รีเซต

ทีมวิจัยย้ำ 'ไทย' อยู่ในขั้นพบวิธีผลิต 'วัคซีนโควิด-19' เลือกแบบ DNA / nRNA

ทีมวิจัยย้ำ 'ไทย' อยู่ในขั้นพบวิธีผลิต 'วัคซีนโควิด-19' เลือกแบบ DNA / nRNA
มติชน
24 พฤษภาคม 2563 ( 14:50 )
380
ทีมวิจัยย้ำ 'ไทย' อยู่ในขั้นพบวิธีผลิต 'วัคซีนโควิด-19' เลือกแบบ DNA / nRNA
ทีมวิจัยย้ำ ‘ไทย’ อยู่ในขั้นพบวิธีผลิต ‘วัคซีนโควิด-19’ เลือกแบบ DNA / nRNA

วัคซีนโควิด-19 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงถึงความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ประชากรทั่วโลกมีประมาณกว่า 7,700 ล้านคน หากทั่วโลกจะต้องได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อยร้อยละ 50 คิดเป็นประมาณ 3,800 ล้านคน และจะพบว่า ประเทศจีนมีโอกาสที่จะเป็นผู้คิดค้นวัคซีนได้สำเร็จก่อนประเทศอื่น โดยมีประชากรกว่า 1,400 ล้านคน สหรัฐอเมริกามีประชาชน 330 ล้านคน หากสมมติว่า 2 ประเทศนี้มีวัคซีนใช้แล้ว และจะต้องผลิตเพื่อใช้ ก็อาจจะไม่เพียงพอต่อประชากรภายในประเทศ ซึ่งก็อาจจะไม่ถึงประเทศไทย

“หากประเทศไทยไม่เริ่ม ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสถึงเส้นชัยหรือไม่ จุดแข็งของประเทศไทยคือ ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ เนื่องจากศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ สามารถพัฒนาอะไรหลายอย่างได้เร็วขึ้น ความร่วมมือกับบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด เพื่อตั้งรับในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ” ศ.นพ.เกียรติ กล่าว

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า ในการทดลองตรวจหาภูมิคุ้มกัน หรือ แอนติบอดี้ ที่สามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าไปในเซลล์หลอดทดลอง พบว่า จะต้องใช้เซลล์ของไวรัสทั้งชิ้น จะดีกว่าใช้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยจุฬาฯ ได้เลือก 3 วิธีการทดลอง โดยที่ไม่ต้องใช้เซลล์ เพื่อพิสูจน์ว่าวิธีใดดีกว่ากัน ได้แก่ DNA / nRNA / Protein

“ผลวิจัยพบว่า เบื้องต้น DNA / nRNA ให้ผลดีกว่า Protein เนื่องจากจะต้องอาศัยสารผสมกระตุ้นภูมิให้สูงขึ้น และผลการทดลองวัคซีน nRNA ในหนู ยืนยันว่าเซลล์ไวรัสทั้งชิ้นให้ผลดีกว่าการใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของเซลล์ ขณะนี้ผ่านการทดลองในหนูแล้ว และกำลังเริ่มทำลองในลิง คาดว่าปลายเดือนมิถุนายนนี้ จะได้ผลการทดลอง เนื่องจากการฉีดวัคซีนไปแล้วภูมิคุ้มกันจะขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ และจะขึ้นสูงสุดในระยะ 4-6 สัปดาห์ จึงต้องทำการตรวจเลือดลิงครั้งแรกกลางเดือนมิถุนายนนี้” ศ.นพ.เกียรติ กล่าว

ด้าน นายวิฑูรย์ วงษ์หาญกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด กล่าวว่า วัคซีน DNA และ nRNA ก่อนหน้าจะมีโรคโควิด-19 ไม่ค่อยมีการพูดถึงมากนัก แต่เมื่อมีโควิด-19 จึงมีการพูดถึงมากขึ้น เนื่องจากเป็นการผลิตที่เร็วและได้ผลดี โดยวัคซีนทั่วไปจะใช้เวลาผลิต 5-10 ปี แต่ไบโอเนท-เอเชีย มีความรู้เรื่องวัคซีน จึงมีความเห็นว่า หากจะผลิตวัคซีนมาใช้ในสถานการณ์โรคระบาดจะต้องใช้วิธีที่เร็วและปลอดภัยจึงเลือกเป็นวัคซีน DNA หากดูจากระยะเวลา จะพบว่า เดือนมกราคมมีการพบรหัสพันธุกรรม SARS-CoV-2 และไบโอเนท-เอเชีย ได้เริ่มตั้งทีมวิจัยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม เพื่อสร้างวัคซีน DNA และต่อมา เมื่อวันที่ 20 เมษายน สามารถพัฒนา GMP cell bank ใช้ในสัตว์ทดลองได้ และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ได้เริ่มฉีดวัคซีนในหนูทดลอง

“จะพบว่า เราใช้เวลาเพียง 50 วัน ในการพัฒนาจนกระทั่งมาเป็น GMP cell bank ได้ จะเห็นได้ว่าเรามีความพร้อมที่จะพัฒนาวัคซีนที่จะใช้ป้องกันโควิด-19 สำหรับในสัตว์ทดลอง และจะต้องผ่านกระบวนการทดลองในสัตว์ที่ใหญ่ขึ้นคือ ลิง และค่อยต่อมาในคน สิ่งหนึ่งที่ไม่อยากให้ความหวังประเทศไทยมากคือ เรายังไม่ได้ผลิตวัคซีนได้ตอนนี้ แต่เราพบวิธีที่จะผลิตได้ เช่น DNA/ nRNA และมีความพร้อมในการผลิต มีศักยภาพของไบโอเนท-เอเชีย มีความสามารถผลิตเพื่อใช้ในประเทศไทยได้” นายวิฑูรย์ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง