รีเซต

ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาทต้องทำอย่างไร? หลัง "สปสช." ยกเลิก 9 โรงพยาบาล

ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาทต้องทำอย่างไร? หลัง "สปสช." ยกเลิก 9 โรงพยาบาล
TeaC
18 กันยายน 2565 ( 14:28 )
263
ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาทต้องทำอย่างไร? หลัง "สปสช." ยกเลิก 9 โรงพยาบาล

ข่าววันนี้ ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาทต้องทำอย่างไร? หลัง "สปสช." ยกเลิก 9 โรงพยาบาล ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาดูขั้นตอนกันเลย

 

ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาทต้องทำอย่างไร? หลัง "สปสช." ยกเลิก 9 โรงพยาบาล

 

สปสช.ได้เตรียมความพร้อมรองรับการดูแลประชากรสิทธิบัตรทอง ด้วย 4 ข้อง่าย ๆ หลังยกเลิก 9 โรงพยาบาล ดังนี้

  1. จัดหาหน่วยบริการปฐมภูมิรองรับประชากร ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกเวชกรรม คลินิกชุมชนอบอุ่น คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และร้านยา ฯลฯ

  2. จัดหาระบบบริการปฐมภูมิรูปแบบใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เพื่อเพิ่มทางเลือกกับให้กับประชาชน

  3. จัดหาโรงพยาบาลรับส่งต่อ

  4. ประสานและจัดหน่วยบริการแห่งใหม่เพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีนัดรักษาหรือติดตามอาการ 

 

สปสช.ยกเลิก 9 โรงพยาบาลที่ไหนบ้าง?

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ยกเลิกการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการของโรงพยาบาล (รพ.) เอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 9 แห่ง ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ได้แก่ 

  1. รพ.มเหสักข์
  2. รพ.บางนา 1
  3. รพ.ประชาพัฒน์
  4. รพ.นวมินทร์
  5. รพ.เพชรเวช
  6. รพ.ผู้สูงอายุกล้วยน้ำไท 2
  7. รพ.แพทย์ปัญญา
  8. รพ.บางมด
  9. รพ.กล้วยน้ำไท

 

ใช้สิทธิรักษาบัตรทอง 30 บาท ที่ รพ.เอกชนทั้ง 9 แห่ง ได้จนถึงเมื่อไหร่?

  • ใช้สิทธิรักษาที่ โรงเอกชนทั้ง 9 แห่ง ได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 

 

ตรวจสอบสิทธิการรักษา บัตรทอง ได้ที่ไหนบ้าง?

  1. เว็บไซต์ สปสช. คลิก
  2. ไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือ คลิกเลย  จากนั้นเลือก "เมนูตรวจสอบสิทธิ"
  3. แอปพลิเคชัน สปสช. เลือก "เมนูตรวจสอบสิทธิตนเอง"

 

ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาทต้องทำอย่างไร?

  1. ก. ผู้ที่สถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาเบื้องต้น (หน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำ) และสถานพยาบาลที่รับการส่งต่อ (หน่วยบริการรับส่งต่อทั่วไป) เป็น รพ.ใด รพ.หนึ่งดังนี้

 

    • รพ.ประชาพัฒน์
    • รพ.นวมินทร์
    • รพ.เพชรเวช
    • รพ.ผู้สูงอายุกล้วยน้ำไท 2
    • รพ.แพทย์ปัญญา
    • รพ.บางมด
    • รพ.กล้วยน้ำไท

 

กรณีไม่ใช่ผู้ป่วยรักษาต่อเนื่อง  

ระหว่างนี้ ขอให้ท่านลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการแห่งใหม่ในเขตพื้นที่ที่ตนพักอาศัย ได้

  • ทางไลน์ สปสช.
  • พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso
  • แอปพลิเคชัน สปสช.

 

หากไม่มีหน่วยบริการในพื้นที่ให้เลือกลงทะเบียน ไม่ต้องกังวล ขณะนี้ สปสช.อยู่ในระหว่างจัดหาหน่วยบริการเพิ่มเติมเพื่อให้ท่านลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำ/รับส่งต่อใหม่

 

ระหว่างที่ท่านยังไม่มีหน่วยบริการประจำ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 หากท่านเจ็บป่วย เข้ารักษาได้ทุกหน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้านที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ดูรายชื่อหน่วยบริการที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ที่

 

เลือกประเภทการขึ้นทะเบียนที่ระบุว่า บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป หรือหน่วยบริการประจำ ผู้ที่สถานพยาบาลเข้ารับการรักษาเบื้องต้น (หน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำ) เป็นคลินิกเอกชนหรือศูนย์บริการสาธารณสุข ที่ไม่ใช่ รพ. 9 แห่งนี้ และมีสถานพยาบาลที่รับการส่งต่อ (หน่วยบริการรับส่งต่อทั่วไป) ระบุว่า เป็น รพ.ใด รพ.หนึ่งดังนี้ รพ.มเหสักข์, รพ.บางนา 1, รพ.ประชาพัฒน์, รพ.นวมินทร์, รพ.เพชรเวช, รพ.ผู้สูงอายุกล้วยน้ำไท 2, รพ.แพทย์ปัญญา, รพ.บางมด, รพ.กล้วยน้ำไท เมื่อเจ็บป่วยท่านยังคงเข้ารับการรักษาได้ตามรายชื่อสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาเบื้องต้นตามสิทธิได้เช่นเดิม กรณีที่จะต้องถูกส่งต่อไปรักษายังสถานพยาบาลอื่น สปสช.ได้ประสานงานให้ส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่ได้จัดหาเพิ่มให้ 

 

กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินใช้สิทธิรักษาเหมือนเดิมทุกประการ 

  • เจ็บป่วยฉุกเฉินในกลุ่มสีเขียว (ไม่รุนแรง) สีเหลือง (เร่งด่วน) เข้ารักษาได้ทุกหน่วยบริการที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ดูรายชื่อหน่วยบริการที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ที่

 


เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติถึงแก่ชีวิต (สีแดง)

  • เข้ารักษาได้ทุกหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนที่อยู่ใกล้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นกัน ตามนโยบาย UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิ์ทุกที่

 

กรณีผู้ป่วยที่ปัจจุบันยังรักษาต่อเนื่องที่ รพ.ทั้ง 9 แห่ง 


กลุ่มที่มีนัดรักษาต่อเนื่อง รวมถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีนัดติดตามอาการ / ผ่าตัด / รังสีรักษา / เคมีบำบัด / หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอด / ฯลฯ (ยกเว้นผู้ป่วยไตที่ฟอกไตกับ รพ.ทั้ง 9 แห่ง ยังคงไปฟอกไตได้ตามนัดเหมือนเดิม เนื่องจากไม่ได้ยกเลิกสัญญาการให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม) ติดต่อขอรับเวชระเบียน (ข้อมูลและประวัติการรักษา) ที่โรงพยาบาลดังกล่าว

 

ทั้งนี้ สปสช.ได้ทำหนังสือถึง รพ.ทั้ง 9 แห่ง เพื่อขอข้อมูลผู้ป่วยในกลุ่มนี้พร้อมประวัติการรักษาด้วยเช่นกัน โดยขั้นตอนหลังจากนี้ สปสช.จะโทร.ประสานท่านโดยตรง และจัดหาหน่วยบริการแห่งใหม่เพื่อดูแลต่อไป

 

หากยังไม่ได้รับการติดต่อประสานงานจาก สปสช. หรือไม่ได้รับความสะดวกจากการไปติดต่อขอรับเวชระเบียน ขอให้ท่าน โทร.มาที่สายด่วน สปสช. 1330 กด 6 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามแนวทางต่อไป

 

กรณีผู้ป่วยใน (ที่ยังนอนอยู่ รพ.)

  • รักษาต่อไปได้ จนกว่าจะปลอดภัย 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

  1. สายด่วน สปสช. 1330 กด 6
  2. ช่องทางออนไลน์


    • ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
    • Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand
    • ไลน์ ทราฟฟี่ ฟองดูว์ พิมพ์ไลน์ไอดี @traffyfondue หรือคลิก https://lin.ee/nwxfnHw

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง