รีเซต

เปิดวิธีปฐมพยาบาลคนมีอาการ "ชักเกร็ง" ต้องช่วยเหลืออย่างไร

เปิดวิธีปฐมพยาบาลคนมีอาการ "ชักเกร็ง" ต้องช่วยเหลืออย่างไร
TNN ช่อง16
3 กรกฎาคม 2563 ( 10:09 )
3.9K
เปิดวิธีปฐมพยาบาลคนมีอาการ "ชักเกร็ง" ต้องช่วยเหลืออย่างไร

ตามที่มีการเผยแพร่วิดีโอการช่วยเหลือชายไทยมีอาการชักเกร็งภายในสถานที่ราชการของสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรี ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมานั้น และได้มีการเผยแพร่โดยสถานีโทรทัศน์และสื่อสารมวลชนหลายช่องทาง สมาคมโรคลมชักฯ ขอร่วมแสดงความชื่นชมในความปรารถนาดี และการมีจิตอาสาในการให้การปฐมพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤตโดยผู้ที่ประสบเหตุ ซึ่งเป็นตัวอย่างอันดีในฐานะพลเมืองดีแก่ประชาชน

อย่างไรก็ดี การช่วยเหลือที่ได้ปฏิบัตินั้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด ซึ่งอาจส่งผลต่อการปฏิบัติการช่วยเหลือในผู้ป่วยอื่นๆ ในอนาคต


สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคลมชักที่เป็นมาตรฐานสากลเพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดอาการชัก เพื่อให้กิดความปลอดภัยสูงสุดกับผู้ป่วย ดังนี้

1. ผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่รู้สติอาจกิดจากหลายสาเหตุ อาการชักเป็นอาการหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการนี้

2.ผู้ป่วยที่มีอาการชักเกร็งนั้น โดยส่วนใหญ่อาการชักเกร็งที่เกิดจะหยุดได้เองภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 นาที โดยไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ

3. หากพบผู้ป่วยมีอาการชักเกร็ง ผู้ประสบเหตุสามารถให้การช่วยเหลือผู้ปวยเบื้องต้นดังนี้

- ตะแคงหน้า เชยคางขึ้นเล็กน้อยเพื่อช่วยให้ช่องทางการหายใจเปิดโล่ง ในกรณีที่มีน้ำลายที่บริเวณใบหน้าควรเช็ดออก ในกรณีที่มีการกระตุกไม่ต้องกดแขนขา เพราะอาจทำให้เกิดภยันตรายต่อผู้ป่วย

- พิจารณาสถานที่ที่ผู้ป่วยเกิดอาการชักไม่ให้เกิดภยันตรายต่อผู้ป่วย เช่น ถ้าชักขณะนั่งควระมัดระวังการตกจากเก้าอี้ อาจปรับท่าให้นอนราบในพื้นที่โล่งถ้าสามารถทำได้


- งดเว้นการงัดปากด้วยอุปกรณ์ต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อช่องปากและฟัน มีความเสี่ยงต่อฟันที่อาจหลุด และอุปกรณ์ที่ใส่ลงไปอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ มีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยที่กัดลิ้นตนเองขณะเกิดอาการชักและอันตรายจากการกัดลิ้นไม่มากเมื่อเทียบกับการงัดปาก ผู้ป่วยส่วนน้อยมากที่จะมีแผลจากการกัดลิ้นซึ่งแผลที่เกิดจะสมานได้ในระยะเวลาไม่นาน

- ไม่กดหน้าอก เช่น ที่ปฏิบัติในผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น สำหรับผู้ปัวยที่มีอาการชักไม่ได้หยุดหายใจหัวใจยังเต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเต้นเร็วกว่าปกติและมักจะมีความตันโลหิตสูงในระยะตันของการชัก ดังนั้น การกดหน้าอกจึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้กิดภยันตรายต่ผู้ป่วย อาจทำให้กระดูกซี่โครงหักทิ่มตำอวัยวะภายใน เช่น ปอด และอาจเสียชีวิตได้

หากผู้ป่วยมีอาการชักนานเกินกว่า 5 นาที หรือมีอาการชักซ้ำ ให้ติดต่อหมายเลยฉุกเฉินเช่น 1669 หรือสถานพยาบาล เพื่อขอรับการช่วยเหลือ

ขอบคุณคลิปจาก RAMA CHANNEL

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวที่เกี่ยวข้อง