกศัลยกรรม อาจจะต้องพิจารณาตามข้อมูลการระบาดโควิด-19 ในแต่ละพื้นที่ว่ามากน้อยอค่ไหน โดยอนาคตตั้งเป้าหมายลดคนไข้มายังสถานพยาบาล เช่น ผู้สูงอายุ ที่จะให้มีการดูแลรักษาที่บ้าน

อธิบดีกรมการแพทย์ ยืนยัน ตอนนี้โรงพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลศูนย์ ในต่างจังหวัด มีสามารถรักษาดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ได้

ส่วนความคืบหน้าการนำฟ้าทะลายโจรมาทดลองใช้กับผู้ป่วย ภญ. สุรัชนี เศวตศิลา ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า จะเริ่มทดลองในคน ประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ โดยที่แรกจะเป็นผู้ป่วยที่สถาบันบำราศนราดูร แต่การทดลองในคนจะต้องผ่านการพิจารณาจาก คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ก่อน

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง