รีเซต

ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนบุตรบุญธรรม คุณสมบัติ ขั้นตอนจดทะเบียน สิทธิตามกฎหมาย

ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนบุตรบุญธรรม คุณสมบัติ ขั้นตอนจดทะเบียน สิทธิตามกฎหมาย
NewsReporter
30 มีนาคม 2565 ( 10:56 )
1.2K
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนบุตรบุญธรรม คุณสมบัติ ขั้นตอนจดทะเบียน สิทธิตามกฎหมาย

ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนบุตรบุญธรรม เพื่อเข้าใจหลักกฎหมายเกี่ยวกับบุตรบุญธรรมและผู้สืบสันดาน เช่น วิธีการจดทะเบียนบุตรบุญธรรม สิทธิในการรับมรดกของบุตรบุญธรรม และพ่อแม่บุตรบุญธรรม การแบ่งมรดกระหว่างบุตรแท้ๆ และบุตรบุญธรรมเท่ากันหรือไม่ TrueID หาข้อมูลมาให้ทราบแล้ว

 

คุณสมบัติของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี

2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง

3. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจาก บิดา และมารดา หรือผู้ปกครอง

4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจาก คู่สมรสก่อน

5. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีก ในขณะเดียวกันไม่ได้เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม

 

กรณีผู้ขอรับเป็นชาวต่างชาติ

- หากผู้ขอรับเป็นชาวต่างชาติ จะต้องมีคู่สมรส ยกเว้นผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้มีสัญชาติไทย

- ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ตามกฎหมายของประเทศ ที่ผู้ขอรับมีภูมิลำเนาอยู่

- การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายไทยแล้วเท่านั้น

 

ขั้นตอนการปฏิบัติการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

1. กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อนโดย

 - กรณีที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือต่างประเทศให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมประชาสงเคราะห์


 - กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด

 

  * เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ให้นำหนังสือแจ้งคำอนุมัติของคณะกรรมการดังกล่าวไปร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต แห่งใดก็ได้

 

2. กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมสามารถดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต แห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม 

 

สิทธิตามกฎหมายของเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม


บิดา หรือมารดาบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมมิใช่สายเลือดเดียวกัน แต่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจกันระหว่างบิดาหรือมารดาบุญธรรม กับ บิดามารดาที่แท้จริงของเด็ก และเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรมด้วยเหตุผลบางประการ เช่นเพื่ออนาคตของเด็ก หรือเพื่อให้ผู้รับบุตรบุญธรรมที่ไม่มีบุตรได้มีบุตรสมใจปรารถนา   

 

การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กฎหมายจะให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กให้มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา หรือมารดาบุญธรรมทันทีนับแต่วันที่จดทะเบียน เช่น มีสิทธิได้รับมรดก มีสิทธิใช้นามสกุลของบิดา หรือมารดาบุญธรรม โดยที่บิดา หรือมารดาบุญธรรมไม่มีสิทธิที่จะมารับมรดกของบุตรบุญธรรม

 

นอกจากนี้แล้ว บุตรบุญธรรมยังไม่เสียสิทธิที่พึงมีตามกฎหมายในครอบครัวเดิมแต่อย่างใด คือ ยังมีสิทธิรับมรดกของบิดามารดาที่แท้จริงได้ และบิดามารดาที่แท้จริงมีสิทธิไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนได้ตามสมควร

 

ทั้งนี้กฎหมายยังคุ้มครองเด็กโดยบิดา หรือมารดาบุญธรรมจะเลิกรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาที่แท้จริงเสียก่อน และจะฟ้องให้มีการเลิกรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยไม่มีเหตุอันควรไม่ได้  

 

รายการเอกสารหลักฐานประกอบ

  1. บัตรประจำตัวฉบับจริง 1 ฉบับ
    *หมายเหตุ(อาทิเช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว บัตรประจำตัวคนพิการ ฯลฯ)

  2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับจริง 1 ฉบับ

ข้อมูล : ศูนย์ตอบปัญหางานทะเบียนและบัตร (1548)

Photo by Ron Lach

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง